ปวดหลังเรื้อรัง
กับการรักษาแบบแพทย์แผนจีน
中醫治療慢性腰痛
อาการปวดเรื้อรังที่ยอดฮิตติดอันดับเวลาไปพบแพทย์
คือ อาการปวดต้นคอ, ปวดหัวไหล่, ปวดเอว บางคนอาจร่วมด้วยอาการปวดศีรษะไมเกรน
ปวดแขน หรือปวดขา ถ้าไปหาแพทย์แผนปัจจุบัน ก็คงหนีไม่พ้นยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ
ยาแก้ปวดศีรษะไมเกรน บางรายต้องแถมยาป้องกันโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ที่อาจเกิดจากผลอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรือสงสัยจะเกี่ยวข้องกับการกดทับของเส้นประสาทไขสันหลังที่ต้นคอหรือบริเวณเอว
ก็คงต้องพิจารณาการทำกายภาพบำบัดและการผ่าตัดเป็นราย ๆ ไป
ถามว่าถ้าไปหาหมอจีน
ด้วยอาการกล้ามเนื้ออักเสบและมีอาการปวดหลัง
จะตรวจวินิจฉัยและรักษาต่างกันกับแผนปัจจุบันอย่างไร
ลองพิจารณาจากตัวอย่างผู้ป่วยดูซิครับ
สตรีวัย 32 ปี
มาหาแพทย์จีนด้วยอาหารหลังเรื้อรัง มา 2 ปี ตั้งแต่ตั้งครรภ์
ในขณะท้องแก่ใกล้คลอดก็รู้สึกปวดหลังแต่ไม่รุนแรง หลังจากถูกผ่าตัดทำคลอดเอาทารกออกโดยวิธีการฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง
ผู้ป่วยรู้สึกปวดหลัง ปวดเอวมากขึ้น ได้รับการรักษาด้วยยาแก้ปวด
คลายกล้ามเนื้อหลายขนานจากหลายโรงพยาบาลและได้รับทำกายภาพบำบัดมาแล้วหลายครั้ง
อาการไม่ดีขึ้น ซักประวัติเพิ่มเติมทราบว่า ผู้ป่วยเป็นคนขี้หนาวมาก
เวลาอาบน้ำกลางคืนหรืออยู่ในห้องแอร์ หรือดื่มน้ำเย็นจะรู้สึกเย็นระเยือกในร่างกาย
อาการปวดเอวมีลักษณะเมื่อยๆ หนักๆ ร่วมด้วย ตรวจพบลิ้นค่อนข้างซีดและบวมชีพจรเบาอ่อนแรง
อีกรายหนึ่ง เป็นสตรีวัย 62 ปี
มีโรคประจำตัว เป็นเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง มา 10 กว่าปี
ได้รับการดูแลรักษาด้วยยาแผนปัจจุบันมาตลอด มีอาการปวดเมื่อยหลัง นั่งนานไม่ได้
(ไม่เกิน 5 นาที) ตรวจ MRI
พบว่ามีกระดูกสันหลังด้านเอวทรุดไป 3 ข้อ เนื่องจากการหกล้มเมื่อ 2
ปีก่อน ได้รับยาบำรุงกระดูกและยาคลายกล้ามเนื้อมารับประทานแก้อาการปวด
แพทย์ยังไม่แน่ใจว่าการผ่าตัดรักษาจะได้อันตรายหรือได้ผลดีหรือไม่
เนื่องจากผู้ป่วยมีโรคแทรกซ้อนมาก และร่างกายไม่แข็งแรง
(เคยผ่าตัดขาไปข้างหนึ่งเนื่องจากแผลที่เท้าติดเชื้อ
และผู้ป่วยมีโรคเบาหวานเรื้อรัง)
ผู้ป่วยได้ยารับประทานมา 3 เดือนไม่มีอาการอะไรดีขึ้น
อาการปวดเมื่อยก็มากขึ้น ต้องนอนเสียส่วนใหญ่
เวลาจะนั่งหรือเดินไปไหนต้องมีใส่เสื้อเกราะพยุงดึงรั้ง ช่วยตัวเองไม่ได้
จึงตัดสินใจหาหมอจีน ตรวจซักประวัติและดูลิ้นจับชีพจร พบว่าผู้ป่วยเป็นคนหนาวง่าย,
ท้องอืด เบื่ออาหาร ท้องผูก (เคยกินยาช่วยระบาย พอถ่ายท้อง จะมีอาการเหงื่อออก
หมดแรง ต้องส่งโรงพยาบาล)
หมอจีนรักษาโรคปวดหลัง-ปวดเอวอย่างไร
ก่อนอื่นต้องวินิจฉัยแยกแยะ
ภาวะร่างกายของผู้ป่วยแต่ละรายก่อนว่า มีพื้นฐานของร่างกายเป็นอะไร ปัจจัยเกิดโรคมาจากสาเหตุอะไร
ผู้ป่วยทั้ง
2 ราย มีอาการปวดหลังเหมือนกัน แต่ต่างกันในรายละเอียดมาก คนหนึ่งไม่มีโรคเรื้อรัง
อีกคนหนึ่งมีโรคเรื้อรังและอายุมากมีกระดูกทรุดอีกต่างหาก
แต่ข้อเหมือนกันประการหนึ่งของแพทย์แผนจีน
คือ ภาวะร่างกายของทั้ง 2 ราย คือ กลัวความเย็น ร่างกายหนาวง่าย มีปัญหาเรื่องระบบย่อยอาหารที่เย็นพร่อง
อ่อนแอ
ตามหลักการรักษา ผู้ป่วยทั้งสอง
จัดอยู่ในประเภทไตหยางพร่อง腎陽虛
ร่วมกับ หยางของม้ามพร่อง脾陽虛
การรักษาที่สำคัญคือ อุ่นบำรุงหยางของม้ามและไต温補脾陽腎陽 เพื่อให้เกิดความร้อนขึ้นในร่างกาย
เมื่อมีความร้อนการเคลื่อนไหวของเลือดพลังไปส่วนต่างๆจะดีขึ้น มีการกระจายความเย็นในเส้นลมปราณออกไปเสริมการทำงานของระบบย่อย
(ม้าม) เพื่อเพิ่มพลังการย่อยและดูดซึมอาหารเพื่อแปรเปลี่ยนเป็นพลังของร่างกาย
ด้วยยาสมุนไพร กลุ่มบำรุงหยางของไตและม้าม ทำให้กล้ามเนื้อส่วนเอวแข็งแรงขึ้น
เสริมด้วยการฝังเข็มโดยการให้ความร้อนร่วมในบริเวณที่ปวด(การรมยาหรือใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ให้พลังความร้อน)
การรักษาที่ถูกวิธีบนพื้นฐานการวินิจฉัยแยกแยะภาวะร่างกายทาถูกต้อง
เราจะพบผลการรักษาที่สามารถรักษาอาการปวดได้ผลอย่างรวดเร็ว
ที่สำคัญกว่านั้นยังมีผลที่ไปเสริมร่างกายแบบองค์รวม
ไม่มีผลแทรกซ้อนแต่จะไปช่วยให้โรคที่เป็นอยู่ไม่ว่าท้องผูก, ปวดท้อง, เบาหวาน,
ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมี
มีโอกาสลดขนาดและควบคุมได้ยิ่งขึ้น
หลักคิดและวิธีแก้ปัญหาแบบแพทย์แผนจีนคือ
การปรับสภาพร่างกายโดยองค์รวม ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ดีในการสร้างปัจจัยที่เป็นคุณต่อการปรับภาวะความเสียสมดุลต่างๆ
ของร่างกาย
การรักษาแบบควบคุมอาการแบบแผนปัจจุบัน
ถ้าได้เสริมจุดอ่อนข้อนี้จะทำให้การรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ
---------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น