การวิจัยเชิงคุณภาพ
นายเชี่ยวชาญ ภาระวงค์
การวิจัยเชิงคุณภาพ
คืออะไร
John W. Cresweel (1998:15) การวิจัยเชิงคุณภาพ
เป็นกระบวนการค้นคว้าวิจัยเพื่อหาความเข้าใจบนพื้นฐานของระเบียบวิธีอันมีลักษณะเฉพาะที่มุ่งค้นหาประเด็นปัญหาทางสังคม
หรือปัญหาของมนุษย์ ในกระบวนการนี้นักวิจัยสร้างภาพหรือข้อมูลที่ซับซ้อน
เป็นองค์รวม วิเคราะห์ข้อความ รายงานทัศนะของผู้ให้ข้อมูลอย่างละเอียด
และดำเนินการศึกษาในสถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติ
Rice and Ezzy (1991: 1) การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยที่ ให้ความสำคัญแก่การตีความหมาย
มุ่งทำความเข้าใจกระบวนการสร้างและธำรงไว้ซึ่งความหมาย ที่สลับซับซ้อนและละเอียดอ่อน
จุดมุ่งหมายของการวิจัยแบบนี้อยู่ที่การกรองเอาข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์หรือการกระทำ
โดยคงไว้ซึ่งบริบทของเหตุการณ์หรือการกระทำเหล่านั้นและทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
ที่ให้รายละเอียดเป็นบูรณาการ
Denzin and Lincon (2000
: 33) การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นกิจกรรมที่นักวิจัยเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในโลกที่เขาศึกษา
การวิจัยแบบนี้ประกอบด้วยปฏิบัติการเก็บข้อมูลเพื่อการตีความการแปรสภาพโลกหรือสิ่งที่นักวิจัยสังเกตให้อยู่ในรูปของการนำเสนอแบบต่างๆเช่น
บันทึกจากภาคสนาม ข้อความจากการสัมภาษณ์ การสนทนา รูปภาพ และการบันทึกต่างๆ
อย่างไรก็ตามเราไม่อาจกล่าวได้ว่าการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นทฤษฏีหรือเป็นเทคนิคที่ใช้ได้ตลอดกาลตรงกันข้ามการวิจัยเชิงคุณภาพนำเอาแนวคิดทางทฤษฎีหลากหลายมาใช้ในการศึกษา
เช่น ทฤษฎีปรากฏการณ์วิทยา (phenomenology) ทฤษฎีปฏิสังขรณ์เชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Interactionism) ทฤษฎีว่าด้วยการศึกษาทางวัฒนธรรม (Culteral Studies) จิตวิทยา (Psychology) และทฤษฎีสตรีนิยม (Feminism) นอกจากนี้
ยังเอาวิธีการเก็บข้อมูลหลายอย่างมาใช้ เช่น การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์เชิงพรรณนา
วิธีการเชิงชาติพันธุ์วรรณนา และวิธีสนทนาเป็นกลุ่ม
ข้อคิดเห็นจากนักการศึกษาที่กล่าวมาสรุปได้
คือ
การวิจัยเชิงคุณภาพ
เป็นการวิจัยที่ทำให้สถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติ
ใช้วิธีศึกษาและเครื่องมือในการเก็บข้อมูลที่หลากหลาย
แต่เครื่องมือสำคัญในการเก็บข้อมูล คือ ตัวนักวิจัยเอง การวิจัยแบบนี้มีการออกแบบที่ยืดหยุ่น
นักวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลโดยหลักตรรกะแบบอุปนัย คือ
ไม่ด่วนตั้งสมมติฐานก่อนที่จะได้ลงมือเก็บข้อมูลในภาคสนามแล้ว
สมมติฐานที่ตั้งไว้เช่นนั้น
สามารถปรับปรุงได้เมื่อข้อมูลชี้ว่ามีความจำเป็นต้องปรับเพื่อความเหมาะสมโดยนัยนี้
การวิเคราะห์กับการเก็บข้อมูล เป็นกระบวนการที่สามารถดำเนินไปพร้อมกันได้ในสนาม
การวิเคราะห์เริ่มจากพินิจพิเคราะห์ ข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างละเอียด
จนมองเห็นมโนทัศน์หรือแนวคิดที่มีความหมายจากข้อมูล
และเห็นความเชื่อมโยงของมโนทัศน์เหล่านั้น จนนักวิจัยสามารถสรุปเป็นคำอธิบาย
แนวคิด หรือ ทฤษฎีเบื้องต้นได้การวิจัยเชิงคุณภาพมุ่งการตีความ
เพื่อทำความเข้าใจความหมายของพฤติกรรม
หรืออธิบายปรากฏการณ์ในทัศนะของผู้ที่ถูกศึกษา
โดยมีจุดยืนอยู่บนบริบทของปรากฏการณ์หรือของคนผู้ที่ถูกศึกษาเหล่านั้น
ลักษณะเชิงกลยุทธ์ของการวิจัยเชิงคุณภาพ
Patton
(1990) และ Lecomte and Schensul (1999a) กล่าวถึงลักษณะเชิงกลยุทธ์ของการวิจัยเชิงคุณภาพ
ดังนี้
1.
เป็นการวิจัยที่ทำให้สถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติ (Natural Setting) มีความหมาย 3 ประการคือ
1.1 หมายถึงการศึกษาพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ในขณะที่สิ่งเหล่านั้นกำลังดำเนินไปอยู่ ตามสภาพธรรมชาติของมัน
นักวิจัยเฝ้าสังเกตและบันทึกสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นและดำเนินไปเหล่านั้น “สด”
ไม่ใช่ศึกษาจากคำบอกเล่าของผู้ให้ข้อมูล
1.2
หมายถึงการที่สถานการณ์ที่ศึกษานั้นไม่ถูกดัดแปลงแต่งเติม ให้ผิดไปจากธรรมชาติของมันตัวอย่างของการดัดแปลงแต่งเติมที่ชัดที่สุดจะเห็นได้เช่น
การศึกษาแบบทดลองของนักวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการทดลองในห้องปฏิบัติการ หรือ
นอกห้องปฏิบัติการก็ตาม ในทางศึกษาทางสังคมศาสตร์
การดัดแปลงแต่งเติมอาจหมายถึงการเข้าไป “ชี้นำ” หรือ “จัดฉาก”พฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ด้วยประการต่างๆเพื่อประโยชน์ในการศึกษาของนักวิจัย
1.3 หมายถึงวิธีการได้มา
ซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นธรรมชาติ คำว่า “เป็นธรรมชาติ”
ในที่นี้หมายถึงการไม่กำหนดไว้ล่วงหน้าก่อนจะลงมือเก็บข้อมูลว่า “ข้อมูล” หรือ
“คำตอบ” ที่ต้องการจากผู้ให้ข้อมูลจะเป็นอย่างไร
แต่เปิดกว้างไว้ให้สิ่งเหล่านั้นปรากฏขึ้นมาเองตามธรรมชาติและลักษณะเฉพาะของผู้ให้ข้อมูลแต่ละคน
ข้อนี้ต่างจากวิธีเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในการวิจัยเชิงปริมาณ
ซึ่งส่วนใหญ่นักวิจัยจะกำหนดลักษณะของคำตอบ (ข้อมูล) ที่สำเร็จรูปไว้ล่วงหน้า
และที่ควรตระหนักในที่นี้คือ
วิธีการได้ข้อมูลอย่างเป็นธรรมชาติที่กล่าวมาข้างต้นนี้
ไม่ได้หมายความว่านักวิจัยเชิงคุณภาพควรจะลงสู่สนามเพื่อเก็บข้อมูลด้วยหัวสมองและสองมือที่ว่างเปล่า
โดยไม่เตรียมประเด็นและหัวข้อเพื่อการเก็บข้อมูลไว้ล่วงหน้าเลย นักวิจัยเชิงคุณภาพที่ดีจะต้องไม่ทำเช่นนั้น
แต่จะต้องลงสนามพร้อมกับ รายการประเด็น หัวข้อ
และคำถามมากมายที่ผ่านการคิดและกลั่นกรองมาล่วงหน้าอย่างดีแล้ว
เพียงแต่ว่าจะต้องเตรียมทุกอย่างให้มีลักษณะ “ปลายเปิด”
ไว้ไม่มีความจำเป็นต้องกำหนดแนวคำตอบไว้ล่วงหน้าเหมือนอย่างในแบบสอบถามของการวิจัยเชิงปริมาณ
2. ใช้ตรรกะแบบอุปนัยเป็นหลัก (Inductive approach) การทำวิจัยเชิงคุณภาพนั้น ใช้แนวทางแบบอุปนัย
คือเริ่มจากสิ่งที่จำเพาะเจาะจงหรือข้อมูลจากประชากรจำนวนหนึ่ง
ไปสู่สิ่งที่ทั่วไปหรือข้อสรุป ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของคำอธิบายหรือกรอบแนวคิดทฤษฎี
ที่สามารถนำไปใช้ได้ทั่วไป
3. เน้นการทำความเข้าใจแบบองค์รวม
(Holistic Perspective)
การค้นหาว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้างภายในระบบนั้นและส่วนต่างๆเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
4.
ใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นหลัก (Qualitative) คือข้อมูลทุกรูปแบบที่เป็นข้อความ (Text) อยู่ในรูปของคำพูด หรือที่ไม่ได้อยู่ในรูปของตัวเลข
นอกจากนี้ข้อมูลเชิงคุณภาพยังหมายรวมถึง ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในรูปอื่นด้วย เช่น
แถบบันทึกเสียง (บทสัมภาษณ์ เพลง ดนตรี) แถบบันทึกภาพ(ภาพยนตร์ วีดีทัศน์)
และเครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆของมนุษย์ที่สื่อข้อมูลอย่างใดอย่างหนึ่ง
ซึ่งนักวิจัยสามารถใช้ประโยชน์ในการศึกษาได้
5.
นักวิจัยติดต่อโดยตรงกับกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย (Direct
Contact with Participants)
6.
ให้ความสำคัญแก่พลวัตรของสิ่งที่ศึกษา (Dynamic Perspective)
7. ให้ความสำคัญแก่การศึกษาเฉพาะกรณี
(Unique Case Orientation)
8. ให้ความสำคัญแก่บริบทของสิ่งที่ศึกษา
(Context Sensitivity)
9. มีความยืดหยุ่น
ในการออกแบบการวิจัย (Design Flexibility)
10.
ใช้เครื่องมือหลายอย่างในการเก็บข้อมูล
แต่นักวิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญที่สุด (Research as an Important Research
Instrument)
ลักษณะเชิงกลยุทธ์ของการวิจัยเชิงคุณภาพ
ลักษณะ
|
กลยุทธ์ในการดำเนินการวิจัย
|
1. เป็นการศึกษาที่ทำในสถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติ
|
ศึกษาปรากฏการณ์ในขณะที่เกิดขึ้นจริงตามธรรมชาติ
ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือควบคุมจากนักวิจัย เปิดกว้างสำหรับทุกอย่างที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างเก็บข้อมูล ไม่มีการกำหนดผลที่คาดไว้ล่วงหน้า
ไม่ว่าจะเป็นรูปของสมมติฐานหรือตัวแปรก็ตาม
|
2. เป็นการศึกษาที่อิงตรรกะแบบอุปนัย
|
นักวิจัย “ดำดิ่ง” ลงสู่ข้อมูล
ทั้งในทางลึกและทางกว้างทั้งในรายละเอียดและเฉพาะเจาะจง เพื่อค้นหาประเภท รูปแบบ
มิติ และความสัมพันธ์ต่อกันของส่วนต่างๆที่ประกอบกันในปรากฏการณ์ที่ศึกษา
เริ่มต้นด้วยคำถามเพื่อการค้นหาแบบเปิดกว้าง
มากกว่ามุ่งจะทดสอบสมมติฐานหรือทฤษฎี
|
3.
มุ่งทำความเข้าใจแบบองค์รวม
|
มองปรากฏการณ์ที่ศึกษาทั้งหมดอย่างเป็นองค์รวม
เป็นระบบที่ซับซ้อนและเป็นอะไรที่มากกว่าผลบวกของส่วนย่อยแต่ละส่วน
มองว่าส่วนย่อยต่างๆอิงอาศัยซึ่งกันและกันไม่ลดระดับการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ที่ศึกษาลงมาเพียงแค่ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของตัวแปลที่แยกกันเป็นส่วนๆเท่านั้น
|
4. ใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นหลัก
|
เก็บข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์และแนวคิดส่วนบุคคล ที่เป็นรายละเอียดเชิงพรรณนา เจาะลึก และตรงประเด็น
|
5.
ติดต่อแบบมีส่วนร่วมโดยตรงกับประชากรกลุ่มเป้าหมาย
|
นักวิจัยเข้าไปสัมผัสอย่างมีส่วนร่วมโดยตรงกับประชากรหรือปรากฏการณ์ที่ศึกษา
นักวิจัยเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลที่สำคัญ ประสบการณ์ ทักษะ
และวิจารณญาณส่วนตัวของนักวิจัยเป็นปัจจัยสำคัญในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ที่ศึกษา
|
6. มุ่งทำความเข้าใจ พลวัตรของปรากฏการณ์ที่ศึกษา
|
ทำความเข้าใจกระบวนการของสิ่งที่ศึกษา
มองว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นในระดับบุคคล
กลุ่ม องค์กร หรือในระดับวัฒนธรรมก็ตาม
|
7. ให้ความสำคัญแก่กรณีที่มีลักษณะเฉพาะ
|
ถือว่าแต่ละกรณี(คน เหตุการณ์
ฯลฯ)มีความสำคัญทำการศึกษาเฉพาะกรณีอย่างดีในเบื้องต้น
แล้ววิเคราะห์เปรียบเทียบกรณีเหล่านั้น เพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทั้งหมด
คุณภาพของการศึกษาเฉพาะกรณีมีความสำคัญอย่างมาก
|
8.
ให้ความสำคัญแก่บริบทของสิ่งที่ศึกษา
|
ตีความข้อค้นพบบนพื้นฐานของบริบททางสังคม
ประวัติศาสตร์ และเงื่อนไขของเวลา และสถานที่
มองว่าการนำข้อค้นพบไปปรับใช้ในบริบทอื่นที่แตกต่างกันเป็นสิ่งที่ต้องระวัง
เพราะอาจมีความเป็นไปได้น้อย
|
9. มีการออกแบบการวิจัยที่ยืดหยุ่น
|
ออกแบบการวิจัยที่เปิดกว้างไว้สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อให้สามารถลงลึกให้มากที่สุด
หลีกเลี่ยงการออกแบบที่มีโครงสร้างอย่างเข้มงวด ซึ่งจะไม่ให้โอกาสติดตามเจาะลึก
และค้นหาสิ่งใหม่ๆที่อาจจะเกิดขึ้นในขณะเก็บข้อมูล
|
10. ใช้เครื่องมือใน การวิจัยหลากหลายแต่นักวิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดในกระบวนการวิจัย
|
ธรรมชาติของเครื่องมือสำหรับรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ
ไม่มีโครงสร้างที่เคร่งครัด สามารถปรับได้ตามความเหมาะสมกับแหล่งข้อมูลและสถานการณ์
จึงขึ้นอยู่กับนักวิจัยผู้ใช้วิธีการอย่างมาก
นักวิจัยต้องแม่นในหลักการของเครื่องมือที่ใช้และมีทักษะในการใช้วิธีการนั้นๆอย่างเพียงพอ
|
สรุปประเด็นเมื่อไรควรใช้
เมื่อไรไม่ควรใช้วิธีการเชิงคุณภาพ
ควรใช้
|
ไม่ควรใช้
|
เมื่อต้องการค้นหาประเด็นใหม่ๆของ เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
|
เมื่อสิ่งที่ต้องการทราบ
คือแนวโน้มของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น พฤติกรรม เหตุการณ์ ปรากฏการณ์
|
เมื่อต้องการเข้าใจความหมาย หรือ
กระบวนการของการกระทำหรือปรากฏการณ์
|
เมื่อต้องการพิสูจน์สมมติฐานหรือทฤษฏี
|
เมื่อต้องการหาความรู้เบื้องต้น
เพื่อสร้างสมมติฐานหรือสร้างแบบสอบถามสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณที่จะตามมาในภายหลัง
|
เมื่อสถานการณ์ไม่เอื้ออำนวยที่จะให้นักวิจัยติดต่อหรือมีส่วนร่วมกับประชากรเป้าหมายอย่างใกล้ชิด
|
เมื่อต้องการตรวจสอบหรือหาคำอธิบายสำหรับข้อค้นพบจากการวิจัยเชิงปริมาณ
|
เมื่อเห็นว่าการวิจัยเชิงปริมาณน่าจะให้คำตอบที่ต้องการได้ดีกว่า
|
เมื่อสถานการณ์หรือประชากรเป้าหมายในการศึกษา
ไม่เหมาะที่จะให้ทำการวิจัยด้วยวิธีการเชิงปริมาณ
|
เพียงเพราะคิดไม่ออกว่าจะใช้วิธีการใดได้ดีหรือเพราะคิดว่าวิธีการเชิงคุณภาพน่าจะง่ายกว่าหรือยังไม่แน่ใจว่าตัวเองมีความเข้าใจในวิธีการนี้ดีพอวิธีการเชิงคุณภาพอาจไม่ง่ายอย่างที่คิด
|
ข้อได้เปรียบและข้อจำกัดของการวิจัยเชิงคุณภาพ
ข้อได้เปรียบ
|
ข้อจำกัด
|
เป็นการศึกษากลุ่มตัวอย่างขนาดเล็ก
นักวิจัย สามารถลงลึกได้มากตามที่ต้องการ
|
ไม่เหมาะสำหรับการศึกษากลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่
|
มีความยืดหยุ่นในการออกแบบ
การใช้เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล และการดำเนินการวิจัย
|
เพราะมีความยืดหยุ่นในการดำเนินการวิจัย
หากนักวิจัยไม่มีประสบการณ์เพียงพอ อาจมีปัญหาในเรื่องความน่าเชื่อถือ(Reliability)ของการใช้เครื่องมือ
และความถูกต้องตรงประเด็นของผลการศึกษา(Validity)
|
สามารถใช้ข้อมูลได้หลากหลายชนิดในการวิจัยเรื่องเดียวกัน
ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ
|
การเลือกตัวอย่างในการศึกษาแบบเจาะจง
ทำให้มีข้อจำกัดในการนำผลการศึกษาไปใช้ในวงกว้าง (Generalization)
|
ใช้วิธีเก็บข้อมูลได้หลายวิธีในงานวิจัยเรื่องเดียวกัน
|
เป็นการวิจัยที่มีกระบวนการดำเนินการที่ค่อนข้างจะเป็นอัตวิสัย
|
เป็นการวิจัยที่ให้ความสำคัญแก่ความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกศึกษา
ในการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ
ความสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างมีความสำคัญ
กลุ่มตัวอย่างไม่ใช่เพียงผู้ถูกกระทำ (Research
subjects) แต่เป็นผู้มีส่วนร่วม (Participants) ในกิจกรรมวิจัย
|
ไม่เหมาะสำหรับใช้ทดสอบสมมติฐานหรือทดสอบแนวคิดทฤษฏี
|
โดยสรุป
การวิจัยเชิงคุณภาพ
เป็นการศึกษาแห่งโลกความเป็นจริงภายใต้สถานการณ์ที่เป็นไปตามธรรมชาติ เปิดกว้างด้วยแนวการวิเคราะห์แบบอุปนัย
ให้ความสำคัญแก่การทำความเข้าใจอย่างเป็นองค์รวม ภายในบริบทของสิ่งที่ศึกษา
โดยนักวิจัยมีการติดต่อแบบมีส่วนร่วมโดยตรงกับประชากรกลุ่มเป้าหมาย
เพื่อมุ่งทำความเข้าใจพลวัตรของปรากฏการณ์ ให้ความสำคัญของแก่การศึกษาเฉพาะกรณี ทั้งหมดนี้เป็นไปได้
เพราะมีการออกแบบการวิจัยที่ยืดหยุ่นได้
และมีตัวนักวิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญในกระบวนการวิจัย
บนพื้นฐานของลักษณะเชิงกลยุทธ์เหล่านี้สามารถจะกำหนดได้ว่า
เมื่อไหร่ควรใช้และเมื่อไหร่ไม่ควรใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ
การวิจัยเชิงคุณภาพเหมาะที่จะใช้กับการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวประเภทใดและภายใต้สถานการณ์เช่นไร
และสุดท้ายเราได้กล่าวถึงข้อได้เปรียบและข้อจำกัดของการวิจัยเชิงคุณภาพว่ามีอย่างไรบ้าง
ทั้งนี้เพื่อจะได้เป็นข้อควรตระหนักในการทำวิจัย
แล้วเราจะทำการวิจัยเชิงคุณภาพเรื่องอะไรดี
ขั้นตอนของการดำเนินงานวิจัยเชิงคุณภาพ
กระบวนการดำเนินงานวิจัยเชิงคุณภาพนั้นเป็นไปในเชิงบูรณาการ
แม้ว่าจะมีการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานไว้ตามลำดับ ก่อน-หลัง ก็ตาม แต่เมื่อลงมือปฏิบัติจริงแล้ว การทำงานในขั้นตอนต่างๆ อาจจะเหลื่อมกัน
หรือดำเนินไปพร้อมๆกัน หรือย้อนกลับไปมาก็ได้ ดังเช่น การกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย
และการกำหนดกลุ่มเป้ าหมายในการศึกษา ซึ่งได้กระทำไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะเข้าสัมผัสปรากฏการณ์จริง
แต่เมื่อใดที่นักวิจัยลงสนามได้สัมผัสกับความเป็นจริงแล้วก็อาจจะปรับเปลี่ยนกรอบแนวคิด
หรือเพิ่มเติมส่วนที่ขาดหายไปเพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริงในแหล่งที่ทำการศึกษาได้
และนอกจากนี้การรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น อาจจะทำไปพร้อมกันหรือย้อนกลับไปมาเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการตีความหมายของปรากฏการณ์ต่างๆ
ได้เช่นเดียวกัน
ประโยชน์ของวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในวงการศึกษา
นับตั้งแต่ได้มีการเผยแพร่วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเข้ามาในวงการศึกษาไทยอย่างจริงจัง
นักวิจัยทางการศึกษาในหลายๆ สาขาวิชาต่างก็ให้ความสนใจ และได้มีการนำวิธีการเชิงคุณภาพมาใช้ในการตอบคำถามการวิจัยระดับจุลภาคมากขึ้นตามลำดับ
ผลประโยชน์ที/นักการศึกษาได้รับจากวิธีการเชิงคุณภาพหลายประการ
ดังต่อไปนี้ :-
• การใช้วิธีการเชิงคุณภาพในงานวิจัยเชิงประวัติศาสตร์
(historical research) ทำให้ทราบความเป็นมา ปรากฏการณ์สำคัญๆ เกี่ยวกับการจัดการศึกษาในอดีต
ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และบางครั้งความรู้ที่ได้จากการย้อนรอยอดีตก็สามารถช่วยให้นักการศึกษา
หลีกเลี่ยงการกระทำใดใด ที่จะก่อให้เกิดความผิดพลาดดังที่เคยเป็นมาแล้ว
• การใช้วิธีการเชิงคุณภาพในงานวิจัยเชิงปฏิบัติ (action
research) ทำให้การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในช่วงที่ดำเนินงานวิจัย เป็นไปอย่างสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
และเหมาะสมกับสภาวะของบุคคลที่เป็นเป้าหมายในการพัฒนา
• การใช้วิธีการเชิงคุณภาพในการประเมินโครงการ
และการประเมินหลักสูตร โดยเฉพาะในช่วงการประเมินกระบวนการ (process
evaluation) ทำให้ได้ทราบถึงความคลี่คลายของปัญหาในการปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอน
รวมทั้งเงื่อนไขของการดำเนินงานในระดับพื้นที่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องของการประเมินหลักสูตรนั้น
ผลที่ได้จากการประเมินเชิงคุณภาพสามารถนำไปเป็นความรู้พื้นฐาน ในการพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมกับความ
ต้องการในระดับท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
• การใช้วิธีการเชิงคุณภาพผสมผสานกับวิธีการเชิงปริมาณ
ในการวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องมือในการวัดและประเมินผล ทำให้ได้แบบทดสอบเชิงวินิจฉัย
(diagnostic test) ที/มีประสิทธิผล สำหรับนักวัดผลการศึกษาซึ่งมีความรู้ความสามารถในเชิงปริมาณเป็นอย่างดีนั้น
การนำวิธีการเชิงคุณภาพเข้าไปใช้ในช่วงที่เรียกว่า กล่องดำ (black box) หรือช่วงที่นักเรียนพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาในการตอบข้อสอบในแต่ละช่วงนั้น
ทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้ และการแก้ปัญหาของนักเรียนในการตอบคำถามแต่ละข้อ
นอกเหนือจากเกณฑ์ค่าสถิติ ซึ่งสิ่งนี้ก็ช่วยให้การตัดสินใจคัดเลือกข้อสอบในแต่ละขั้นตอนของการพัฒนาแบบทดสอบประเภท
Tailor Tests เช่น Flexi-level Test, Pyramidal Tests หรือ Stradaptive Tests เป็นไปอย่างแม่นยำยิ่งขึ้น
• การใช้วิธีการเชิงคุณภาพในการศึกษาเฉพาะกรณี (case
study) เกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้ พฤติกรรมที่เบี่ยงเบนของนักเรียน
หรือคุณลักษณะทางด้านจิตพิสัยของคนไทยในบริบทของสังคมไทยในแต่ละท้องถิ่น ทำให้นักการศึกษาสะสมความรู้ใหม่ๆ
ที่ได้จากกรณีศึกษาเพื่อนำไปเป็นกรอบแนวคิดในการดำเนินงานวิจัยหรือพัฒนาเครื่องมือวัดพฤติกรรมของบุคคลต่อๆ
ไป
การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล
การตีความหมายของข้อมูล
วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการดำเนินงานในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ โดยมีบุคคลที่ทำการวิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญในการรวบรวมข้อมูล การดำเนินงานในลักษณะเช่นนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์ทางการศึกษา ที่เกิดขึ้นและดำเนินไปตามสภาพความเป็นจริง และสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ จากการรวบรวมหลักฐาน และข้อมูลที่ได้จากแหล่งที่ทำการศึกษา ฉะนั้นกระบวนการดำเนินงานส่วนใหญ่จะไม่มีทฤษฎีหรือสมมติฐานเกี่ยวกับประเด็นที่ทำการศึกษาวางไว้เป็นกรอบอย่างแน่ชัด แต่จะมีการรวบรวมความรู้ที่เป็นพื้นฐานในการศึกษาก่อน เพื่อวางกรอบแนวคิดในการดำเนินงานอย่างหลวมๆ หรือถ้าหากจะต้องสมมติฐานไว้ก่อน ก็จะเป็นไปในลักษณะสมมติฐานชั่วคราว (tentative
hypothesis) หรือสมมติฐานเชิงปฏิบัติ (working hypothesis) ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้เมื่อเข้าสู่สนามวิจัย และมีข้อมูลเพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริง ในการสร้างองค์ความรู้จากการวิจัยในสภาพธรรมชาตินั้น นักวิจัยจำเป็นต้องศึกษาปรากฏการณ์อย่างลุ่มลึก คลุกคลีกับสถานการณ์และกับบุคคลที่ทำการศึกษาแบบตัวต่อตัว ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อม และข้อมูลภาคสนามโดยที/ไม่มีการควบคุมตัวแปรหรือกำหนดมิติของปรากฏการณ์ไว้อย่างตายตัว รวมทั้งต้องมองปรากฏการณ์เป็นภาพรวม (holistic
viewpoint) จากหลายแง่หลายมุม ลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพเช่นนี้ นักวิชาการบางกลุ่มก็เรียกชื่อว่า การวิจัยที่มีฐานปฏิบัติการในภาคสนาม (field-based research)
วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาความคลี่คลายของปรากฏการณ์ ในลักษณะกระบวนพลวัต (dynamic process) และเป็นการศึกษาเฉพาะกรณี การดำเนินงานเช่นนี้ เป็นการศึกษาระยะยาว (longitudinal
study) และต้องทำการศึกษาอย่างลุ่มลึกให้ครบวัฏจักรของประเด็นที่ทำการวิจัย เพื่อให้เข้าใจความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น รวมทั้งความคลี่คลายของปัญหาในแต่ละขั้นตอน ตัวอย่างเช่น การศึกษาเรื่อง คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาในชนบท ของ สุภางค์ จันทวานิช (2531) ผู้วิจัยก็ได้ใช้เวลา
1 ปี
การศึกษาในภาคสนามเพื่อให้เห็นวงจรชีวิตความเป็นอยู่และเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งในด้านการศึกษาและสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนในสังคมเกษตรกรรมที่เป็นกรณีศึกษา วิธีการศึกษาที่เน้นหนักในเรื่องกระบวนการเช่นนี้ สามารถสะท้อนภาพออกมาให้เห็นในลักษณะที่เคลื่อนไหว รวมทั้งให้ทราบถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ถูกศึกษา ในสภาพแวดล้อมที่แปรผันไปในแต่ละช่วงเวลา นอกจากนี้เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการดำเนินงานเหล่านี้ ก็สามารถที่จะบอกให้ทราบถึงสาเหตุของปรากฏการณ์ หรือของปัญหาที/ทำการศึกษาวิจัยได้
วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเสนอข้อมูลหรือปรากฏการณ์ที่การศึกษา โดยการบรรยายความและทำการวิเคราะห์โดยใช้วิธีการเชิงอุปมาน (the inductive method) การรวบรวมข้อมูลของงานวิจัยเชิงคุณภาพนั้นกระทำได้หลายวิธี เช่น การสังเกต ซึ่งก็มีทั้งการสังเกตแบบมีส่วนร่วม แบบไม่มีส่วนร่วม หรือแบบไม่ให้รู้ตัว การทดสอบ การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์และการศึกษาข้อมูลจากเอกสารและสื่อชนิดต่างๆ ในการนี้ผู้วิจัยจำเป็นต้องบรรยายรายละเอียดของภาพรวม หรือสภาพทั่วไปของกรณีที่ทำการศึกษา รวมทั้งเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านงานวิจัยได้เข้าใจบริบทที่ทำการศึกษา และรายละเอียดเหล่านี้ก็เป็นหลักฐานสำคัญที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล หรือปรากฏการณ์อีกด้วย สำหรับการวิเคราะห์โดยใช้วิธีการเชิงอุปมานนั้น ผู้วิจัยจะรวบรวมข้อมูลรูปธรรมย่อยๆ หรือความรู้ย่อยๆ ที่กระจัดกระจายอยู่ในแหล่งกรณีศึกษา มาวิเคราะห์หาความเกี่ยวโยง หรือหาลักษณะร่วมที่พบเห็นได้ชัด หรือหาความหมายที่แฝงเร้นของปรากฏการณ์นั้นๆ เพื่อหาข้อสรุปเชิงนามธรรม วิธีการเช่นนี้ นำไปสู่การสร้างองค์ความรู้จากระดับล่างขึ้นสู่ระดับบน ซึ่งเรียกว่า วิธีการของทฤษฎีพื้นฐาน (the
methodology of the Grounded Theory) วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการดำเนินงานที่คำนึงถึงศักดิeศรีของผู้ที่ถูกวิจัยในฐานะที่เป็นเพื่อนมนุษย์ โดยให้ความสำคัญต่อความรู้สึกนึกคิดและการตีความหมายของปรากฏการณ์ที่ทำการศึกษาจากแง่คิดหรือมุมมองของบุคคลเหล่านั้น การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลหรือความเป็นไปในแต่ละองค์กรนั้น นักวิจัยเชิงคุณภาพต้องเข้าสัมผัสปรากฏการณ์และมีความสัมพันธ์แบบตัวต่อตัวกับบุคลที่ถูกวิจัย
ฉะนั้นข้อกำหนดที่สำคัญก็คือ ผู้ที่ดำเนินวิจัยจะต้องไม่ยึดติดกับกรอบความคิดหรือทัศนะของตนเอง แต่จะต้องทำความเข้าใจและยอมรับแนวคิดรวมทั้งวัฒนธรรมของบุคคล องค์กรหรือชุมชนที่ตนทำการศึกษา โดยถือว่าเขาเหล่านั้นมีฐานะและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกับตนเอง การยอมรับเช่นนี้ก่อให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ และช่วยให้นักวิจัยเข้าถึงระบบความคิดของบุคคลที/ถูกศึกษา และสามารถสะท้อนความเป็นจริงของปัญหา และปรากฏการณ์ที่ทำการศึกษาได้จากทัศนะของคนในองค์กรหรือชุมชนนั้นๆ การศึกษาเฉพาะกรณีในแวดวงทางการศึกษาซึ่งมีครูผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้วิจัยพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนก็เช่นกันเมื่อใดที่ครูสามารถเข้าใจและสื่อความคิดของนักเรียนได้อย่างถูกต้องก็จะทำให้เข้าใจเหตุการณ์ หรือบริบทที่ทำการศึกษาได้อย่างลุ่มลึก
ขอบคุณค่ะ
ตอบลบ