ปัญหา...ปวดหัว
ปัญหาทางระบบประสาทอย่างหนึ่ง ที่สร้างความทรมานอย่างยิ่งให้กับผู้ที่ต้องเผชิญคือ อาการปวดหัว โดยมากมักเป็นๆ หายๆ บ้างก็ทราบสาเหตุ บ้างก็ไม่รู้ว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร แต่เมื่อเป็นแล้วนอกจากจะสร้างความเจ็บปวดให้กับร่างกายแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อการทำงานและการดำเนินชีวิตในด้านอื่นๆ อีกด้วย
ปวดศีรษะ (Headaches)
ปัญหาทางระบบประสาทอย่างหนึ่ง ที่สร้างความทรมานอย่างยิ่งให้กับผู้ที่ต้องเผชิญคือ อาการปวดหัว โดยมากมักเป็นๆ หายๆ บ้างก็ทราบสาเหตุ บ้างก็ไม่รู้ว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร แต่เมื่อเป็นแล้วนอกจากจะสร้างความเจ็บปวดให้กับร่างกายแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อการทำงานและการดำเนินชีวิตในด้านอื่นๆ อีกด้วย
ปวดศีรษะ (Headaches)
ปัญหาของอาการปวดศีรษะมักเกิดจากสาเหตุต่างๆ ทั้งจากโรคของสมอง เช่น เนื้องอกในสมอง โรคหลอดเลือดสมอง การอักเสบของเส้นประสาท และปัญหาที่มาจากปัจจัยภายนอก เช่น ความดันโลหิตสูง รับประทานยาบางชนิด เป็นไข้ กระดูกคอเสื่อม ความเครียด ไมเกรน สาเหตุต่างๆ เหล่านี้ อาจแยกจากกันไม่ได้ชัดเจน ต้องอาศัยการตรวจพิเศษและดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจรักษา เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้
อาการสำคัญที่ควรพบแพทย์ด่วน
1. อาการปวดศีรษะเฉียบพลัน หรือปวดศีรษะอย่างรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
2. มีอาการอาเจียน เป็นไข้ คอแข็ง แขนขาชาและอ่อนแรง ตามองไม่เห็น เป็นอาการร่วมกับการปวดศีรษะ หรือเป็นอาการนำ
3. เสียการทรงตัว หมดสติ สับสนจำอะไรไม่ได้
4. ผู้ป่วยที่กินยาแก้ปวดเป็นเวลานานกว่า 3 เดือน แต่อาการไม่ทุเลาหรือมีอาการมากขึ้น
ปวดศีรษะไมเกรน
ไมเกรนและความเครียด เป็นสาเหตุของการปวดศีรษะ 85-90% ของประชากรทั่วไป ปวดศีรษะไมเกรนมีอาการดังต่อไปนี้
- ปวดเป็นพักๆ จะเป็นๆ หายๆ ข้างใดข้างหนึ่ง ปวดตุบๆ เหมือนชีพจรกำลังเต้น บางรายปวดมากจนทำงานไม่ได้
- อาการปวดมักปวดบริเวณหน้าผาก รอบดวงตา ขมับและขากรรไกร
- อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
- เห็นแสงสว่าง แสงสี ตาพร่ามัว ก่อนหรือระหว่างการปวดศีรษะ
- ระยะเวลาในการปวดนานประมาณ 2-3 ชั่วโมง ซึ่งมักพบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
อาการปวดศีรษะมักจะเริ่มช่วงวัยรุ่นเมื่ออายุมากขึ้น บางครั้งผู้ป่วยที่เป็นไมเกรนอาจจะมีอาการนำ aura เช่นเห็นแสงแลบ ตามองไม่เห็น ชาซีกใดซีกหนึ่งเรียกว่า “Classic Migrain” แต่ส่วนใหญ่ไม่มีอาการนำเรียกว่า "Common Migrain" ถึงแม้ว่าไมเกรนเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่หากเข้าใจโรคและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ก็สามารถทำให้ควบคุมโรคได้
สาเหตุของการปวดศีรษะไมเกรน
ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าเกิดจากการหลั่งสารเคมีรอบๆ เส้นเลือดสมอง ทำให้มีการปวดเกิดขึ้น
ปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน
1. การนอนหลับมาก หรือน้อยเกินไป หรือนอนไม่เป็นเวลา
2. รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา หรืออดอาหารนานๆ น้ำตาลในเลือดต่ำ
3.เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และอาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรสและสารกันบูด เนยแข็ง ช็อกโกแลต
4. สิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง อากาศร้อน รวมทั้งกลิ่นต่างๆ เช่น กลิ่นน้ำหอม กลิ่นเหม็น ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสีย
5. การนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ
6. ฮอร์โมนเพศสูง ช่วงมีประจำเดือน และการตั้งครรภ์ในช่วงเดือนแรกๆ
การวินิจฉัย
แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคโดยการซักประวัติและตรวจร่างกายทางระบบประสาท โดยถามถึงลักษณะอาการปวด ตำแหน่งที่ปวด ความรุนแรงของอาการปวด อาการเตือนก่อนปวด และอาการร่วม รวมถึงระยะเวลาที่ปวดแต่ละครั้ง ความถี่ของการปวด เป็นต้น สำหรับการปวดศีรษะจากโรคอื่นๆ อาจมีลักษณะคล้ายกัน บางครั้งจึงมีควาจำเป็นต้องตรวจพิเศษ เพื่อจำแนกโรคให้ชัดเจน
การรักษาไมเกรน
1. ควรดูแลและรักษาสุขภาพอย่างใกล้ชิด นอนให้เพียงพอ นอนให้เป็นเวลา
2. หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ท่านสามารถสังเกตได้ เช่น อาหาร สิ่งแวดล้อม
3. การรักษาเพื่อขจัดความปวดโดยการใช้ยา ซึ่งมีทั้งยาแก้ปวดไมเกรน และยาป้องกันไมเกรน ซึ่งการจะใช้ยาชนิดใด ควรได้รับการแนะนำหรือปรึกษาจากแพทย์ก่อน
ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าเกิดจากการหลั่งสารเคมีรอบๆ เส้นเลือดสมอง ทำให้มีการปวดเกิดขึ้น
ปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน
1. การนอนหลับมาก หรือน้อยเกินไป หรือนอนไม่เป็นเวลา
2. รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา หรืออดอาหารนานๆ น้ำตาลในเลือดต่ำ
3.เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และอาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรสและสารกันบูด เนยแข็ง ช็อกโกแลต
4. สิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง อากาศร้อน รวมทั้งกลิ่นต่างๆ เช่น กลิ่นน้ำหอม กลิ่นเหม็น ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสีย
5. การนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ
6. ฮอร์โมนเพศสูง ช่วงมีประจำเดือน และการตั้งครรภ์ในช่วงเดือนแรกๆ
การวินิจฉัย
แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคโดยการซักประวัติและตรวจร่างกายทางระบบประสาท โดยถามถึงลักษณะอาการปวด ตำแหน่งที่ปวด ความรุนแรงของอาการปวด อาการเตือนก่อนปวด และอาการร่วม รวมถึงระยะเวลาที่ปวดแต่ละครั้ง ความถี่ของการปวด เป็นต้น สำหรับการปวดศีรษะจากโรคอื่นๆ อาจมีลักษณะคล้ายกัน บางครั้งจึงมีควาจำเป็นต้องตรวจพิเศษ เพื่อจำแนกโรคให้ชัดเจน
การรักษาไมเกรน
1. ควรดูแลและรักษาสุขภาพอย่างใกล้ชิด นอนให้เพียงพอ นอนให้เป็นเวลา
2. หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ท่านสามารถสังเกตได้ เช่น อาหาร สิ่งแวดล้อม
3. การรักษาเพื่อขจัดความปวดโดยการใช้ยา ซึ่งมีทั้งยาแก้ปวดไมเกรน และยาป้องกันไมเกรน ซึ่งการจะใช้ยาชนิดใด ควรได้รับการแนะนำหรือปรึกษาจากแพทย์ก่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น