วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

คุณธรรม-จริยธรรมสำหรับนักบริหารที่ดี

คุณธรรม-จริยธรรมสำหรับนักบริหาร
เชี่ยวชาญ  ภาระวงค์

คุณธรรมคืออะไร

คุณธรรม เป็นคำ สมาส มีลักษณะเป็นคำนาม มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน ปี พ.. 2542 หน้า 253 หมายถึง สภาพคุณงามความดี เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ที่ถือครองอยู่เมื่อนำ คำว่าคุณธรรมไปประกอบกับลักษณะนามที่เป็นบุคคล เช่น ครู นักเรียน ข้าราชการ นักธุรกิจคุณธรรม หมายถึง คุณงามความดีที่บุคคลนั้น ๆ มีอยู่ เป็นความดีที่ทำให้ผู้ที่ถือครองอยู่ มีความสงบ มีความสุข และมากด้วยกัลยาณมิตร เนื่องคุณงามความดีที่บุคคลนั้นมีอยู่เป็นสิ่งที่ไม่เกิดโทษ ไม่เป็นผลเสียแก่ผู้ที่ถือครอง ในทางตรงกันข้ามกลับเป็นสภาวะที่ทำให้บุคคลไม่เบียดเบียนตนเอง เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นคุณธรรมจึงเป็นสิ่งที่มีค่า มีประโยชน์ยิ่งสำหรับผู้ที่ถือครอง คำว่าคุณธรรมโดยความหมายแล้วจะมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่าจริยธรรมซึ่งหมายถึงธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม ที่เป็นความดีความงาม เป็นสิ่งที่ควรกระทำ โดยปกติเรามักจะคิดอย่างคนทั่ว ๆ ไป ว่าจริยธรรมและคุณธรรมเป็นสิ่งเดียวกัน คือ เป็นความดีความงามเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ คำสองคำนี้จึงใช้ทดแทนกันในบางครั้ง อย่างไรก็ตามเมื่อนำคำ 2 คำนี้ ไปเทียบเคียงกับภาษาอังกฤษ จะพบว่า คำว่า คุณธรรม จะตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “Merit” ส่วนคำว่า จริยธรรม จะตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “Ethics” เมื่อพิจารณาจากความหมายตามคำ “Merit” เป็นคุณสมบัติภายในของบุคคลแต่ละคน ในทางสังคมวิทยาและจิตวิทยาคุณธรรมเป็นสภาวะที่บุคคลมีอยู่ในตนโดยกำเนิดและโดยการขัดเกลาทางสังคม ที่เป็นสภาวะโดยกำเนิด หมายถึง คุณสมบัติทางจิต ที่บุคคลมีอยู่ตามพื้นฐานของจิต ในทางพุทธศาสนา พื้นฐานของจิตมนุษย์ 2 ลักษณะมักจะถูกกล่าวอ้างบ่อยครั้ง คือ จิตที่ใฝ่ดี กับจิตที่ใฝ่ต่ำคุณธรรมเป็นสภาวะใฝ่ดีของจิตสำหรับ จริยธรรม นักสังคมวิทยาจะมองเป็นบรรทัดฐานประเภทหนึ่ง ที่ถูกสร้างขึ้นมาแล้วนำไปใช้กับบุคคลเป็นแนวทางที่คนในสังคมเห็นพ้องต้องกันว่าเป็นความดี ความงามเป็นสิ่งที่กระทำแล้วคนอื่นเกิดประโยชน์ มีความสุขสงบเกิดขึ้นแก่คนที่อยู่รวมกันเป็นหมู่คณะ โดยนัยนี้ จริยธรรมจึงเป็นสิ่งที่อยู่ภายนอกเป็นเครื่องมือที่ใช้เป็นแนวทางในการสร้างความมีคุณธรรมให้กับบุคคล 

นักบริหาร คือ ใคร

นักบริหาร คือผู้นำองค์การที่มีความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์การ นักบริหารจึงจำเป็นจะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลปแห่งการบริหารที่จะสามารถจูงใจให้ผู้ร่วมงานร่วมดำเนินการอย่างมุ่งมั่นจนบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์การ ดังนั้น การสร้างหรือพัฒนานักบริหารให้ทำหน้าที่เป็นผู้นำหรือผู้บริหารองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นกระบวนการที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาองค์การและประเทศให้รุดหน้าไปได้โดยรวดเร็วและประหยัดในยุคแรก ๆ ที่มีการพัฒนาศาสตร์เกี่ยวกับการจัดการนักบริหารในทัศนะของนักสังคมศาสตร์สาขาการจัดการ หมายถึงผู้ที่วางแผนเกี่ยวกับงาน เงิน เทคโนโลยี และคน เป็นผู้ที่กำหนดโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในองค์การ เป็นผู้ที่ประสานงานให้เกิดความร่วมมือระหว่างสมาชิกในองค์การนักบริหารในยุคแรกไม่จำเป็นต้องปรับตนเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะการแข่งขันมีน้อย เนื่องจากมีผู้ผลิตไม่มาก ทรัพยากรธรรมชาติมีอย่างเหลือเฟือ มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมขององค์การค่อนข้างช้านักบริหารจึงหมายถึง นักจัดการ (Manager) ซึ่งมีหน้าที่จัดการทรัพยากรที่มี (คน เงิน วัตถุดิบ ที่ดิน และ ฯลฯ) ให้สามารถผลิตสินค้าและบริการด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด เป็นบุคคลที่พยายามทำสิ่งต่าง ๆ ให้ถูกต้อง (Managers do thing right) เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุดในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีสภาพแวดล้อมทางธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปมาก อันเนื่องมาจากการเทคโนโลยีการสื่อสารและการจัดระเบียบของประชาคมโลก ส่งผลให้มีการแข่งขันอย่างไร้พรหมแดนสูงมาก องค์การจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ การให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงบทบาทของนักบริหารในฐานะผู้ควบคุมสั่งการ (Director) มาเป็นผู้ให้การสนับสนุน (Facilitator) เปลี่ยนจากการแข่งขันมาเป็นการร่วมมือ (Collaboration) ลดการให้ความสำคัญกับวัตถุมาให้ความสำคัญกับคน และท้ายที่สุดเปลี่ยนแปลงจากความเหมือนมาเป็นความหลากหลายในองค์การการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้องค์การต้องการนักบริหารที่เป็นผู้นำ” (Leader) มากกว่าผู้จัดการ” (Manager) นักบริหารที่เป็นผู้นำ หมายถึง บุคคลที่ทำหน้าที่ทำสิ่งที่ดีที่ถูกต้อง (Leaders do the right thing) ให้กับองค์การ การเป็นผู้บริหารในยุคโลกาภิวัตน์จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีคุณธรรมทั้งนี้เพราะองค์การในยุคสมัยใหม่ (New society) ซึ่งเป็นองค์การที่ใช้ความรู้เป็นพื้นฐาน (Knowledge based organization) มีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา (Learning organization) มุ่งแสวงหาความเป็นเลิศ (In search for excellent) มีความโปร่งใส (Transparent) และมีความเป็นมาตรฐาน (Standardization) การที่ผู้บริหารจะทำให้องค์การประสบความสำเร็จในสังคมสมัยใหม่ได้ จึงจำเป็นที่ต้องใช้คุณธรรมและจริยธรรมพื้นฐานสำคัญ และเป็นสิ่งที่ผู้บริหารจะต้องทำให้เกิดขึ้นเป็นวัฒนธรรมขององค์การตามหลักวิชาการบริหารสมัยใหม่ นักบริหารผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จต้องมีคุณลักษณะที่ดีหลายประการ เช่น มีสุขภาพที่ดี มีประสบการณ์ในงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีความกล้าในการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล มีความอดทน มีความสามารถในการสื่อสารกับผู้ร่วมงานในทุกระดับได้ดี มีมนุษยสัมพันธ์ดีมีบุคลิกภาพดี อ่อนน้อมถ่อมตน มีความจงรักภักดีต่อองค์การ และ ฯลฯ
คุณลักษณะที่ดีหลากหลายประการดังกล่าวนี้ โดยหลักพุทธศาสนา ผู้บริหารหรือนายที่ดีต้องมี ศีล สมาธิ และปัญญา กล่าวคือ เป็นคนที่มีศีลกำกับตัวกำกับใจ เพื่อให้มีความรู้จักผิด ชอบ ชั่ว ดี ทำให้รู้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ การมีสมาธิที่ดี จะทำให้ผู้บริหารมุ่งมั่นในการทำงานได้สำเร็จอย่างมีสติด้วยดีและรวดเร็ว การใช้ปัญญาหรือความรอบรู้ที่ชอบด้วยเหตุและผลอันกว้างไกล ทำให้สามารถแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้ดีกว่าคู่แข่ง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อความอยู่รอด ความมั่นคง และการพัฒนาองค์การอย่างมีประสิทธิภาพในท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็วและรุนแรง นอกจากนี้หลักการของศาสนาอื่น ๆ ก็สมควรจะนำมาใช้ได้ในบริบทของแต่ละศาสนา เช่นเดียวกับพุทธศาสนา
หลักพื้นฐานในส่วนหน้าที่เฉพาะของผู้บริหาร 5 ประการตามที่ศาสตราจารย์ ปีเตอร์ ดรักเกอร์ ได้วางไว้ประกอบด้วย
    1. เป็นผู้กำหนดเป้าหมาย
    2. จัดตั้งองค์การและวางระเบียบปฏิบัติให้เหมาะสม
    3. กระตุ้นให้พนักงานทำงานด้วยการสื่อสารภายในระหว่างผู้บริหารกับพนักงาน
    4. ติดตามวัดผลในสิ่งที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายหรือต้องแก้ไข
    5. พัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้บริหารเองด้วย
และเมื่อผู้บริหารท่านนั้นเป็นผู้บริหารที่เป็น CEO หรือผู้บริหารระดับสูง จะมีหน้าที่เฉพาะเพิ่มขึ้นอีก 6 ประการ คือ
    1. เป็นผู้กำหนดพันธกิจขององค์การให้ชัดเจน
    2. วางมาตรฐานในการปฏิบัติงาน
    3. ดูแลการจัดระเบียบทรัพยากรณ์มนุษย์
    4. พัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานภายนอก
    5. รับใช้สังคมหรือมีบทบาททางสังคมอื่น ๆ
    6. เลือกจับงานสำคัญในจังหวะเวลาที่เหมาะสม

การสร้างจริยธรรมเป็นวัฒนธรรมขององค์การ

ศัพท์ที่เรามักจะได้ยินบ่อยในวงของกลุ่มนักบริหาร คงไม่เกิน คำว่า ธรรมาภิบาลหรือ Good Governance ซึ่งหมายถึง การบริหารองค์การหรือประเทศโดยตั้งมั่นอยู่ในความดีงาม ความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ ประเมินคุณภาพได้ หลักการ ธรรมาภิบาลจึงเป็นหลักการของการสร้างจริยธรรมในองค์การ โดยการใช้ธรรมาธิปไตยในการบริหาร ซึ่งหมายถึง การยึดถือธรรมและความสำเร็จของงานเป็นที่ตั้ง ผู้บริหารลักษณะนี้จะยินดีรับฟัง คำแนะนำจากทุกฝ่าย ใช้คนทั้งที่เป็นมิตรและศัตรู ยอมรับความผิดพลาดของตนเอง ใช้ทั้งพระเดชและพระคุณในการบริหารคนเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายผู้บริหารแบบนี้จะแสดงบทบาทของผู้ให้บริการ (Stewardship) แก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา โดยสนับสนุนแนวคิดที่ว่า ผู้บริหารที่ดีต้องรับผิดและชอบ (Accountability) ต่อผู้อื่นและองค์การ ไม่ปรารถนาจะควบคุมผู้อื่นในลักษณะของเผด็จการ รู้จักกำหนดบทบาทและเป้าหมายที่ชัดเจน และดูแลผู้อื่นด้วยความใส่ใจ สิ่งสำคัญที่สุดของผู้บริหารประเภทนี้คือ ต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติ (Double Standard) คือคิดอย่าง พูดอย่างแล้วทำอีกอย่าง ดั่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเตือนหมู่ข้าราชการ นักธุรกิจ และประชาชนชาวไทยทั่วประเทศ เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนม์พรรษา วันที่ 4 ธันวาคม 2544 ผู้บริหารที่เป็นผู้นำที่ดีจึงเป็นต้นแบบสำคัญในการสร้างจริยธรรมคุณธรรมให้กับสมาชิกในองค์การ องค์การจะมีวัฒนธรรมที่มีจริยธรรมหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการมีจริยธรรมคุณธรรมของผู้บริหาร

คุณธรรมอะไรบ้างที่ผู้บริหารควรมี
คุณธรรมของบุคคลในสังคม

               ตามความเป็นจริงของสังคม ผู้บริหารต้องเป็นบุคคลที่มีความสามารถในหลายด้านที่เหนือกว่าคนทั่วไปดังนั้นผู้บริหารจึงต้องเป็นคนดีของสังคม และเกือบทุกสังคมจะยึดหลักการของศาสนามาเป็นพื้นฐานของความดีความงามในการอยู่ร่วมกัน แต่ในหลายกรณีก็อาจมีการปลูกฝังคติธรรมของสังคมโดยไม่ยึดโยงกับศาสนาโดยตรง เช่น ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นชนชาติที่มีจริยธรรมสูงมากประเทศหนึ่ง ปลูกฝังคติธรรม ตั้งแต่เด็กอย่างน้อยที่สุด 7 ประการ เพื่อให้เกิด การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมซึ่งเป็นคุณธรรมที่สูงกว่าความซื่อสัตย์สุจริต คือ
                   • การมีสัจจะ ต้องพูดความจริง (Truth)
                   • มีความซื่อสัตย์สุจริต (Honesty)
                   • มีความรับผิดชอบในหน้าที่ (Sense of Duty)
                   • มีความอดกลั้น (Patience)
                   • มีความเป็นธรรม (Fair Play)
                   • มีการเข้าใจผู้อื่น รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Consideration for Others)
                   • มีความเมตตา (Kindness)
           คุณธรรมจริยธรรมส่วนใหญ่สำหรับคนไทยจะเกิดจากการประยุกต์เอาคำสอนในพระพุทธศาสนาเป็นหลัก ผู้บริหารเป็นบุคคลธรรมดาที่มีครอบครัว จึงเป็นฆราวาสที่มีภาระหน้าที่รับผิดชอบต่อครอบครัวและสังคมให้มีความเป็นปกติสุข ดังนั้นจึงสมควรอย่างยิ่งที่นักบริหารต้องสนใจศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมของฆราวาสเป็นเบื้องต้น เพื่อบริหารครอบครัวและบริหารองค์การให้บรรลุเป้าหมายทั้งที่เป็นส่วนตัว องค์การ และสังคมโดยรวม

           ฆราวาสธรรม 4 (Virtues for a good Household life ; Virtues for Lay people) เป็นธรรมสำหรับผู้ครองเรือน ประกอบด้วย
               สัจจะ (Truth and Honesty) คือ ความจริง ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริงทำจริง - เน้นการมีศีล
               ทมะ (Taming and Traing Oneself ; Adjustment) คือ การฝึกฝน การข่มใจ ฝึกหัดดัดนิสัยปรับตัว แก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงตนให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา - เน้นการมีใช้ปัญญา
               ขันติ (Tolerance ; Forbearance) คือ ความอดทน ตั้งหน้าทำการงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง ไม่หวั่นไหว มั่นในจุดหมายไม่ท้อถอย - เน้นความเพียร
               จาคะ (Liberality ; Generosity) คือ ความเสียสละ สละความสุขสบายและผลประโยชน์ส่วนตัวได้ ใจกว้าง พร้อมที่จะรับฟัง ความทุกข์ ความคิดเห็น และความต้องการของผู้อื่นพร้อมที่จะร่วมมือช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่คับแคบเห็นแก่ตน หรือเอาแต่ใจตัว - เน้นการเสียสละ
           ธรรมทั้ง 4 ประการนี้ ผู้ครองเรือนทุกคนจำเป็นต้องฝึกปฏิบัติให้เป็นนิสัย เพื่อป้องกันตนเองจากการทุจริตคิดมิชอบ โดยมีจิตใจที่มั่นคงไม่หวั่นไหวไปตามกิเลสตัณหา และมีหิริโอตัปปะ ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป การจะประพฤติปฏิบัติให้ได้ผล บุคคลจะต้องรักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์ และมีการเตือนสติด้วยการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ จึงจะมีปัญญาความรู้ในการพัฒนาจิตใจของตนเองสู่การเป็นฆราวาสโดยสมบูรณ์สำหรับผู้บริหารควรต้องมีธรรมะที่สูงกว่าฆราวาสธรรม อันนำไปสู่ความสำเร็จในการควบคุมตนเองคือ สัปปุริสธรรม (Qualities of a good man ; Virtues of a Gentleman) ซึ่งก็คือธรรมะสำหรับสัตบุรุษ หรือผู้สงบระงับ หรือธรรมะของผู้ดี ประกอบด้วย
               ธัมมัญญุตา (Knowing the law ; Knowing the cause) แปลว่า รู้จักธรรมชาติและรู้จักเหตุ หมายความว่า รู้หลักตามจริงของธรรมชาติ รู้หลักการ กฎเกณฑ์ แบบแผน หน้าที่ ซึ่งจะเป็นเหตุให้กระทำการได้สำเร็จผลตามความมุ่งหมาย
               อัตถัญญุตา (Knowing the meaning ; Knowing the purpose ; Knowing the Consequence) แปลว่า รู้ความมุ่งหมายและรู้จักผล หมายความว่า รู้ความหมายและความมุ่งหมาย และ รู้ผลที่ประสงค์ของกิจที่กระทำ
               อัตตัญญุตา (Knowing oneself) แปลว่า รู้จักตน หมายความว่า รู้ฐานะ ภาวะ เพศ กำลังความรู้ ความถนัด ความสามารถและคุณธรรม ของตนตามจริง เพื่อประพฤติปฏิบัติได้เหมาะสมและให้เกิดผลดี
               มัตตัญญุตา (Moderation ; Knowing how to be temperate) แปลว่า รู้จักประมาณ หมายความว่า รู้จักความพอเหมาะพอดี
               กาลัญญุตา (Knowing the proper time ; Knowing how to choose and keep time) แปลว่า รู้จักกาล หมายความว่า รู้ว่าเวลาไหน ควรทำอะไร
               ปริสัญญุตา (Knowing the assembly ; Knowing the society) แปลว่า รู้จักชุมชน หมายความว่า รู้จักถิ่น รู้จักมารยาท ระเบียบวินัย ขนบธรรมเนียม ประเพณี และข้อควร
ปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม
               ปุคคลัญญุตา (Knowing the individual ; Knowing the different individuals) แปลว่า รู้จักบุคคล หมายความว่า รู้จักความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยอัธยาศัย ความสามารถและคุณธรรม เพื่อปฏิบัติต่อผู้นั้นโดยถูกต้อง
           ธรรมะชุดนี้สามารถท่องจำได้ง่าย ๆ ว่า รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักกาล รู้จักบริษัทรู้จักบุคคล ซึ่งเมื่อมีความรู้ถูกต้องในสิ่งเหล่านี้แล้ว ไม่มีทางที่จะทำอะไรผิดหรือล้มเหลว มีแต่ตจะสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่ตนเองและผู้อื่น
           ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุเคยบรรยายธรรมที่น่าสนใจว่า ธรรมชีวี คือ การมีความประพฤติการกระทำที่เป็นธรรมะอยู่กับเนื้อกับตัว เป็นชีวิตจิตใจนั่นแหละมีธรรมเป็นชีวิต จะมีความถูกต้องอยู่ตลอดกาล ดังนั้นการดำเนินชีวิตอย่างฆราวาสด้วยระบบธรรมชีวีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งที่สามารถป้องกันการเป็นฆราวาสประเภทจมปลักอยู่ใน อบายมุข 6 ซึ่งเป็นปากทางแห่งความทุกข์ อันได้แก่
               ดื่มน้ำเมา ที่นำสู่การขาดสติรับผิดชอบ บทบาทหน้าที่ในครอบครัวการงานและสังคม
               เที่ยวกลางคืน ที่จะกระตุ้นความรู้สึกของอายตนะ 6 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ให้หลงไปสู่ความเสื่อมทั้งการงานและสุขภาพ
               ดูการเล่น เพลิดเพลินในการแสดง จนเป็นเหตุให้สูญเสียทั้งเวลาและเงินทอง
               เล่นการพนัน ซึ่งมีลักษณะที่ท่านกล่าวว่า เหมือนผีสิง คือทำให้หลงเพลิดเพลินเล่นการพนันเสียจนทำให้ยากจนยิ่งกว่า หมดเนื้อหมดตัว
               คบเพื่อนชั่ว ที่จะชักนำให้ประกอบกิจกรรมของความชั่ว ความไม่ดีตามกลุ่มดังคติ คบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล
               เกียจคร้านการงาน เป็นเรื่องตรงกันข้ามกับการทำงานคือ การปฏิบัติธรรม ที่มีแต่จะนำไปสู่ความอ่อนด้วยทั้งสติ ปัญญา และประสบการณ์
              อบายมุขทั้ง 6 ข้อ ดังกล่าวจะนำไปสู่ความยากจน ขัดสน การเบียดเบียนตนเองและผู้ที่อยู่รอบข้างตลอดจนความเสื่อมทางสุขภาพอนามัย อันเป็นต้นเหตุของความทุกข์ในครอบครัว และหากเป็นผู้บริหารที่ติดอยู่ในอบายมุขดังกล่าว ย่อมง่ายต่อการที่จะก้าวไปสู่การกระทำทุจริตคิดมิชอบเพื่อให้ตัวเองคงอยู่ได้
           หลักธรรมของพุทธศาสนายังมีความละเอียดลึกซึ้ง เพื่อนำไปสู่การประพฤติดี ประพฤติชอบ
กล่าวคือ หน้าที่รับผิดชอบของมนุษย์โดยตรงต่อ ทิศทั้ง 6” ซึ่งพระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า เป็นทิศที่จะต้องดูแล อย่าให้มีอะไรบกพร่อง เพื่อปิดกั้นทุกข์ที่จะเกิดขึ้น ได้แก่
               ทิศเบื้องหน้า คือ บิดา มารดา ที่กุลบุตรกุลธิดา ต้องสงเคราะห์เพื่อตอบแทนพระคุณอย่างสูงสุด
               ทิศเบื้องหลัง คือ บุตร ภรรยา ที่จะต้องดูแล ส่งเสริมให้มีความสุขและความเจริญในสังคม
               ทิศเบื้องซ้าย คือ มิตรสหาย ที่จะต้องเกื้อกูลและพัฒนาไปสู่การเป็นกัลยาณมิตร
               ทิศเบื้องขวา คือ ครูบาอาจารย์ ที่จะต้องตอบแทนท่านด้วยความเคารพ เชื่อฟังและกตัญญู
               ทิศเบื้องบน คือ สมณะ ที่ต้องปฏิบัติต่อท่านให้เหมาะสม เพื่อที่จะได้เผยแพร่ ธรรมะ ให้ฆราวาสได้มีปัญญา ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามหลักพุทธศาสนา
               ทิศเบื้องล่าง คือ ผู้ที่มีฐานะต่ำกว่า คือ ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ที่ผู้บริหารจะต้องรับผิดชอบ ดูแลให้ได้ทั้งใจและงาน
           ดังนั้น จะเห็นได้ว่าผู้ที่ไม่บกพร่องหรือปฏิบัติอย่างดีในการดูแล ทิศทั้ง 6 ดังกล่าว ย่อมจะห่างไกลจากปัญหาแห่งความทุกข์ ความเสื่อมเสียทั้งในที่แจ้งหรือที่ลับ ในการป้องกันนักบริหารจาก อบายมุข 6 และบำรุงทิศทั้ง 6 ได้อย่างสมบูรณ์นั้น ต้องประกอบด้วยหลักธรรมหรือแนวปฏิบัติอื่น ๆ อีก


วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย (Gegne's eclecticism)

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย (Gegne's eclecticism)

     บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง 52 (http://dontong52.blogspot.com/) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฏีนี้ไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย (Gagne)
      1) ประเภทการเรียนรู้เป็นลำดับขั้นตอน ง่ายไปหายาก 8 ประเภท
        - การเรียนรู้สัญญาณ
        - การเรียนรู้สิ่งเร้า การตอบสนอง
        - การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง
        - การเชื่อมโยงทางภาษา
        - การเรียนรู้ความแตกต่าง
        - การเรียนรู้ความคิดรวบยอม
        - การเรียนรู้กฎ
        - การเรียนรู้การแก้ปัญหา
     2) การเยได้แบ่งสมรรถภาพการเรียนรู้ไว้ 5 ประการ
        - สมรรถภาพในการเรียนรู้ข้อเท็จจริง
        - ทักษะเชาว์ปัญญา
        - ยุทธศาสตร์ในการคิด
        - ทักษะการเคลื่อนไหว
        - เจตคติ
          
         ณัชชากัญญ์  วิรัตนชัยวรรณ ( http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486ได้รวบรวมและสรุปเกี่ยวกับทฤษฏีนี้ไว้ว่า แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  ความรู้มีหลายประเภท  บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง  บางประเภทมีความซับซ้อนมาก  จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด ขั้น  ดังนี้ 
    ขั้นที่  สร้างความสนใจ(Gaining attention) 
    ขั้นที่  แจ้งจุดประสงค์(Informing the learning) 
    ขั้นที่  3  กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating recall of prerequisite learned capabilities) 
    ขั้นที่  เสนอบทเรียนใหม่(Presenting the stimulus) 
    ขั้นที่  ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing learning guidance) 
    ขั้นที่  ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting the performance) 
    ขั้นที่  ให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback) 
    ขั้นที่  ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(Assessing the performance) 
    ขั้นที่  9  ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้(Enhancing retention and transfer)
          
          Dr.Surin (http://surinx.blogspot.com/ ) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฏีนี้ไว้ว่า กานเย (Gagne) เป็นนักจิตวิทยาและนักการศึกษาในกลุ่มผสมผสานระหว่างพฤติกรรมนิยมกับพุทธนิยม (Behavior Cognitivist) เขาอาศํยทฤษฎีและหลักการที่หลากหลาย เนื่องจากความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้งบางประเภทมีความวับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง กานเย่ได้จัดขั้นการเรียนรู้ซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายาก โดยผสมผสานทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม และพุทธนิยมเข้าด้วยกัน  หลักการเรียนรู้ที่สำคัญของกานเย สรุปดั้งนี้ 
          1.กานเย (Gagne) ได้จัดประเภทของการเรียนรู้ เป็นลำดับขั้นจากง่ายไปหายากไว้ 8 ประเภท ดังนี้
           1.1 การเรียนรู้สัญญาน(signal-learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นไปโดยอัติโนมัติ อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ ผู้เรียนไม่สามารถบังคับพฤติกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นได้ การเรียนรู้แบบนี้เกิดจากการที่คนเรานำเอาลักษณะการตอบสนองที่มีอยู่แล้วมาสัมพันธ์กับสิ่งเร้าใหม่ที่มีความใกล้ชิดกับสิ่งเร้าเดิม การเรียนรู้สัญญาน เป็นลักษณะการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขของพาฟลอฟ
           1.2 การเรียนรู้สิ่งเร้า-การตอบสนอง(stimulus-response)เป็นการเรียนรู่ต่อเนื่องจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง แตกต่างจากการเรียนรู้สัญญาน เพราะผู้เรียนสามารถควบคุมพฤติกรรมตนเองได้ ผู้เรียนแสดงพฤติกรรม เนื่องจากได้รับแรงเสริม การเรียนรู้แบบนี้เป็นการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงของธอร์นไคด์ และการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข (operant conditioning) ของสกินเนอร์ซึ่งเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นสิ่งท่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำเองมิใช่รอให้สิ่งเร้าภายนอกมากระทำพฤติกรรมที่แสดงออกเกิดจากสิ่งเร้าภายในของผู้เรียนเอง

           1.3 การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง (chaining) เป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและกาตอบสนองที่ต่อเนื่องกันตามลำดับ เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ การเคลื่อนไหว
           1.4 การเชื่อมโยงทางภาษา (verbal association) เป็นการเรียนรู้ในลักษณะคล้ายกับการเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง แต่เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษา การเรียนรู้การรับสิ่งเร้า-การตอบสนอง เป็นพื้นฐานของกาเรียนรู้แบบต่อเนื่องและการเชื่อมโยงทางภาษา

           1.5 การเรียนรู้ความแตกต่าง (discrimination learning) เป็นการเรียนรู้ทีผสมผสานสามารถมองเห็นความแตกต่างของสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะความแตกต่างตามลักษณะของวัตถุ
           1.6 การเรียนรู้ความคิดรวบยอด (concept learning) เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถจัดกลุ่มสิ่งเร้าที่มีความเหมือนหรือแตกต่างกัน โดยสามารถระบุลักษณะที่เหมือนหรือแตกต่างกันได้ พร้อมทั้งสามารถขยายความรู้ไปยังสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากทีเคยเห็นมาก่อนได้
           1.7 การเรียนรู้กฎ (rule learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการรวมหรือเชื่อมโยงความคิดรวบยอดตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป และตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น การที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้กฎเกณฑ์จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำการเรียนรู้นั้นไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆกันได้     1.8 การเรียนรู้การแก้ปัญหา (problem solving) เป็นการเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหา โดยการนำกฎเกณฑ์ต่างๆ มาใช้ การเรียนรู้แบบนี้เป็นกระบวนการที่เกิดภายในตัวผู้เรียน เป็นการใช้กฎเกณฑ์ในขั้นสูงเพื่อการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อน และสามารถนำกฎเกณฑ์ในการแก้ปัญหานี้ไปใช้กับสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันได้
         2. กานเยได้แบ่งสมรรถภาพการเรียนรู้ของมนุษย์ไว้ 5 ประการ ดังนี้ 

          2.1 สมรรถภาพในการเรียนรู้ข้อเท็จจริง (verbal information) เป็นความสามรถในการเรียนรู้ข้อเท็จจริงต่างๆ โดยอาศัยความจำและความสามารถระลึกได้
          2.2 ทักษะเชาว์ปัญญา (intellectual skills) หรือทักษะทางสติปัญญา เป็นความสามารถในการใช้สมองคิดหาเหตุผล โดยใช้ข้อมูล ประสบการณ์ ความรู้ ความคิดในด้านต่างๆ นับตั้งแต่การเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นทักษะง่ายๆไปสู่ทักษะที่ยากสลับซับซ้อนมากขึ้น ทักษะเชาว์ปัญญาที่สำคัญที่ควรได้รับการฝึกคือ ความสามรถในการจำแนก (discrimination) ความสามารถในการคิดรวบยอกเป็นรูปธรรม (concrete concept) ความสามรถในการให้คำจำกัดความของความคิดรวบยอด (defined concept) ความสามารถในการเข้าใจกฎและใช้กฎ (rules) และความสามารถในการแก้ปัญหา (problem solving)
           2.3 ยุทธศาสตร์ในการคิด (cognitive strategies) เป็นความสามารถของกระบวนการทำงานภายในสมองของมนุษย์ ซึ่งควบคุมการเรียนรู้ การเลือกรับรู้ การแปลความ และการดึงความรู้ ความจำ ความเข้าใจ และประสบการณ์เดิมออกมาใช้ ผู้มียุทธศาสตร์ในการคิดสูง จะมีเทคนิค มีเคล็ดลับในการดึงความรู้ ความจำ ความเข้าใจ และประสบการณ์เดิมออกมใช้อย่างมีประสิทธิภาพ สามรารถแก้ปัญหาที่มีสถานการณ์ที่แตกต่างได้อย่างดี รวมทั้งสามารถแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างสร้างสรรค์
          2.4 ทักษะการเคลื่อนไหว (motor skills) เป็นความสามารถ ความชำนาญในการปฏิบัติหรือการใช้อวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายในการทำกิจกรรมต่างๆ ผู้ที่มีทักษะการเคลื่อนไหวที่ดีนั้น พฤติกรรมที่แสดงออกมาจะมีลักษณะรวดเร็ว คล่องแคล่ว และถูกต้องเหมาะสม
          2.5 เจตคติ(attitudes) เป็นความรู้สึกนึกคิดของบุคคลที่มีต่อสิ่งต่างๆ ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจของบุคคลนั้นในการที่จะเลือกกระทำหรือไม่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
           
      สรุป  ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย (Gegne's eclecticism) แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  ความรู้มีหลายประเภท  บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง  บางประเภทมีความซับซ้อนมาก  จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง หลักการเรียนรู้ที่สำคัญของกาเย สามารถสรุปได้ดังนี้ 
       1) ประเภทการเรียนรู้เป็นลำดับขั้นตอน ง่ายไปหายาก 8 ประเภท
         - การเรียนรู้สัญญาณ  (signal-learning) 
         - การเรียนรู้สิ่งเร้า การตอบสนอง 
 (stimulus-response) 
         - การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง 
 (chaining) 
         - การเชื่อมโยงทางภาษา
 (verbal association) 
         - การเรียนรู้ความแตกต่าง
 (discrimination learning)  
         - การเรียนรู้ความคิดรวบยอม
 (concept learning) 
         - การเรียนรู้กฎ
 (rule learning) 
         - การเรียนรู้การแก้ปัญหา
  (problem solving) 
       2) การเยได้แบ่งสมรรถภาพการเรียนรู้ไว้ 5 ประการ

          - สมรรถภาพในการเรียนรู้ข้อเท็จจริง  (verbal information) 
          - ทักษะเชาว์ปัญญา 
 (intellectual skills) 
          - ยุทธศาสตร์ในการคิด 
 (cognitive strategies) 
          - ทักษะการเคลื่อนไหว 
 (motor skills) 
          - เจตคติ
 (attitudes)


    ที่มา
        1. บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง 52. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย (Gegne's eclecticism). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://dontong52.blogspot.com/ . วันที่สืบค้นข้อมูล : 8 กรกฏาคม 2555.
        2. ณัชชากัญญ์  วิรัตนชัยวรรณทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย (Gegne's eclecticism). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486. วันที่สืบค้นข้อมูล : กรกฏาคม 2555.
       3. Dr.Surin.  ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย (Gegne's eclecticism) . (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://surinx.blogspot.com/ . วันที่สืบค้นข้อมูล : 8 กรกฏาคม 2555.

องค์ประกอบของการเรียนการสอนแบบผสมผสาน

องค์ประกอบของการเรียนการสอนแบบผสมผสาน    
เชี่ยวชาญ ภารวงะค์     
     คาร์แมน (Jared M. Carman, 2002 ) จำแนกองค์ประกอบของการเรียนการสอนแบบผสมผสานออกเป็น 5 ส่วน ประกอบด้วย
         1. เป็นเหตุการณ์สด (Live Events)  การประสานเวลา กิจกรรมการเรียนรู้ที่นำโดยผู้สอนโดยผู้เรียนมีส่วนร่วมในเวลาเดียวกัน เช่น การเรียนในห้องเรียนเสมือนแบบสดตามองค์ประกอบนี้ John Keller’s ARCS Model ซึ่งประกอบด้วย การสร้างแรงจูงใจ (Attention) ความตรงประเด็น(Relevance) ความมั่นใจ (Confidence) และความพึงพอใจ (Satisfaction) ได้ถูกนำมาในการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อสนับสนุนความสด (Live) ในการจัดการเรียนรู้
         2. กิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนประสบผลสำเร็จด้วยตนเองเป็นรายบุคคล (Self-paced learning) เป็นการเรียนรู้ตามความสามารถของตนเอง ด้วยอัตราเร็วในการเรียนและระยะเวลาที่เรียนตามความพึงพอใจของผู้เรียน เช่น เรียนจากอินเทอร์เน็ต หรือจากซีดีรอมเพื่อการฝึกอบรม
         3. เป็นสภาพแวดล้อมที่ผู้เรียนมีการร่วมมือกับผู้อื่น (Collaboration) ได้แก่ การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การใช้บอร์ดแสดงความคิดเห็น หรือการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต การร่วมมือกันนี้ประกอบด้วยการร่วมมือกันระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
         4. การประเมิน (Assessment) โดยมีการประเมินก่อนเรียน ระหว่างเรียนและหลังเรียนเพื่อวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียน แนวคิดที่นำมาใช้ในการประเมินได้เป็นอย่างดี ก็คือ การวัดผลการเรียนรู้ 6 ขั้นของบลูม(Bloom, 1956) อันได้แก่ ขั้นความรู้ความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่า
         5. สิ่งอำนวยความสะดวก สนับสนุนการเรียน (Performance support materials)  ซึ่งรวมถึงวัสดุที่ใช้ในการอ้างอิงทั้งแบบเสมือนและของจริง FAQ (คำถามที่ถูกถามบ่อย) และบทสรุป โดยสิ่งเหล่านี้ช่วยให้เกิดการคงทนของการเรียนรู้         แก่นแท้ของการผสมผสานก็คือ วิธีการเรียนการสอนทั้งแบบออนไลน์และในชั้นเรียนนั้น เป็นเพียงแค่วิธีการ ผู้เรียนเรียนรู้จากยุทธศาสตร์ที่ผู้สอนนำมาใช้ในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิ ภาพผ่านเทคโนโลยี สิ่งสำคัญที่จะต้องพิจารณาในการผสมผสานก็คือ การจัดสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้แบบผสมผสาน จะต้องพิจารณาวัตถุประสงค์เป็นหลัก องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนแบบผสมผสานประกอบด้วย
        1. ผู้เรียน (Audience) โดยพิจารณาว่าผู้เรียนได้เรียนรู้อะไร และระดับความรู้ต่างกันเพียงใด ผู้เรียนมาเรียนด้วยความตั้งใจหรือต้องมาเรียน
        2. เนื้อหา (Content) เนื้อหาบางอย่างเหมาะกับการเรียนแบบออนไลน์ บางอย่างมีความซับซ้อน จึงควรต้องเลือกว่าจะนำมาสอนแบบไหน
        3. โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) หากมีข้อจำกัดในด้านสถานที่ ก็จำเป็นที่ต้องจัดการเรียนแบบออนไลน์ หากการเรียนนั้นไม่มีความจำเป็นต้องมีการเกี่ยวโยงกับภายนอกมากนัก ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องจัดการเรียนแบบออนไลน์ (Singh and Reed, 2001)

วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Blended learning การเรียนรู้แบบผสมผสาน

Blended learning การเรียนรู้แบบผสมผสาน


เชี่ยวชาญ ภาระวงค์

      เบล็นเด็ด เลินนิ่ง หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ ที่ผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ผสมผสานกับการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ผู้เรียนผู้สอนไม่เผชิญหน้ากัน หรือการใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลาย กระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมเกิดขึ้นจากยุทธวิธี การเรียนการสอนที่หลากรูปแบบ เป้าหมายอยู่ที่การให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้เป็นสำคัญ
      การสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบผสมผสานนั้น ผู้สอน สามารถใช้วิธีการสอน สองวิธีหรือมากกว่า ในการเรียนการสอน เช่น ผู้สอนนำเสนอเนื้อหาบทเรียนผ่านเทคโนโลยีผนวกกับการสอนแบบเผชิญหน้า แต่หลังจากนั้นผู้สอนนำเนื้อหาบทความแขวนไว้บนเว็บ จากนั้นติดตามการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้อีเลินนิ่ง ด้วยระบบแอลเอ็มเอส (Learning Management System ) ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องแล็บ หลังจากนั้นสรุปบทเรียน ด้วยการอภิปรายร่วมกับอาจารย์ผู้สอนในห้องเรียน
      "Blended learning เป็นสิ่งสำคัญของการศึกษาและเทคโนโลยี ,blended learning มีการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว,เป็นการบูรณาการระหว่างการเรียนในชั้น เรียนและการเรียนแบบออนไลน์,สามารถช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและ การใช้เวลาในชั้นเรียนได้เหมาะสม"


การเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning)

   การเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning)การเรียนแบบผสมผสาน เป็นการรวมกันหรือนำสิ่งต่างๆมาผสม โดยที่สิ่งที่ถูกผสมนั้น คือ
     - รวม รูปแบบการเรียนการสอน
     - รวม วิธีการเรียนการสอน
     - รวม การเรียนแบบออนไลด์ และรูปแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียนการเติบโตของการเรียนแบบผสมผสานตั้งแต่ อดีต ปัจจุบันและอนาคตการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยในอดีตนั้น การเรียนแบบผสมผสานคือส่วนที่ได้มีการรวมเข้าหากันจาก 2 รูปแบบสภาพแวดล้อมของการเรียนแบบเดิม นั้นก็คือ การเรียนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียนกับ การเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งในอดีตนั้นการเรียนทั้ง 2 รูปแบบจะมีช่องว่างหรือระยะห่างระหว่างกันค่อยข้างมาก คือจะมีการจัดการเรียนการสอนเฉพาะของตัวเองมีรูปแบบ และการดำเนินการในรูปแบบที่ต่างกันเพราะว่าต่างก็ใช้สื่อและเครื่องมือที่ แตกต่างกัน และมีสถานที่ในการเรียนที่แตกต่างกันเพราะมีกลุ่มผู้เรียนที่ต่างกันด้วย แต่ในขณะเดียวกันนั้นการเรียนแบบทางไกลก็กำลังมีการเติบโตและแผ่ขยายอย่าง รวดเร็วซึ่งได้เข้ามาในรูปของเทคโนโลยีใหม่ ที่มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่การเรียนแบบออนไลน์นั้นจะมีการแผ่ขยายเข้ามา สู่การเรียนในชั้นเรียนอย่างรวดเร็วในปัจจุบันการเรียนแบบออนไลน์นั้นได้ เข้ามามีส่วนร่วมในการติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ร่วมในการเรียนการสอนใน ชั้นเรียนเกิดเป็นการเรียนแบบผสมผสานขึ้นมาซึ่งคาดว่าในอนาคตนั้นการเรียน แบบผสมผสานจะมีการขยายตัวที่มากขึ้นตามรูปแบบการเรียนแบบออนไลน์ที่จะมีการ เติบโตขึ้นมากกว่าปัจจุบัน จึงส่งผลให้การเรียนแบบผสมผสานนั้นมีการขยายวงกว้างออกไปจากเดิมยิ่งขึ้นอีก ด้วย

ข้อดี-ข้อเสีย 
    การเรียนแบบผสมผสานสรุป Blended Learning การเรียนการสอนแบบผสมผสาน ความหมายและความสำคัญ
         1. การเรียนแบบผสมผสาน (blended learning) เป็นการเรียนที่ใช้กิจกรรมที่ต้องออนไลน์และการพบปะกันในห้องเรียนจริง (hybrid) โดยใช้สื่อที่มีความหลากหลายเหมาะกับบริบทและสถานการณ์ การเรียนรู้ เพื่อตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
         2. การเรียนแบบผสมผสาน เป็นการรวมกันหรือนำสิ่งต่าง ๆ มาผสม โดยที่สิ่งที่ถูกผสมนั้น การเรียนอาจจะเรียนในห้องเรียน 60% เรียนบนเว็บ 40% ไม่ได้มีกฎตายตัวว่าจะต้องผสมผสานกันเท่าใด เช่น- รวม รูปแบบการเรียนการสอน- รวม วิธีการเรียนการสอน- รวม การเรียนแบบออนไลน์ และรูปแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน
         3. การเรียนแบบผสมผสาน (Blended learning) การเติบโตของการเรียนแบบผสมผสานตั้งแต่อดีต ปัจจุบันและอนาคตการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยในอดีตนั้น การเรียนแบบผสมผสานคือส่วนที่ได้มีการรวมเข้าหากัน จาก 2 รูปแบบ
          3.1 สภาพแวดล้อมของการเรียนแบบเดิม นั้นก็คือ การเรียนแบบเผชิญหน้าในชั้นเรียน
          3.2 การเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งในอดีตนั้นการเรียนทั้ง 2 รูปแบบจะมีช่องว่างหรือระยะห่างระหว่างกันค่อยข้างมาก คือจะมีการจัดการเรียนการสอนเฉพาะของตัวเองมีรูปแบบ และการดำเนินการในรูปแบบที่ต่างกันเพราะว่าต่างก็ใช้สื่อและเครื่องมือที่ แตกต่างกัน และมีสถานที่ในการเรียนที่แตกต่างกันเพราะมีกลุ่มผู้เรียนที่ต่างกันด้วย แต่ในขณะเดียวกันนั้นการเรียนแบบทางไกลก็กำลังมีการเติบโตและแผ่ขยายอย่าง รวดเร็ว ซึ่งได้เข้ามาในรูปของเทคโนโลยีใหม่ ที่มีความเป็นไปได้อย่างสูงที่การเรียนแบบออนไลน์นั้นจะมีการแผ่ขยายเข้ามา สู่การเรียนในชั้นเรียนอย่างรวดเร็วในปัจจุบันการเรียนแบบออนไลน์นั้นได้ เข้ามามีส่วนร่วมในการติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ร่วม ในการเรียนการสอนในชั้นเรียนเกิดเป็นการเรียนแบบผสมผสานขึ้นมาซึ่งคาดว่าใน อนาคตนั้นการเรียนแบบผสมผสานจะมีการขยายตัวที่มากขึ้นตามรูปแบบการเรียน แบบออนไลน์ที่จะมีการเติบโตขึ้นมากกว่าปัจจุบัน จึงส่งผลให้การเรียนแบบผสมผสานนั้นมีการขยายวงกว้างออกไปจากเดิมยิ่งขึ้นอีก ด้วย

สรุป

    1. การเรียนการสอนแบบผสมผสาน Blended Learning เป็นการเรียนรู้แบบผสมผสานหลากหลายวิธี เพื่อให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้ที่หลากหลาย และเพื่อผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพเหมาะกับบริบทและสถานการณ์ การเรียนรู้และตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลเกิดการเรียนรู้และเกิดทักษะ ด้านการปฏิบัติ (Practice Skill )โดยใช้เทคโนโลยี เช่น การเรียนการสอนในชั้นเรียนร่วมกับการเรียนการสอนแบบออนไลน์(a combination of face-to-face and Onine Learning) การเรียนแบบหมวก 6 ใบ, สตอรี่ไลน์ จุดมุ่งหมายสูงสุดอยู่ที่ผู้เรียน โดยอัตราส่วนการผสมผสาน จะขึ้นอยู่กับลักษณะเนื้อหา และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน กรณี - ครูผู้สอนสั่งงานทาง e-mail หรือ chatroom หรือ webbord ถือเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสาน- ครูสั่งให้ส่งงานเป็นรูปเล่มรายงานถือว่าเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสานเช่นกัน เพราะต้องไปค้นคว้าสืบค้นข้อมูลและนำมาอภิปราย สรุป เนื้อหาเป็นแนวเดียวกัน ผู้เรียนทุกคนเข้าใจตรงกัน

    2. การใช้งานจริง ณ ขณะนี้ สรุป การใช้ Blended Learning ในองค์กร หรือบริษัท ช่วยในการประชุม การสั่งงาน โดยมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระบบเครือข่าย ส่วนมาก นิยมใช้ระบบ LMS เป็นระบบการบริหาร ผ่าน Sever เป็นระบบเครือข่ายผู้ใช้งานในระบบ
       2.1 กลุ่มผู้บริหาร Administrator ทำหน้าที่ดูแลระบบ
       2.2 กลุ่ม ครู อาจารย์ Instructor/ teacher ทำหน้าที่สอน
       2.3 กลุ่มผู้เรียน Student /Guest นักเรียน นักศึกษาสำหรับขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานของ Beijing Normal University (BNU) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลักดังนี้
        1. ขั้นก่อนการวิเคราะห์ (Pre-Analysis) เป็นขั้นตอนแรกของการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบการพิจารณาข้อมูลทั่ว ๆ ไป ได้แก่
           1.1 การวิเคราะห์คุณสมบัติของผู้เรียน
           1.2 การวิเคราะห์วัตถุประสงค์ในการเรียนรู้
           1.3 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการเรียนรู้แบบผสมผสานผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนแรก จะเป็นรายงานผลที่จะนำไปใช้ในขั้นต่อไป

        2. ขั้นการออกแบบกิจกรรมและการออกแบบวัสดุการเรียนรู้ (Design of Activity and Resources) เป็นขั้นตอนที่สองที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนแรกมาออกแบบกิจกรรมและวัสดุ การเรียนรู้ ซึ่งจำแนกออกเป็น 3 ส่วนย่อย ๆ ได้แก่
          2.1 การออกแบบภาพรวมของการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบด้วย
            - กิจกรรมการเรียนรู้แต่ละหน่วยเรียน
            - กลยุทธ์การนำส่งบทเรียนในการเรียนรู้แบบผสมผสาน
            - ส่วนสนับสนุนการเรียนรู้แบบผสมผสาน
         2.2 การออกแบบกิจกรรมแต่ละหน่วยเรียนประกอบด้วย
            - นิยามผลการกระทำของผู้เรียน
            - กิจกรรมในแต่ละวัตถุประสงค์
            - การจัดกลุ่มของกิจกรรมทั้งหมด
            - การประเมินผลในแต่ละหน่วยเรียน
         2.3 การออกแบบและพัฒนาวัสดุการเรียนรู้ประกอบด้วย
            - การเลือกสรรเนื้อหาสาระ
            - การพัฒนากรณีต่าง ๆ
            - การนำเสนอผลการออกแบบและการพัฒนาผลที่ได้จากขั้นตอนที่สอง จะเป็นรายละเอียดของการออกแบบบทเรียนในแต่ละส่วน

      3. ขั้นการประเมินผลการเรียนการสอน (Instructional Assessment) เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานประกอบด้วย
        3.1 การประเมินผลขั้นตอนการเรียนรู้
        3.2 การจัดการสอบตามหลักสูตร
        3.3 การประเมินผลกิจกรรมทั้งหมดผลที่ได้จากขั้นตอนสุดท้าย จะนำไปพิจารณาตรวจปรับกระบวนการออกแบบในแต่ละขั้นที่ผ่านมาทั้งหมด เพื่อให้การเรียนรู้แบบผสมผสานมีประสิทธิภาพและเกดประสิทธิผลกับผู้เรียน อย่างแท้จริง

ขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน

การเรียนรู้แบบผสมผสานมีสิ่งต่างๆจะต้องพิจารณา ดังนี้
     1. เพิ่มทางเลือกของวิธีการนำส่งการเรียนรู้ไปยังผู้เรียนให้มีความหลากหลายมากขึ้น จะเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับผู้ออกแบบ
     2. เกณฑ์การตัดสินความสำเร็จในการเรียนรู้แบบผสมผสานไม่ได้มีเพียงเกณฑ์เดียว เช่น รูปแบบการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ ซึ่งสามารถนำมาพิจารณาร่วมกันได้
     3. การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานจะต้องพิจารณาประเด็นของความเร็วในการเรียน รู้ ขนาดของผู้เรียน และการสนับสนุนช่วยเหลือผู้เรียน
     4. สภาพแวดล้อมทางการเรียนของผู้เรียน จะมีความแตกต่างกันเป็นธรรมชาติซึ่งการจัดการเรียนรู้จะต้องสนับสนุนให้ผู้ เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์เป็นสำคัญ
     5. หน้าที่ของผู้เรียน จะต้องศึกษาและค้นพบตัวเอง เพื่อสร้างสรรค์ความรู้ตามศักยภาพของตนเอง
     6. การออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานต้องการทีมงานออกแบบที่มีความรู้เรื่องการปรับปรุงด้านธุรกิจด้วยเช่นกัน
กรณี - การเรียนการสอนทางไกลของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ) ถือว่าเป็นการเรียนการสอนแบบผสมผสานเช่นกัน
- คอร์สการเรียนภาษาอังกฤษทางไกล ของ แอนดรูส์ บิ๊ก ที่ใช้ระบบ(Bkended Learning for Distance Learning) ซึ่งสามารถสอนนักเรียนพร้อมกันทีเดียวได้เป็นพันคน

3. ประโยชน์ ข้อดี และข้อเสีย

ประโยชน์ ข้อดี      1. แบ่งเวลาเรียนอย่างอิสระ
     2. เลือกสถานที่เรียนอย่างอิสระ
     3. เรียนด้วยระดับความเร็วของตนเอง
     4. สื่อสารอย่างใกล้ชิดกับครูผู้สอน
     5. การผสมผสานระหว่างการเรียนแบบดั้งเดิมและแบบอนาคต
     6. เรียนกับสื่อมัลติมีเดีย
     7. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง Child center
     8. ผู้เรียนสามารถมีเวลาในการค้นคว้าข้อมูลมาก สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลได้อย่างดี
     9. สามารถส่งเสริมความแม่นยำ ถ่ายโอนความรู้จากผู้หนึ่งไปยังผู้หนึ่งได้ สามารถทราบผลปฏิบัติย้อนกลับได้รวดเร็ว (กาเย่)
   10. สร้างแรงจูงใจในบทเรียนได้(กาเย่)
   11. ให้แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้(กาเย่)
   12. สามารถทบทวนความรู้เดิม และสืบค้นความรู้ใหม่ได้ตลอดเวลา (กาเย่)
   13. สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่รบกวนภายในชั้นเรียนได้ ทำให้ผู้เรียนมีสมาธิในการเรียน
   14. ผู้เรียนมีช่องทางในการเรียน สามารถเข้าถึงผู้สอนได้
   15. เหมาะสำหรับผู้เรียนที่ค่อนข้างขาดความมั่นใจในตัวเอง
   16. ใช้ในบริษัท หรือองค์กรต่างๆ สามารถลดต้นทุนในการอบรม สัมมนาได้

ข้อเสีย

   1. ไม่สามารถแสดงความคิดเห็น หรือถ่ายทอดความคิดเห็นอย่างรวดเร็ว
   2. มีความล่าช้าในการปฏิสัมพันธ์
   3. การมีส่วนร่วมน้อย โดยผู้เรียนไม่สามารถมีส่วนร่วมทุกคน
   4. ความไม่พร้อมด้าน ซอฟแวร์ Software บางอย่างมีราคาแพง (ของจริง)
   5. ใช้งานค่อนข้างยาก สำหรับผู้ไม่มีความรู้ด้าน ซอฟแวร์ Software
   6. ผู้เรียนบางคนคิดว่าไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะราคาอุปกรณ์ค่อนข้างสูง
   7. ผู้เรียนต้องมีความรู้ ความเข้าใจด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อเข้าถึงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
   8. ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองอย่างสูง ในการเรียนการสอนแบบนี้
   9. ความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคนเป็นอุปสรรคในการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
  10. สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมในการใช้เครือข่าย หรือระบบอินเทอร์เน็ต เกิดปัญหาด้านสัญญาณ
  11. ขาดการปฏิสัมพันธ์แบบ face to faec (เรียลไทม์)


ความเป็นไปได้ในการไปใช้งานจริงของ Blened Learning การเรียนการสอนแบบผสมผสาน
   1. มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุค ICT ทำให้มีการเรียนรู้ที่หลากหลายวิธี เช่น 2 วิธี หรือมากกว่านั้นได้
   2. ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ e-Learning
   3. สามารถนำไปใช้ได้จริงในสถานศึกษา เช่น โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย รวมไปถึง บริษัท องค์กร ต่าง ๆ เพื่อประหยัดงบประมาณและต้นทุน
   4. เป็นไปได้หรือไม่ในการนำไปใช้งานได้จริงขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ความเหมาะสมขององค์ประกอบในการจัดการเรียนการสอน อุปกรณ์ ผู้เรียน และผู้สอน

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

ปวดหลังเรื้อรัง กับการรักษาแบบแพทย์แผนจีน

ปวดหลังเรื้อรัง

กับการรักษาแบบแพทย์แผนจีน

中醫治療慢性腰痛

       อาการปวดเรื้อรังที่ยอดฮิตติดอันดับเวลาไปพบแพทย์ คือ อาการปวดต้นคอ, ปวดหัวไหล่, ปวดเอว บางคนอาจร่วมด้วยอาการปวดศีรษะไมเกรน ปวดแขน หรือปวดขา ถ้าไปหาแพทย์แผนปัจจุบัน ก็คงหนีไม่พ้นยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ปวดศีรษะไมเกรน บางรายต้องแถมยาป้องกันโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ที่อาจเกิดจากผลอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรือสงสัยจะเกี่ยวข้องกับการกดทับของเส้นประสาทไขสันหลังที่ต้นคอหรือบริเวณเอว ก็คงต้องพิจารณาการทำกายภาพบำบัดและการผ่าตัดเป็นราย ๆ ไป
       ถามว่าถ้าไปหาหมอจีน ด้วยอาการกล้ามเนื้ออักเสบและมีอาการปวดหลัง จะตรวจวินิจฉัยและรักษาต่างกันกับแผนปัจจุบันอย่างไร ลองพิจารณาจากตัวอย่างผู้ป่วยดูซิครับ
       สตรีวัย 32 ปี มาหาแพทย์จีนด้วยอาหารหลังเรื้อรัง มา 2 ปี ตั้งแต่ตั้งครรภ์ ในขณะท้องแก่ใกล้คลอดก็รู้สึกปวดหลังแต่ไม่รุนแรง หลังจากถูกผ่าตัดทำคลอดเอาทารกออกโดยวิธีการฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง ผู้ป่วยรู้สึกปวดหลัง ปวดเอวมากขึ้น ได้รับการรักษาด้วยยาแก้ปวด คลายกล้ามเนื้อหลายขนานจากหลายโรงพยาบาลและได้รับทำกายภาพบำบัดมาแล้วหลายครั้ง อาการไม่ดีขึ้น ซักประวัติเพิ่มเติมทราบว่า ผู้ป่วยเป็นคนขี้หนาวมาก เวลาอาบน้ำกลางคืนหรืออยู่ในห้องแอร์ หรือดื่มน้ำเย็นจะรู้สึกเย็นระเยือกในร่างกาย อาการปวดเอวมีลักษณะเมื่อยๆ หนักๆ ร่วมด้วย ตรวจพบลิ้นค่อนข้างซีดและบวมชีพจรเบาอ่อนแรง
       อีกรายหนึ่ง เป็นสตรีวัย 62 ปี มีโรคประจำตัว เป็นเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง มา 10 กว่าปี ได้รับการดูแลรักษาด้วยยาแผนปัจจุบันมาตลอด มีอาการปวดเมื่อยหลัง นั่งนานไม่ได้ (ไม่เกิน 5 นาที) ตรวจ MRI พบว่ามีกระดูกสันหลังด้านเอวทรุดไป 3 ข้อ เนื่องจากการหกล้มเมื่อ 2 ปีก่อน ได้รับยาบำรุงกระดูกและยาคลายกล้ามเนื้อมารับประทานแก้อาการปวด แพทย์ยังไม่แน่ใจว่าการผ่าตัดรักษาจะได้อันตรายหรือได้ผลดีหรือไม่ เนื่องจากผู้ป่วยมีโรคแทรกซ้อนมาก และร่างกายไม่แข็งแรง (เคยผ่าตัดขาไปข้างหนึ่งเนื่องจากแผลที่เท้าติดเชื้อ และผู้ป่วยมีโรคเบาหวานเรื้อรัง)
       ผู้ป่วยได้ยารับประทานมา 3 เดือนไม่มีอาการอะไรดีขึ้น อาการปวดเมื่อยก็มากขึ้น ต้องนอนเสียส่วนใหญ่ เวลาจะนั่งหรือเดินไปไหนต้องมีใส่เสื้อเกราะพยุงดึงรั้ง ช่วยตัวเองไม่ได้ จึงตัดสินใจหาหมอจีน ตรวจซักประวัติและดูลิ้นจับชีพจร พบว่าผู้ป่วยเป็นคนหนาวง่าย, ท้องอืด เบื่ออาหาร ท้องผูก (เคยกินยาช่วยระบาย พอถ่ายท้อง จะมีอาการเหงื่อออก หมดแรง ต้องส่งโรงพยาบาล)

       หมอจีนรักษาโรคปวดหลัง-ปวดเอวอย่างไร
         ก่อนอื่นต้องวินิจฉัยแยกแยะ ภาวะร่างกายของผู้ป่วยแต่ละรายก่อนว่า มีพื้นฐานของร่างกายเป็นอะไร  ปัจจัยเกิดโรคมาจากสาเหตุอะไร
         ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย มีอาการปวดหลังเหมือนกัน แต่ต่างกันในรายละเอียดมาก คนหนึ่งไม่มีโรคเรื้อรัง อีกคนหนึ่งมีโรคเรื้อรังและอายุมากมีกระดูกทรุดอีกต่างหาก
       แต่ข้อเหมือนกันประการหนึ่งของแพทย์แผนจีน คือ ภาวะร่างกายของทั้ง 2 ราย คือ กลัวความเย็น ร่างกายหนาวง่าย มีปัญหาเรื่องระบบย่อยอาหารที่เย็นพร่อง อ่อนแอ
       ตามหลักการรักษา ผู้ป่วยทั้งสอง จัดอยู่ในประเภทไตหยางพร่อง腎陽 ร่วมกับ หยางของม้ามพร่อง脾陽
       การรักษาที่สำคัญคือ อุ่นบำรุงหยางของม้ามและไต温補脾陽腎陽 เพื่อให้เกิดความร้อนขึ้นในร่างกาย เมื่อมีความร้อนการเคลื่อนไหวของเลือดพลังไปส่วนต่างๆจะดีขึ้น มีการกระจายความเย็นในเส้นลมปราณออกไปเสริมการทำงานของระบบย่อย (ม้าม) เพื่อเพิ่มพลังการย่อยและดูดซึมอาหารเพื่อแปรเปลี่ยนเป็นพลังของร่างกาย ด้วยยาสมุนไพร กลุ่มบำรุงหยางของไตและม้าม ทำให้กล้ามเนื้อส่วนเอวแข็งแรงขึ้น เสริมด้วยการฝังเข็มโดยการให้ความร้อนร่วมในบริเวณที่ปวด(การรมยาหรือใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ให้พลังความร้อน)
       การรักษาที่ถูกวิธีบนพื้นฐานการวินิจฉัยแยกแยะภาวะร่างกายทาถูกต้อง เราจะพบผลการรักษาที่สามารถรักษาอาการปวดได้ผลอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญกว่านั้นยังมีผลที่ไปเสริมร่างกายแบบองค์รวม ไม่มีผลแทรกซ้อนแต่จะไปช่วยให้โรคที่เป็นอยู่ไม่ว่าท้องผูก, ปวดท้อง, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมี มีโอกาสลดขนาดและควบคุมได้ยิ่งขึ้น
       หลักคิดและวิธีแก้ปัญหาแบบแพทย์แผนจีนคือ การปรับสภาพร่างกายโดยองค์รวม ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ดีในการสร้างปัจจัยที่เป็นคุณต่อการปรับภาวะความเสียสมดุลต่างๆ ของร่างกาย
       การรักษาแบบควบคุมอาการแบบแผนปัจจุบัน ถ้าได้เสริมจุดอ่อนข้อนี้จะทำให้การรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ



---------------------------------------------
Chiang Rai (Thailand)

    The quieter neighbor of Chiang Mai, Chiang Rai is a land of outstanding natural beauty, where visitors looking to avoid the hordes can visit remote hill tribes, spot exotic wildlife, and check out the golden triangle, the former center of the world’s opium trade.



    Chiang Rai has been inhabited since the 7th century, but it was not until 1262 that King Meng Rai established it as the first capital of the Lanna Kingdom. The capital was later relocated to Chiang Mai and since that time Chiang Rai has lived in the shadow of its neighboring province, though for tourists this is a good thing. Today, Chiang Rai is a traveler’s paradise, endowed with abundant natural attractions and antiquities. Attractions range from ruins of ancient settlements and Buddhist shrines to magnificent mountain scenery and hill tribe villages. For those interested in the natural side of Chiang Rai, jungle trekking is a magical experience; explore the mountains of the north along various hiking trails, many of which access the villages of diverse hill tribes groups, many of whom maintain their traditional lifestyles. Chiang Rai town, which tends to be a little more ‘laid back’ than its more popular neighbor, now competes with Chiang Mai as a tourist attraction and is fast becoming a popular escape for tourists wanting to leave their troubles behind.
      Chiang Rai, the former capital of the great Lanna Kingdom, is a fascinating province filled with cultural and natural wonders, including the Golden Triangle where Thailand, Laos, and Burma come together; an area that was once the hub of opium production, a trade that had much influence on cultural practices and lifestyles. Chiang Rai had stayed off the tourist radar for many years, its people enjoying very leisurely development and mostly traditional, rural lifestyles. Until this day, entire clans live together in bamboo houses and each village has its own individual character. Recently tourism has boomed in Chiang Rai, where visitors have come to explore the pristine natural beauty of the countryside and immerse themselves in the indigenous culture, including those of a variety of different hill tribe communities. Fortunately for tourists, Chiang Rai is also a center for community development projects, helping rural villagers develop their attractions without adversely affecting their natural and cultural assets.

Don't Miss !!!


The monument of King Mengrai

      Right at the center of Chiang Rai city finds the monument of King Mengrai, the great king who founded Lanna Thai kingdom. King Mengrai was originally the ruler of Nakhon Hiran Ngoen Yang, an ancient town off in Chiang Saen. With a will to create a great kingdom of Lanna folks, he advanced his power to nearby kingdoms (Chiang Rai was one of them) until he successfully established the Lanna Thai kingdom in 1296 with his power centered at Chiang Mai.

Wat Phra Sing

     Not far from the Chiang Rai town hall is Wat Phra Sing, a historic temple once home to the sacred Lanna-style Buddhist statue Phra Buddha Sihing, which is now in Chiang Mai. Nevertheless, Wat Phra Sing remains a temple worth visiting for its Lanna-style ordination hall featuring finest creations of lanna craftmen.
Opening hours: Daily 8am-5pm
Contact: 0 5374 5038

The White Temple, Wat Rong Khun

       Also known as The White Temple, Wat Rong Khun is regarded as one of the most beautiful temples built in this century. A masterpiece of artist Chalarmchai Kositpipat, famed for his extravagant and unique Buddhism-related paintings, Wat Rong Khun reflects the artist’s grand visions of heaven, hell and Nirvana. The main assembly hall and adjacent area are carved in white with glass mosaics. The construction started in 1997 and even the assembly hall is not yet completed: only two walls have been painted with a depiction of heaven and hell. Look closely and you’ll see pictures of international heroes like Spiderman, Sailor Moon and even Ben 10 hidden in the murals. When it’s completed (it could take 50 years), the temple will have nine buildings. Donations are welcome but should not exceed B10,000 as Chalermchai doesn’t want to be under the influence of big donors, even though he’s spent more than B40 million of his own cash.
Opening hours: Daily 6.30 am - 6 pm

Contact: Tel. 0 5367 3579
Doi Tung



     At Doi Tung, you get to experience both the beautiful scenery of the hill and to learn about the life and social-development works of the late Princess Mother and her Doi Tung Development Project (since 1987). Located on Mae Fa Luang District, you can travel to Doi Tung through the Highway No. 110 for 48 kilometers and take a left on Highway No. 1149. While on the road you’ll be enjoy driving through beautiful surroundings as well as interesting attractions like the

Phu Chi Fa


     One of the most famous destinations uphill in Chiang Rai, especially during winter time, when visitors try to reach its cliff that offers spectacular views of the valley and sea of mist at sunrise. Phu Chi Fa is blessed with breathtaking views, abundant flowers of all colors, and cool weather most of the year. Plus, it is not far, located approximately 25 kilometers south of Doi Pha Tang in Thoeng District. Visitors are also welcomed to stay overnight at Ban Rom Fa Thong and Ban Rom Fa Thai.
Opening Hours: Daily 5am-6pm