วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

ปวดหลังเรื้อรัง กับการรักษาแบบแพทย์แผนจีน

ปวดหลังเรื้อรัง

กับการรักษาแบบแพทย์แผนจีน

中醫治療慢性腰痛

       อาการปวดเรื้อรังที่ยอดฮิตติดอันดับเวลาไปพบแพทย์ คือ อาการปวดต้นคอ, ปวดหัวไหล่, ปวดเอว บางคนอาจร่วมด้วยอาการปวดศีรษะไมเกรน ปวดแขน หรือปวดขา ถ้าไปหาแพทย์แผนปัจจุบัน ก็คงหนีไม่พ้นยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ปวดศีรษะไมเกรน บางรายต้องแถมยาป้องกันโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ที่อาจเกิดจากผลอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรือสงสัยจะเกี่ยวข้องกับการกดทับของเส้นประสาทไขสันหลังที่ต้นคอหรือบริเวณเอว ก็คงต้องพิจารณาการทำกายภาพบำบัดและการผ่าตัดเป็นราย ๆ ไป
       ถามว่าถ้าไปหาหมอจีน ด้วยอาการกล้ามเนื้ออักเสบและมีอาการปวดหลัง จะตรวจวินิจฉัยและรักษาต่างกันกับแผนปัจจุบันอย่างไร ลองพิจารณาจากตัวอย่างผู้ป่วยดูซิครับ
       สตรีวัย 32 ปี มาหาแพทย์จีนด้วยอาหารหลังเรื้อรัง มา 2 ปี ตั้งแต่ตั้งครรภ์ ในขณะท้องแก่ใกล้คลอดก็รู้สึกปวดหลังแต่ไม่รุนแรง หลังจากถูกผ่าตัดทำคลอดเอาทารกออกโดยวิธีการฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง ผู้ป่วยรู้สึกปวดหลัง ปวดเอวมากขึ้น ได้รับการรักษาด้วยยาแก้ปวด คลายกล้ามเนื้อหลายขนานจากหลายโรงพยาบาลและได้รับทำกายภาพบำบัดมาแล้วหลายครั้ง อาการไม่ดีขึ้น ซักประวัติเพิ่มเติมทราบว่า ผู้ป่วยเป็นคนขี้หนาวมาก เวลาอาบน้ำกลางคืนหรืออยู่ในห้องแอร์ หรือดื่มน้ำเย็นจะรู้สึกเย็นระเยือกในร่างกาย อาการปวดเอวมีลักษณะเมื่อยๆ หนักๆ ร่วมด้วย ตรวจพบลิ้นค่อนข้างซีดและบวมชีพจรเบาอ่อนแรง
       อีกรายหนึ่ง เป็นสตรีวัย 62 ปี มีโรคประจำตัว เป็นเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง มา 10 กว่าปี ได้รับการดูแลรักษาด้วยยาแผนปัจจุบันมาตลอด มีอาการปวดเมื่อยหลัง นั่งนานไม่ได้ (ไม่เกิน 5 นาที) ตรวจ MRI พบว่ามีกระดูกสันหลังด้านเอวทรุดไป 3 ข้อ เนื่องจากการหกล้มเมื่อ 2 ปีก่อน ได้รับยาบำรุงกระดูกและยาคลายกล้ามเนื้อมารับประทานแก้อาการปวด แพทย์ยังไม่แน่ใจว่าการผ่าตัดรักษาจะได้อันตรายหรือได้ผลดีหรือไม่ เนื่องจากผู้ป่วยมีโรคแทรกซ้อนมาก และร่างกายไม่แข็งแรง (เคยผ่าตัดขาไปข้างหนึ่งเนื่องจากแผลที่เท้าติดเชื้อ และผู้ป่วยมีโรคเบาหวานเรื้อรัง)
       ผู้ป่วยได้ยารับประทานมา 3 เดือนไม่มีอาการอะไรดีขึ้น อาการปวดเมื่อยก็มากขึ้น ต้องนอนเสียส่วนใหญ่ เวลาจะนั่งหรือเดินไปไหนต้องมีใส่เสื้อเกราะพยุงดึงรั้ง ช่วยตัวเองไม่ได้ จึงตัดสินใจหาหมอจีน ตรวจซักประวัติและดูลิ้นจับชีพจร พบว่าผู้ป่วยเป็นคนหนาวง่าย, ท้องอืด เบื่ออาหาร ท้องผูก (เคยกินยาช่วยระบาย พอถ่ายท้อง จะมีอาการเหงื่อออก หมดแรง ต้องส่งโรงพยาบาล)

       หมอจีนรักษาโรคปวดหลัง-ปวดเอวอย่างไร
         ก่อนอื่นต้องวินิจฉัยแยกแยะ ภาวะร่างกายของผู้ป่วยแต่ละรายก่อนว่า มีพื้นฐานของร่างกายเป็นอะไร  ปัจจัยเกิดโรคมาจากสาเหตุอะไร
         ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย มีอาการปวดหลังเหมือนกัน แต่ต่างกันในรายละเอียดมาก คนหนึ่งไม่มีโรคเรื้อรัง อีกคนหนึ่งมีโรคเรื้อรังและอายุมากมีกระดูกทรุดอีกต่างหาก
       แต่ข้อเหมือนกันประการหนึ่งของแพทย์แผนจีน คือ ภาวะร่างกายของทั้ง 2 ราย คือ กลัวความเย็น ร่างกายหนาวง่าย มีปัญหาเรื่องระบบย่อยอาหารที่เย็นพร่อง อ่อนแอ
       ตามหลักการรักษา ผู้ป่วยทั้งสอง จัดอยู่ในประเภทไตหยางพร่อง腎陽 ร่วมกับ หยางของม้ามพร่อง脾陽
       การรักษาที่สำคัญคือ อุ่นบำรุงหยางของม้ามและไต温補脾陽腎陽 เพื่อให้เกิดความร้อนขึ้นในร่างกาย เมื่อมีความร้อนการเคลื่อนไหวของเลือดพลังไปส่วนต่างๆจะดีขึ้น มีการกระจายความเย็นในเส้นลมปราณออกไปเสริมการทำงานของระบบย่อย (ม้าม) เพื่อเพิ่มพลังการย่อยและดูดซึมอาหารเพื่อแปรเปลี่ยนเป็นพลังของร่างกาย ด้วยยาสมุนไพร กลุ่มบำรุงหยางของไตและม้าม ทำให้กล้ามเนื้อส่วนเอวแข็งแรงขึ้น เสริมด้วยการฝังเข็มโดยการให้ความร้อนร่วมในบริเวณที่ปวด(การรมยาหรือใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ให้พลังความร้อน)
       การรักษาที่ถูกวิธีบนพื้นฐานการวินิจฉัยแยกแยะภาวะร่างกายทาถูกต้อง เราจะพบผลการรักษาที่สามารถรักษาอาการปวดได้ผลอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญกว่านั้นยังมีผลที่ไปเสริมร่างกายแบบองค์รวม ไม่มีผลแทรกซ้อนแต่จะไปช่วยให้โรคที่เป็นอยู่ไม่ว่าท้องผูก, ปวดท้อง, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมี มีโอกาสลดขนาดและควบคุมได้ยิ่งขึ้น
       หลักคิดและวิธีแก้ปัญหาแบบแพทย์แผนจีนคือ การปรับสภาพร่างกายโดยองค์รวม ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ดีในการสร้างปัจจัยที่เป็นคุณต่อการปรับภาวะความเสียสมดุลต่างๆ ของร่างกาย
       การรักษาแบบควบคุมอาการแบบแผนปัจจุบัน ถ้าได้เสริมจุดอ่อนข้อนี้จะทำให้การรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ



---------------------------------------------
Chiang Rai (Thailand)

    The quieter neighbor of Chiang Mai, Chiang Rai is a land of outstanding natural beauty, where visitors looking to avoid the hordes can visit remote hill tribes, spot exotic wildlife, and check out the golden triangle, the former center of the world’s opium trade.



    Chiang Rai has been inhabited since the 7th century, but it was not until 1262 that King Meng Rai established it as the first capital of the Lanna Kingdom. The capital was later relocated to Chiang Mai and since that time Chiang Rai has lived in the shadow of its neighboring province, though for tourists this is a good thing. Today, Chiang Rai is a traveler’s paradise, endowed with abundant natural attractions and antiquities. Attractions range from ruins of ancient settlements and Buddhist shrines to magnificent mountain scenery and hill tribe villages. For those interested in the natural side of Chiang Rai, jungle trekking is a magical experience; explore the mountains of the north along various hiking trails, many of which access the villages of diverse hill tribes groups, many of whom maintain their traditional lifestyles. Chiang Rai town, which tends to be a little more ‘laid back’ than its more popular neighbor, now competes with Chiang Mai as a tourist attraction and is fast becoming a popular escape for tourists wanting to leave their troubles behind.
      Chiang Rai, the former capital of the great Lanna Kingdom, is a fascinating province filled with cultural and natural wonders, including the Golden Triangle where Thailand, Laos, and Burma come together; an area that was once the hub of opium production, a trade that had much influence on cultural practices and lifestyles. Chiang Rai had stayed off the tourist radar for many years, its people enjoying very leisurely development and mostly traditional, rural lifestyles. Until this day, entire clans live together in bamboo houses and each village has its own individual character. Recently tourism has boomed in Chiang Rai, where visitors have come to explore the pristine natural beauty of the countryside and immerse themselves in the indigenous culture, including those of a variety of different hill tribe communities. Fortunately for tourists, Chiang Rai is also a center for community development projects, helping rural villagers develop their attractions without adversely affecting their natural and cultural assets.

Don't Miss !!!


The monument of King Mengrai

      Right at the center of Chiang Rai city finds the monument of King Mengrai, the great king who founded Lanna Thai kingdom. King Mengrai was originally the ruler of Nakhon Hiran Ngoen Yang, an ancient town off in Chiang Saen. With a will to create a great kingdom of Lanna folks, he advanced his power to nearby kingdoms (Chiang Rai was one of them) until he successfully established the Lanna Thai kingdom in 1296 with his power centered at Chiang Mai.

Wat Phra Sing

     Not far from the Chiang Rai town hall is Wat Phra Sing, a historic temple once home to the sacred Lanna-style Buddhist statue Phra Buddha Sihing, which is now in Chiang Mai. Nevertheless, Wat Phra Sing remains a temple worth visiting for its Lanna-style ordination hall featuring finest creations of lanna craftmen.
Opening hours: Daily 8am-5pm
Contact: 0 5374 5038

The White Temple, Wat Rong Khun

       Also known as The White Temple, Wat Rong Khun is regarded as one of the most beautiful temples built in this century. A masterpiece of artist Chalarmchai Kositpipat, famed for his extravagant and unique Buddhism-related paintings, Wat Rong Khun reflects the artist’s grand visions of heaven, hell and Nirvana. The main assembly hall and adjacent area are carved in white with glass mosaics. The construction started in 1997 and even the assembly hall is not yet completed: only two walls have been painted with a depiction of heaven and hell. Look closely and you’ll see pictures of international heroes like Spiderman, Sailor Moon and even Ben 10 hidden in the murals. When it’s completed (it could take 50 years), the temple will have nine buildings. Donations are welcome but should not exceed B10,000 as Chalermchai doesn’t want to be under the influence of big donors, even though he’s spent more than B40 million of his own cash.
Opening hours: Daily 6.30 am - 6 pm

Contact: Tel. 0 5367 3579
Doi Tung



     At Doi Tung, you get to experience both the beautiful scenery of the hill and to learn about the life and social-development works of the late Princess Mother and her Doi Tung Development Project (since 1987). Located on Mae Fa Luang District, you can travel to Doi Tung through the Highway No. 110 for 48 kilometers and take a left on Highway No. 1149. While on the road you’ll be enjoy driving through beautiful surroundings as well as interesting attractions like the

Phu Chi Fa


     One of the most famous destinations uphill in Chiang Rai, especially during winter time, when visitors try to reach its cliff that offers spectacular views of the valley and sea of mist at sunrise. Phu Chi Fa is blessed with breathtaking views, abundant flowers of all colors, and cool weather most of the year. Plus, it is not far, located approximately 25 kilometers south of Doi Pha Tang in Thoeng District. Visitors are also welcomed to stay overnight at Ban Rom Fa Thong and Ban Rom Fa Thai.
Opening Hours: Daily 5am-6pm

ภาวะกรดไหลย้อน (GERD)

ภาวะกรดไหลย้อน (GERD)

      ภาวะกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease : GERD) เป็นโรคที่พบได้ในทุกกลุ่มอายุ ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงผู้สูงอายุ แม้จะเป็นโรคที่ไม่รุนแรงแต่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ซึ่งปัจจุบันพบมากในการดูแลระดับปฐมภูมิ  (Primary care) (Levy, Stamm & Meiner, 2002) , (Kaynard & Flora,2002.)  ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมาด้วยอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก (Heartburn) และการไหลย้อนของน้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร (Regurgitation) (Kaynard & Flora,2002.) ความรุนแรงของอาการและอาการแสดงเป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดขึ้นกับแต่ละบุคคล เกือบทุกคนอาจเคยมีประสบการณ์การเรอและรู้สึกขมในปากแต่ไม่มีผลกระทบกับการดำรงชีวิตจึงไม่ใส่ใจ อาการดังกล่าวถ้าเกิดขึ้นบ่อยๆและปล่อยทิ้งไว้นานจะทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหารส่วนปลาย ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่สุขสบาย เจ็บปวดบริเวณคอ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดเป็นมะเร็งของหลอดอาหารและกล่องเสียงได้ (Kaynard & Flora,2001, Levy, Stamm & Meiner,2002)  พยาบาลเป็นบุคลากรทีมสุขภาพที่มีบทบาทสำคัญมากในการดูแลระดับปฐมภูมิที่สามารถช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีอาการและอาการแสดงของภาวะกรดไหลย้อนดีขึ้นได้ โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องไปพบแพทย์หากได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง

ความหมายของภาวะกรดไหลย้อน

       ภาวะกรดไหลย้อน เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของหูรูดหลอดอาหารส่วนปลาย(Lower Esophageal Sphincter : LES)  อ่อนแรง หดรัดตัวไม่ดี ทำให้มีการไหลย้อนกลับของน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นมาที่ส่วนปลายของหลอดอาหาร (Distal esophagus) การที่หลอดอาหารสัมผัสกับภาวะกรดนานๆจะนำไปสู่การเกิดการอักเสบของหลอดอาหารได้ ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่สุขสบาย เจ็บหน้าอกหรือแสบหน้าอก ระคายเคืองบริเวณคอและรู้สึกรสขมหรือเปรี้ยวในปาก

สาเหตุและพยาธิสรีรวิทยาของ GERD

       ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าภาวะกรดไหลย้อนเกิดขึ้นได้อย่างไรแต่เชื่อว่าการหย่อนสมรรถภาพของหูรูดหลอดอาหารส่วนปลายเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะกรดไหลย้อน หูรูดหลอดอาหารส่วนปลายเป็นกล้ามเนื้อหูรูดที่เชื่อมต่อกับกระเพาะอาหารเมื่อมีการกลืนเกิดขึ้น กล้ามเนื้อนี้จะช่วยเคลื่อนให้อาหารผ่านส่งสู่กระเพาะอาหาร และในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้อาหารและของเหลวในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาทางหลอดอาหาร แต่ถ้าบุคคลมีการบริโภคที่มากเกินไปกระเพาะอาหารยืดขยายเต็มที่ก็อาจมีผลต่อการทำงานของหูรูดหลอดอาหารส่วนปลาย  ทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการของไส้เลื่อนที่กระบังลม (Hiatal herniation) ร่วมด้วยคือ กล้ามเนื้อระหว่างช่องท้องและทรวงอกแยกจากกันทำให้เกิดไส้เลื่อนมาที่กระบังลม ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เชื่อมต่อระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร ไส้เลื่อนที่ค้างอยู่ที่กระบังลมจะรบกวนการทำงานของหูรูดหลอดอาหารส่วนปลาย สำหรับในเด็กแรกเกิดถึงหนึ่งขวบ ปัญหาการหย่อนยานของหูรูดหลอดอาหารส่วนปลายพบได้บ่อยซึ่งเมื่อหูรูดหลอดอาหารส่วนปลายหดรัดตัวไม่ดีมีผลทำให้เด็กอาเจียน
       ภาวะกรดไหลย้อนเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการไหลย้อนกลับของน้ำย่อยในกระเพาะอาหารอันเป็นผลมาจากการหดรัดตัวไม่ดีของหูรูดหลอดอาหารส่วนปลาย  ซึ่งปัจจัยที่ทำให้แรงหดรัดของหูรูดหลอดอาหารส่วนปลาย ลดลง ได้แก่ อาหารไขมัน อาหารทอด หอมกระเทียม อาหารที่มีรสเผ็ด พิซซ่า อาหารที่มีส่วนผสมของมะเขือเทศ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์ นิโคตินในบุหรี่ ช็อกโกแลต ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ส่วนยาที่มีผลได้แก่ Calcium channel blocker, Nitrates, Theophylline, Diazepam  และยาในกลุ่ม  Nonsteroid anti-inflammatory drugs (ยาในกลุ่มนี้ช่วยให้ระดับของเอสโตรเจน และ โปรเจสเตอโรน สูงขึ้น ซึ่งมีผลทำให้การบีบตัวของกล้ามเนื้อบริเวณหูรูดส่วนปลายอ่อนแรง)  รวมถึงการมีแรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้นด้วย เช่น คนอ้วน คนท้อง การยกของหนัก นอกจากนี้ปัจจัยอื่นๆที่มีผลต่อการหัดรัดตัวของหูรูดหลอดอาหารส่วนปลายลดลง ได้แก่ พันธุกรรม และกระเพาะอาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนาน (Delayed Gastric Emptying)
       ภาวะกรดไหลย้อนทำให้เซลล์ของหลอดอาหารได้รับการระคายเคืองจากกรดในกระเพาะอาหารเป็นเวลานานทำให้เซลล์ของหลอดอาหารเปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็งได้ เรียกว่า Barrett’s esophagus  ซึ่งมักพบในผู้ใหญ่ที่มีปัญหาภาวะกรดไหลย้อน มาหลายปีหรืออาจทำให้เกิดการตีบแคบของหลอดอาหาร(esophageal stricture)ได้ นอกจากนี้ยังอาจพบโรคแทรกซ้อนของปอด เช่น โรคหอบหืดเป็นมากขึ้น (asthma exacerbation) ไอเรื้อรัง ปอดอักเสบ เป็นต้น

อาการและอาการแสดงของภาวะกรดไหลย้อน

       - อาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก (Heartburn, Pyrosis) เป็นอาการแรกที่พบในผู้ป่วยที่มีปัญหากรดไหลย้อน ผู้ป่วยจะมีอาการแสบร้อนบริเวณ  substernal หรือ  retrosternal และอาจกระจายไปที่หลังและขากรรไกร อาการแสบร้อนบริเวณหน้าอกเป็นอาการแสดงที่พบมากที่สุด ผู้ป่วยอาจมีอาการอยู่นานตั้งแต่ 20 นาทีถึง 2 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร อาการนี้จะสัมพันธ์กับมื้ออาหารโดยเฉพาะมื้ออาหารที่รับประทานมากๆ ท่าของผู้ป่วย การนอน หรือการออกกำลังกาย
       การไหลย้อนของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร (Regurgitation) โดยไม่สัมพันธ์กับอาการคลื่นไส้ หรือเรอ จะรู้สึกรสเปรี้ยวของกรดและรสขมของน้ำดีบริเวณ  pharynx
       -  ต่อมน้ำลายจะขับน้ำลายออกมาในปากมาก แสบร้อนท้องและเรอเปรี้ยว (Water brash)
       -  เรอบ่อยหรือมีแก๊สในกระเพาะอาหารมากเกินไป (Frequent belching หรือ flatulence)
       -  กลืนลำบาก (Dysphagia)  หรือ ปวดเวลากลืน (Odynophagia) เหมือนมีอะไรมาจุกที่คอเนื่องจากมีการอักเสบของหลอดอาหารหรือหลอดอาหารมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ   
       -  ไอเวลากลางคืน (Nocturnal cough) ไอแห้ง ๆ (dry cough)
       -  หายใจมีเสียงฮืด ๆ (Wheezing) มีbronchospasms,asthma exacerbation
       -   เสียงแหบทั้ง (Hoarseness ) อาการเสียงแหบสามารถเกิดได้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน
       -   เจ็บหรือแสบคอ (Soreหรือ raw throat) โดยเฉพาะตื่นนอนในตอนเช้า
       -   ไอเรื้อรัง  (Chronic cough) กระแอมไอบ่อยๆ
       -   เจ็บหน้าอก (Chest pain)

การประเมินผู้ป่วยที่มีภาวะกรดไหลย้อน

1.    การซักประวัติ  ประกอบด้วย
         1.1  ประวัติสุขภาพ ผู้ป่วยมักให้ประวัติว่ามีอาการปวดแบบแสบร้อน (Heartburn)  บริเวณทรวงอกและกระเพาะอาหารบ่อย ๆ นอนราบอาการเป็นมากขึ้น หรืออาการจะยิ่งแย่ลงหลังรับประทานอาหาร อาการปวดอาจเป็นอยู่นานถึง 2 ชั่วโมง นอกจากนี้จะมีอาการเรอเปรี้ยว  (Regurgitation) บ่อย ๆ อาการแสดงอื่นๆที่อาจพบในผู้ป่วย ได้แก่ เสียงแหบ กลืนลำบาก รู้สึกเหมือนมีอาหารจุกบริเวณคอ รู้สึก Burping acid อยู่ในปาก ไอเรื้อรังหรือสำลัก
       นอกจากนี้ควรซักประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต ยาที่ผู้ป่วยใช้เป็นประจำ ประวัติโรคภูมิแพ้
         สำหรับผู้สูงอายุอาการที่พบได้แก่เจ็บบริเวณยอดอก (Epigastric pain),น้ำหนักลด(Weight loss) , กลืนลำบาก (Dysphagia) , อาเจียน (Vomiting) ,ปัญหาระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Problems),ไอเรื้อรัง (Chronic cough) , เสียงแหบ (Hoarseness และWeeping) (Thjodleifsson&Jonsson,2001cited in Levy,Stamm&Meiner,2001)
         ผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด จะมีอาการของ Nocturnal cough และอาการหอบหืดแย่ลง (Asthma exacerbation ) เนื่องจากหลอดอาหารได้รับการระคายเคืองจากน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร
         ผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะกรดไหลย้อน จะมีประวัติอาเจียนบ่อยๆ อาเจียนมากเวลาร้องไห้ น้ำหนักลด มีการอักเสบของหลอดอาหาร
         ส่วนอาการเตือนที่เป็นสัญญาณของการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะกรดไหลย้อน ได้แก่ อาการกลืนลำบาก เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร และน้ำหนักลด หายใจสั้นร่วมกับการมีเสียงแหบ เจ็บหน้าอก
          1.2 แบบแผนการดำเนินชีวิต
            1.2.1 พฤติกรรมการบริโภค โดยเฉพาะเวลาของการรับประทานอาหารเย็น ผู้ป่วยมักรับประทานตอนดึก แล้วเข้านอนเลย  พฤติกรรมที่ชอบรับประทานขนมขบเคี้ยวตลอดทั้งวันและ ไม่ชอบรับประทานผลไม้สด
            1.2.2 พฤติกรรมทางสังคม ชอบออกงานสังคม มีงานเลี้ยงสังสรรค์บ่อย ๆ ไม่ค่อยมีเวลาในการออกกำลังกาย สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เป็นประจำ
            1.2.3  แบบแผนการนอน บางคืนจะสะดุ้งตื่นด้วยอาการเจ็บแสบคอ มีรสเปรี้ยวในปากต้องใช้หมอนหนุนให้ศีรษะสูงขึ้นและ ดื่มน้ำตาม อาการจึงทุเลาลง และสามารถนอนหลับได้
       2. การตรวจร่างกาย สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกรดไหลย้อนประกอบด้วย การชั่งน้ำหนัก และการฟังปอดเพื่อประเมินอาการของ Reflux aspiration
       3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
          ถ้ามีอาการไม่รุนแรงก็วินิจฉัยตามอาการและรักษาตามอาการ แต่ถ้ามีอาการรุนแรงและเกิดอาการแสบร้อนทรวงอกบ่อย ๆ  ต้องใช้เครื่องมือในการคัดกรองดังนี้
3.1    24-hour pH monitoring เป็นการตรวจวินิจฉัยที่เฉพาะสำหรับบุคคลที่มีความผิดปกติของ Acid reflux  โดยติด  Holter monitor  ค่าปกติของ pH บริเวณ Esophagus จะมากกว่า 6.0  มักทำในรายที่ผล Esophageal endoscope ไม่ชัดเจนและในรายที่ต้องพิจารณาการรักษาด้วยการผ่าตัด
3.2     Esophageal motility  และ  Bernstein tests  เป็นการประเมินสมรรถนะของหูรูดหลอดอาหารส่วนปลาย ปริมาณของน้ำย่อยในการ  reflux  แต่ละครั้ง  (Quantify reflux episodes)  และการตอบสนองของ Esophagus  ต่อ  Acid infusion การตรวจดังกล่าวผู้ป่วยต้องได้รับการเตรียมตัวดังนี้
     3.2.1  งดน้ำ และอาหารเป็นเวลา 8 ชั่วโมง ก่อนตรวจ
           3.2.2  หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ก่อนตรวจ 1 วัน
           3.3.3  วันที่ตรวจงดยาในกลุ่ม Antacids, H2-recepter antagonists, Proton pump inhibitors และ Anticholinergics
           3.3.4   ดูแลให้ได้รับ Sedative ตามแผนการรักษา  ในผู้ป่วยที่ไวต่อการขย้อน
           3.3.5   อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงวิธีการตรวจ และอาจรู้สึกเจ็บคอเล็กน้อยหลังการตรวจ
      3.3  Barium swallow radiography เป็นการตรวจที่บอกความผิดปกติของหลอดอาหารหรือมีของเหลวไหลย้อนมาที่หลอดอาหารหรือหลอดอาหารมีการระคายเคือง โดยการกลืนแป้งผ่านไปที่หลอดอาหารแล้ว x-rays ดูความผิดปกติ เป็นการตรวจวินิจฉัยที่ควรทำเป็นอันดับแรก ประหยัดค่าใช้จ่ายและสามารถคัดกรองโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      3.4  Esophageal endoscopy เป็นการตรวจวินิจฉัยที่ได้ผลแน่นอนที่สุดในการวินิจฉัยภาวะกรดไหลย้อน การตรวจวิธีนี้สามารถบอกถึงความผิดปกติของหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและส่วนต้นของลำไส้เล็ก นอกจากนี้ยังสามารถทำ biopsy เนื้อเยื่อได้ด้วย

การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะกรดไหลย้อน

       เป้าหมายของการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะกรดไหลย้อน คือ
          1. เพื่อลดอาการแสดงที่มีผลจากกรดในกระเพาะอาหาร
          2. ส่งเสริมการหายของอาการหลอดอาหารอักเสบ
          3. ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยเฉพาะการตีบแคบของหลอดอาหารและ  Barrett’s esophagus
       ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่อาการเริ่มแรกจะไม่รุนแรง จึงควรเริ่มโดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตควบคู่กับการรับประทานยาลดกรด ต่อเมื่ออาการไม่ดีขึ้นจึงพิจารณาใช้วิธีการผ่าตัด

แนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาภาวะกรดไหลย้อน ควรประกอบด้วย

       1.ปรับเปลี่ยนแบบแผนการรับประทานอาหารควรแนะนำผู้ป่วยเกี่ยวกับ
         1.1  รับประทานอาหารมื้อละน้อยวันละประมาณ 4-6 มื้อ
         1.2  รับประทานอาหารประเภทไขมันต่ำ และรับประทานโปรตีนให้เพียงพอ
          1.3  ลดการดื่มชา กาแฟ หรือรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน
         1.4  งดการดื่มแอลกอฮอล์
          1.5  รับประทานอาหารช้า ๆ เคี้ยวให้ละเอียด และงดรับประทานอาหารก่อนนอน 2-3 ชั่วโมง
          1.6  หลีกเลี่ยงการรับประทานของคบเคี้ยวก่อนนอนและไม่ควรรับประทานอาหารก่อนเข้านอนอย่างน้อย3 ชั่วโมง เชื่อว่าของคบเคี้ยวจะยิ่งทำให้อาการแสดงของ GERDแย่ลง
          1.7  หลังรับประทานอาหาร 1-2 ชั่วโมง ควรอยู่ในท่านั่ง ห้ามนอน
          1.8  หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิด Heartburn
          1.9  ควบคุมน้ำหนัก จะช่วยลดแรงดันในช่องท้องเพราะคนอ้วนจะมีความดันในช่องท้องสูงทำให้กรดไหลย้อนได้มาก
       2. ปรับเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิต
         2.1 งดการสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้เกิดกรดมาก
         2.2 หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่รัดบริเวณหน้าท้อง
         2.3 หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรืออยู่ในท่าโค้งตัวนาน ๆ
         2.4 ไม่ควรนอนราบให้นอนยกศีรษะสูง โดยยกหัวเตียงให้สูงขึ้นจากพื้น ประมาณ 6-8 นิ้ว  (15 -20 เซนติเมตร)
          2.5  ออกกำลังกายสม่ำเสมอและพยายามหลีกเลี่ยงความเครียด
3.การรักษาทางยา กลุ่มยาที่ใช้ในการรักษาภาวะกรดไหลย้อนได้แก่
3.1 Neutralize gastric acids ยาที่ปรับสภาพกรดในกระเพาะอาหารให้เป็นกลาง เช่น Antacids ได้แก่ Aluminum หรือ  Magnesium-based product ผลข้างเคียงของยาที่มีส่วนผสมของ Aluminum หรือ Calcium carbonate antacids ทำให้ท้องผูก ถ้ามีส่วนผสมของ Magnesium ทำให้ท้องเสีย
Antacid plus alginic acid ได้แก่  Gaviscon ยาในกลุ่มนี้จะช่วยป้องกัน Reflux หรือ Buffers effects มีทั้งยาเม็ดและยาน้ำ ถ้าเป็นยาเม็ดต้องเคี้ยวก่อนกลืน ให้ 1tab ก่อนอาหารและก่อนนอน
          3.2   Reduce gastric acid secretion  ให้ยาลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ยาในกลุ่มนี้ยังช่วยส่งเสริมการหายของหลอดอาหารอักเสบ  และควรรับประทานยาพร้อมอาหาร สำหรับผลข้างเคียงของยาที่พบได้แก่ อ่อนเพลีย , ปวดศีรษะ และท้องเสีย เช่น  Histamine (H2) receptor antagonists ได้แก่
            3.2.1 Cimetidine (Tagamet) 400mgวันละ 2 ครั้งหรือ 800mg ก่อนนอน สำหรับการใช้ Cimetidine ยาตัวนี้ควรระวังในเรื่องของ  B12 deficiency  ถ้าใช้มากกว่าวันละ 1 ครั้ง ดั้งนั้นถ้าจะใช้แนะนำให้ใช้วันละ 1 ครั้งก่อนนอน เพราะยาไปลดการดูดซึม B12
            3.2.2 Ranitidine (Zantac)  ให้ 300mg ต่อวัน
            3.2.3 Famotidine (Pepcid) ให้ 20mg วันละ 2 ครั้ง
            3.2.4 Nizatadine (Axid) ให้ 150-300 mg วันละ 2 ครั้ง เป็นต้น  
          3.3  Inhibit enzyme system  ยาในกลุ่มนี้ช่วยยับยั้งการสร้างกรดจาก Gastic parietal cells และกดการหลั่งกรด  Gastric ได้มากกว่า 90 %  และช่วยให้การอักเสบของหลอดอาหารหายเร็วขึ้น ควรรับประทานยานี้ก่อนอาหารมื้อเช้า 20-30 นาทีเนื่องจากยาจะออกฤทธิ์ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่เป็นกรด สำหรับผลข้างเคียงของยาได้แก่ ปวดท้องเป็นตะคริว (abdominal cramping), ปวดศีรษะ และท้องเสีย เช่น Proton pump inhibitors (PPI) ได้แก่
            3.3.1 Omeprazole(Prilosec,Losec) 20mg วันละครั้ง
            3.3.2 Lansoprazole (Prevacid) 30mg วันละครั้ง
            3.3.3 Rabeprazole sodium (Aciphex) 10mg วันละครั้ง
            3.3.4 Esomeprazole magnesium (Nexium) 40mg วันละครั้งหรือวันละ 20mg ในรายที่ต้องใช้ยาระยะยาว
            3.3.5 Pantoprazole sodium (Protonix) 40mg ต่อวัน เป็นต้น
              ยาในกลุ่ม PPI เป็นยาที่ใช้รักษาภาวะกรดไหลย้อนได้ดีที่สุด ดังนั้นถ้าอาการผู้ป่วยไม่ดีขึ้นหลังการใช้ยา (refractory GERD) 4-8 สัปดาห์ ควรต้องมีการวินิจฉัยโรคใหม่
          3.4 Strengthen the sphicter ยาในกลุ่ม Prokinetics ช่วยในการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหาร ได้แก่ Bethanechol (Urecholine), Metroclopramide (Reglan)
            ในการรักษานิยมให้ยามากกว่า 1 ชนิด เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการของ Heartburn หลังรับประทานอาหารควรให้ทั้ง Antacids และ H2blockers ยา Antacids จะออกฤทธิ์ให้กรดในกระเพาะอาหารเป็นกลางเมื่อ Antacids หยุดทำงาน H2blockers ก็ออกฤทธิ์ลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารพอดี
       4. การผ่าตัดในกรณีที่ใช้ยาและปรับพฤติกรรมสุขภาพ เรื่องการรับประทานอาหาร และการดำเนินชีวิตแล้วไม่ได้ผล การผ่าตัดเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ใช้แก้ไขภาวะกรดไหลย้อน โดยการทำ  Fundoplication  คือการผ่าตัดเอาส่วนต้นของกระเพาะอาหารหุ้มหูรูดหลอดอาหารส่วนปลายไว้ เพื่อเป็นการรัดบริเวณหูรูดป้องกันน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อน
    สำหรับผู้ป่วยที่เป็นเด็กใช้แนวทางการดูแลเช่นเดียวกันเพียงแต่ปรับเปลี่ยนปริมาณและขนาดยาให้เหมาะกับเด็ก รวมถึงพฤติกรรมสุขภาพด้วย

สรุป

       การมีชีวิตอยู่กับภาวะกรดไหลย้อน สิ่งสำคัญคือ การปรับเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิต ต้องใส่ใจในอาการและอาการแสดงที่เกิดขึ้น การได้รับการดูแลอย่างถูกต้องตั้งแต่แรกจะสามารถลดอาการไม่สุขสบาย ไม่ต้องใช้การรักษาที่ยุ่งยาก และป้องกันการทำลายเนื้อเยื่อของหลอดอาหารอย่างถาวรได้ การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการและอาการแสดงของภาวะกรดไหลย้อนเป็นพฤติกรรมที่ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด แม้ว่าบางครั้งจะกระทำได้ยาก เนื่องจากเป็นสิ่งที่ชอบ เมื่อบุคคลสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยส่งเสริมได้ก็จะสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ

เอกสารอ้างอิง

Kaynard, A & Flora, K. (2001) Postgraduate Medicine. Minneapolis : Sep 20.
       vol.110, Iss. 3; pg. 42. [Copyright  c  2006 Proquest Information and
       Learning Company / 27 Dec. 2006.]
Levy, R.A., Stamm. L. & Meiner, S.E. (2002). Conservative management of GERD :
       A Case study, Medsury Nursing. Pitman : Aug. vol, 11, Iss.4; pg. 169, 8
       pgs  [Copyright c  2006  Proquest Information and Learning Company /
       27 Dec 2006. ]
Phipps,W.J.,Monahan,F.D.,Sands,J.K.,Marek,J.F.&Neighbors,M.(2003). Medical-Surgical      Nursing :        Health and Illness Perspectives, 7th ed. Missouri : Mosby. Inc.     P 1006-1011.
http://www.bangkokhealth.com/consult_htdoc/Question.asp?GID=15107[21/2/2007]
http://www. Kidshealth. Org / teen / diseases_conditions / digestive / gerd. htmL – 20 k    [       27 /12/   2006.]
hhtp://www.lpch.org/diseasehealthinfo/healthlibrary/digest/gerd.html. [26/2/2007]


……………………………………………





วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

CHIANG MAI

CHIANG MAI

    Thailand’s “Rose of the North” is a cultural and natural wonderland with ethnic diversity, a multitude of attractions and welcoming hospitality.




    Chiang Mai literally means “new city” and has retained the name despite celebrating its 700th anniversary in 1996. King Meng Rai the Great founded the city as the capital of the Lanna Kingdom on Thursday, April 12 1296 around the same time as the establishment of the Sukhothai Kingdom. King Meng Rai even conferred with his friends, King Ramkhamhaeng of Sukhothai and King Ngam Muang of Phayao before choosing the site where the capital of the Lanna Kingdom was to be founded. Henceforth, Chiang Mai not only became the capital and cultural core of the Lanna Kingdom, it was also to be the center of Buddhism in northern Thailand. King Meng Rai himself was a very religious leader who even founded many of the city’s temples that remain important to this day. Chiang Mai is one of the few places in Thailand where it is possible to experience both historical and modern Thai culture coexisting side by side: the city features centuries-old pagodas and temples next to modern convenience stores and boutique hotels. This dichotomy is best appreciated within the moat-encircled old city, which retains much of the fortified wall that once protected the city center as well as the four main gates that provided access to the former Lanna capital city. Strangely, for many years tourists had mistaken Chiang Mai simply as the base from which they could plan trekking and rafting trips to hill tribe villages and explore other provinces. Once in Chiang Mai, however, tourists are surprised by the fact that there are so many things to discover other than its beautiful and historic temples. Intriguing diversity among ethnic tribes, a number of elephant camps, many cooking and massage schools, numerous outdoor activities, a variety of handicrafts workshops, various cultural performances, and breathtaking scenery make Chiang Mai one of Asia’s most attractive tourist destinations. The phrase "a day in Chiang Mai is enough to see things around town" was once a common expression. Today, two weeks in Chiang Mai may not be long enough for travelers to experience all that Chiang Mai has to offer.



    The old city of Chiang Mai is a showcase of the north’s fascinating indigenous cultural identity that includes diverse dialects, a delectable cuisine, distinctive architecture, traditional values, lively festivals, numerous handicrafts workshops, northern style massage, and classical dances. Chiang Mai is also blessed with pristine natural resources including mountains, waterfalls, and rivers. The presence of numerous hill tribes that feature a wealth of unique cultures enhances Chiang Mai’s distinctive diversity. Hill tribe trekking, often combined with river rafting and elephant riding has always been one of Chiang Mai’s greatest tourist attractions. Nowadays there are innumerable activities and attractions both in the city and the surrounding province, including massage instruction and golf. Moreover, visitors can visit workshops where they can learn about the production of silk or silver, and purchase memorable, hand-crafted souvenirs. With such a diverse range of attractions and an equally grand selection of dining and accommodation options, Chiang Mai is a place where both backpackers and luxury tourists can enjoy the ultimate Thailand holiday.

















มะเร็ง

มะเร็ง



       .........ว่ากันว่าการทำคีโมเป็นทางเลือกเดียวที่จะลอง และใช้ในการกำจัดโรคมะเร็ง ในที่สุดโรงพยาบาลจอห์น ฮอพกินส์ก็เริ่มแนะนำถึงทางเลือกอื่นๆ อีก ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับโรคมะเร็งจาก รพ.จอห์น ฮอพกินส์

          1. ทุกๆคนมีเซลมะเร็งอยู่ในร่างกาย เซลมะเร็งเหล่านี้จะไม่ปรากฎด้วยวิธีการตรวจสอบตามมาตรฐาน จนกระทั่งมันขยายตัวเพิ่มขึ้นในระดับพันล้านเซล เมื่อแพทย์บอกว่าไม่มีเซลมะเร็งในร่างกายผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาแล้ว มันหมายถึงว่าระบบไม่สามารถตรวจสอบเซลมะเร็งได้เพราะว่าจำนวนของมันยังไม่มากพอ จนถึงระดับที่สามารถตรวจจับได้เท่านั้น

          2. เซลมะเร็งเกิดขึ้นระหว่าง 6 ถึงมากกว่า 10 ครั้งในช่วงอายุของคนๆ หนึ่ง

          3. เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงเพียงพอ เซลมะเร็งจะถูกทำลายและป้องกันไม่ให้เกิดการขยายตัวและกลายเป็นเนื้องอก

         4. เมื่อใครก็ตามเป็นมะเร็ง มันกำลังบอกว่าคนๆ นั้นมีความบกพร่องหลายประการเกี่ยวกับโภชนาการ ซึ่งอาจเกิดจากยีน สิ่งแวดล้อม อาหารและปัจจัยอื่นๆในการดำรงชีวิต

         5. เพื่อเอาชนะภาวะบกพร่องหลายประการเกี่ยวกับโภชนาการ การเปลี่ยนแปลงประเภทของอาหารรวมทั้งสารอาหารบางอย่างจะช่วยให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น

          6. การทำคีโมคือการให้สารเคมีที่มีความเป็นพิษกับเซลมะเร็งที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ขณะเดียวกัน มันก็จะทำลายเซลที่ดีที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในไขกระดูก ทำลายระบบทางเดินอาหาร ฯลฯ และเป็นสาเหตุทำให้อวัยวะบางส่วนถูกทำลาย เช่น ตับ ไต หัวใจ ปอด ฯลฯ

          7. การฉายรังสีแม้ว่าจะเป็นการทำลายเซลมะเร็ง แต่ก็ทำให้เกิดอาการไหม้ เป็นแผลเป็น และทำลายเซลที่ดี เนื้อเยื่อ และอวัยวะ

          8. การบำบัดโดยคีโม และการฉายรังสีมักจะช่วยลดขนาดของเนื้องอกได้ในช่วงแรกๆ อย่างไรก็ตามถ้าทำไปนานๆ พบว่ามักไม่ส่งผลต่อการทำลายเซลเนื้องอ

          9. เมื่อร่างกายได้รับสารพิษจากการทำคีโมหรือการฉายรังสีมากเกินไป ระบบภูมิคุ้มกันอาจปรับตัวเข้ากันได้หรือไม่ก็อาจถูกทำลายลง ดังนั้นคนๆ นั้นจึงอาจตกอยู่ในอันตรายจากการติดเชื้อหลายชนิดและทำให้โรคมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น

          10. การทำคีโมและการฉายรังสีอาจเป็นสาเหตุทำให้เซลมะเร็งกลายพันธุ์ ดื้อยา และยากต่อการทำลาย การผ่าตัดก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เซลมะเร็งกระจายไปทั่วร่างกาย

         11. วิธีที่ดีที่สุดในการทำสงครามกับมะเร็ง คือการไม่ให้เซลมะเร็งได้รับอาหารเพื่อนำไปใช้ในการขยายตัว

อะไรคืออาหารที่ป้อนให้กับเซลมะเร็ง

       a. น้ำตาลคืออาหารของมะเร็ง การตัดน้ำตาลคือการตัดแหล่งอาหารสำคัญที่จ่ายให้กับเซลมะเร็ง สารทดแทนน้ำตาลอย่างเช่น " นิวตร้าสวีต "" "" อีควล "" "" สปูนฟูล "" ฯลฯ ล้วนทำมาจากสารให้ความหวาน ซึ่งเป็นอันตราย สารทดแทนซึ่งเป็นกลางที่ดีกว่าคือน้ำผึ้งมานูคา (จากนิวซีแลนด์) หรือน้ำอ้อย แต่ในปริมาณน้อยๆเท่านั้น เกลือสำเร็จรูปก็ใช้สารเคมีในการฟอกขาว ควรหันไปเลือกใช้ "" แบรก อมิโน "" หรือเกลือทะเลแทน

       b. นมเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายผลิตเมือก โดยเฉพาะในระบบทางเดินอาหาร เซลมะเร็งจะได้รับอาหารได้ดีในสภาวะที่มีเมือก การใช้นมถั่วเหลืองชนิดไม่หวานแทนนม จะทำให้เซลมะเร็งไม่ได้รับอาหาร

       c. เซลมะเร็งเติบโตได้ดี ในภาวะแวดล้อมที่เป็นกรด อาหารจำพวกเนื้อจะสร้างสภาวะกรดขึ้น ดังนั้นจึงควรหันไปรับประทานปลาจะดีที่สุด รองลงไปคือรับประทานไก่แทนเนื้อและหมู ในเนื้ออาจมียาฆ่าเชื้อ ฮอร์โมนที่สร้างการเจริญเติบโตในสัตว์ และเชื้อปรสิตบางประเภทตกค้างอยู่ซึ่งล้วนเป็นอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่เป็นมะเร็ง

       d. อาหารที่ประกอบด้วยผักสด 80% และน้ำผลไม้ พืชจำพวกหัว เมล็ด ถั่วเปลือกแข็ง และผลไม้จำนวนเล็กน้อย จะช่วยทำให้ร่างกายมีสภาวะเป็นด่าง อาหารอีก 20% อาจได้มาจากการทำอาหารร่วมกับพืชจำพวกถั่ว น้ำผักสดจะให้เอ็นไซม์ซึ่งสามารถดูดซึมได้ง่ายและซึมซาบสู่ระดับเซลภายใน 15 นาที เพื่อบำรุงร่างกายและส่งเสริมการเจริญเติบโตของเซลที่ดี เพื่อให้ได้เอ็นไซม์ในการสร้างเซลที่ดี ให้พยายามดื่มน้ำผักสด (ผักส่วนใหญ่รวมทั้งถั่วที่มีหน่อหรือต้นอ่อน) และรับประทานผักสดดิบ 2-3 ครั้งต่อวัน เอ็นไซม์จะถูกทำลายได้ง่ายที่อุณหภูมิ 140 องศา F (ประมาณ 40 องศา C)

       e. ให้หลีกเลี่ยงกาแฟ น้ำชา และช๊อกโกแลต ซึ่งมีคาเฟอีนสูง ชาเขียวถือเป็นทางเลือกที่ดีและมีคุณสมบัติในการต้านมะเร็ง น้ำดื่มให้เลือกดื่มน้ำบริสุทธิ หรือที่ผ่านการกรองเพื่อหลีกเลี่ยงท๊อกซินและโลหะหนักในน้ำประปา น้ำกลั่นมักมีสภาพเป็นกรด ให้หลีกเลี่ยง

       12. โปรตีนจากเนื้อจะย่อยยาก และต้องการเอ็นไซม์หลายชนิดมาช่วยในการย่อย เนื้อสัตว์ที่ไม่สามารถย่อยได้ในระบบทางเดินอาหารจะเกิดการบูดเน่าและมีความเป็นพิษมากขึ้น

       13. ผนังของเซลมะเร็งจะมีโปรตีนห่อหุ้มไว้ การงดหรือการรับประทานเนื้อสัตว์น้อยลง จะทำให้มีเอ็นไซม์เหลือมากพอมาใช้โจมตีกำแพงโปรตีนที่ห่อหุ้มเซลมะเร็ง และช่วยให้เซลของร่างกายสามารถกำจัดเซลมะเร็งได้ดีขึ้น

       14. สารอาหารบางอย่างอาจช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน (สาร IP6 [inositol hexaphosphate หรือ phytic acid], สาร Flor-essence, สาร Essiac, สารแอนตี้-อ๊อกซิแดนส์, วิตามิน, เกลือแร่, EFAs ฯลฯ) เพื่อช่วยให้เซลของร่างกายสามารถกำจัดเซลมะเร็งได้ดีขึ้น สารอาหารอื่นๆ เช่น วิตามินอี เป็นที่ทราบกันดีว่าทำให้เกิดการตายลงของเซล หรือกำหนดระยะเวลาการตายของเซล ซึ่งเป็นกลไกธรรมชาติของร่างกายในการกำจัดเซลที่ถูกทำลาย ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการ หรือไม่มีประโยชน์ออกไป

       15. มะเร็งเป็นโรคที่สัมพันธ์กับจิตใจ ร่างกาย และจิตวิญญาณ การป้องกันเชิงรุกและการคิดในเชิงบวกจะช่วยให้เราสามารถอยู่รอดจากการทำสงครามกับมะเร็ง.... ความโกรธ การไม่รู้จักให้อภัย และความขมขื่นใจ จะทำให้ร่างกายเกิดความตึงเครียดและมีสภาวะเป็นกรดเพิ่มขึ้น ให้เรียนรู้ที่จะมีความรักและจิตวิญญาณแห่งการให้อภัย เรียนรู้ที่จะผ่อนคลายและมีความสุขกับชีวิต

       16. เซลมะเร็งไม่สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาวะที่มีอ๊อกซิเจนเป็นจำนวนมาก การออกกำลังกายทุกวัน และการหายใจลึกๆ จะช่วยให้ร่างกายได้รับอ๊อกซิเจนเพิ่มขึ้นลงไปจนระดับเซล การบำบัดด้วยอ๊อกซิเจนถือเป็นวิธีการอีกอย่างที่ใช้ในการทำลายเซลมะเร็ง
นี่คือเรื่องที่คุณควรส่งออกไปให้คนที่มีความสำคัญกับชีวิตคุณได้รับรู้รับทราบ