ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย (Gegne's eclecticism)
บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง 52 (http://dontong52.blogspot.com/) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฏีนี้ไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย
(Gagne)
1) ประเภทการเรียนรู้เป็นลำดับขั้นตอน ง่ายไปหายาก 8 ประเภท
- การเรียนรู้สัญญาณ
- การเรียนรู้สิ่งเร้า การตอบสนอง
- การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง
- การเชื่อมโยงทางภาษา
- การเรียนรู้ความแตกต่าง
- การเรียนรู้ความคิดรวบยอม
- การเรียนรู้กฎ
- การเรียนรู้การแก้ปัญหา
2) การเยได้แบ่งสมรรถภาพการเรียนรู้ไว้ 5 ประการ
- สมรรถภาพในการเรียนรู้ข้อเท็จจริง
- ทักษะเชาว์ปัญญา
- ยุทธศาสตร์ในการคิด
- ทักษะการเคลื่อนไหว
- เจตคติ
1) ประเภทการเรียนรู้เป็นลำดับขั้นตอน ง่ายไปหายาก 8 ประเภท
- การเรียนรู้สัญญาณ
- การเรียนรู้สิ่งเร้า การตอบสนอง
- การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง
- การเชื่อมโยงทางภาษา
- การเรียนรู้ความแตกต่าง
- การเรียนรู้ความคิดรวบยอม
- การเรียนรู้กฎ
- การเรียนรู้การแก้ปัญหา
2) การเยได้แบ่งสมรรถภาพการเรียนรู้ไว้ 5 ประการ
- สมรรถภาพในการเรียนรู้ข้อเท็จจริง
- ทักษะเชาว์ปัญญา
- ยุทธศาสตร์ในการคิด
- ทักษะการเคลื่อนไหว
- เจตคติ
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ ( http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486) ได้รวบรวมและสรุปเกี่ยวกับทฤษฏีนี้ไว้ว่า แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้
คือ ความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง
บางประเภทมีความซับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ
การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 9
ขั้น ดังนี้
ขั้นที่
1 สร้างความสนใจ(Gaining
attention)
ขั้นที่
2 แจ้งจุดประสงค์(Informing
the learning)
ขั้นที่ 3 กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating
recall of prerequisite learned capabilities)
ขั้นที่
4 เสนอบทเรียนใหม่(Presenting
the stimulus)
ขั้นที่
5 ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing
learning guidance)
ขั้นที่
6 ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting
the performance)
ขั้นที่
7 ให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback)
ขั้นที่
8 ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(Assessing
the performance)
ขั้นที่ 9 ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้(Enhancing
retention and transfer)
Dr.Surin (http://surinx.blogspot.com/ ) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฏีนี้ไว้ว่า กานเย (Gagne) เป็นนักจิตวิทยาและนักการศึกษาในกลุ่มผสมผสานระหว่างพฤติกรรมนิยมกับพุทธนิยม (Behavior Cognitivist) เขาอาศํยทฤษฎีและหลักการที่หลากหลาย เนื่องจากความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้งบางประเภทมีความวับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง กานเย่ได้จัดขั้นการเรียนรู้ซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายาก โดยผสมผสานทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม และพุทธนิยมเข้าด้วยกัน หลักการเรียนรู้ที่สำคัญของกานเย สรุปดั้งนี้
1.1 การเรียนรู้สัญญาน(signal-learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นไปโดยอัติโนมัติ อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ ผู้เรียนไม่สามารถบังคับพฤติกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นได้ การเรียนรู้แบบนี้เกิดจากการที่คนเรานำเอาลักษณะการตอบสนองที่มีอยู่แล้วมาสัมพันธ์กับสิ่งเร้าใหม่ที่มีความใกล้ชิดกับสิ่งเร้าเดิม การเรียนรู้สัญญาน เป็นลักษณะการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขของพาฟลอฟ
1.2 การเรียนรู้สิ่งเร้า-การตอบสนอง(stimulus-response)เป็นการเรียนรู่ต่อเนื่องจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง แตกต่างจากการเรียนรู้สัญญาน เพราะผู้เรียนสามารถควบคุมพฤติกรรมตนเองได้ ผู้เรียนแสดงพฤติกรรม เนื่องจากได้รับแรงเสริม การเรียนรู้แบบนี้เป็นการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงของธอร์นไคด์ และการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข (operant conditioning) ของสกินเนอร์ซึ่งเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นสิ่งท่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำเองมิใช่รอให้สิ่งเร้าภายนอกมากระทำพฤติกรรมที่แสดงออกเกิดจากสิ่งเร้าภายในของผู้เรียนเอง
1.3 การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง (chaining) เป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและกาตอบสนองที่ต่อเนื่องกันตามลำดับ เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ การเคลื่อนไหว
1.4 การเชื่อมโยงทางภาษา (verbal association) เป็นการเรียนรู้ในลักษณะคล้ายกับการเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง แต่เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษา การเรียนรู้การรับสิ่งเร้า-การตอบสนอง เป็นพื้นฐานของกาเรียนรู้แบบต่อเนื่องและการเชื่อมโยงทางภาษา
1.5 การเรียนรู้ความแตกต่าง (discrimination learning) เป็นการเรียนรู้ทีผสมผสานสามารถมองเห็นความแตกต่างของสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะความแตกต่างตามลักษณะของวัตถุ
1.6 การเรียนรู้ความคิดรวบยอด (concept learning) เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถจัดกลุ่มสิ่งเร้าที่มีความเหมือนหรือแตกต่างกัน โดยสามารถระบุลักษณะที่เหมือนหรือแตกต่างกันได้ พร้อมทั้งสามารถขยายความรู้ไปยังสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากทีเคยเห็นมาก่อนได้
1.7 การเรียนรู้กฎ (rule learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการรวมหรือเชื่อมโยงความคิดรวบยอดตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป และตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น การที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้กฎเกณฑ์จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำการเรียนรู้นั้นไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆกันได้ 1.8 การเรียนรู้การแก้ปัญหา (problem solving) เป็นการเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหา โดยการนำกฎเกณฑ์ต่างๆ มาใช้ การเรียนรู้แบบนี้เป็นกระบวนการที่เกิดภายในตัวผู้เรียน เป็นการใช้กฎเกณฑ์ในขั้นสูงเพื่อการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อน และสามารถนำกฎเกณฑ์ในการแก้ปัญหานี้ไปใช้กับสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันได้
2. กานเยได้แบ่งสมรรถภาพการเรียนรู้ของมนุษย์ไว้ 5 ประการ ดังนี้
2.1 สมรรถภาพในการเรียนรู้ข้อเท็จจริง (verbal information) เป็นความสามรถในการเรียนรู้ข้อเท็จจริงต่างๆ โดยอาศัยความจำและความสามารถระลึกได้
2.2 ทักษะเชาว์ปัญญา (intellectual skills) หรือทักษะทางสติปัญญา เป็นความสามารถในการใช้สมองคิดหาเหตุผล โดยใช้ข้อมูล ประสบการณ์ ความรู้ ความคิดในด้านต่างๆ นับตั้งแต่การเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นทักษะง่ายๆไปสู่ทักษะที่ยากสลับซับซ้อนมากขึ้น ทักษะเชาว์ปัญญาที่สำคัญที่ควรได้รับการฝึกคือ ความสามรถในการจำแนก (discrimination) ความสามารถในการคิดรวบยอกเป็นรูปธรรม (concrete concept) ความสามรถในการให้คำจำกัดความของความคิดรวบยอด (defined concept) ความสามารถในการเข้าใจกฎและใช้กฎ (rules) และความสามารถในการแก้ปัญหา (problem solving)
2.3 ยุทธศาสตร์ในการคิด (cognitive strategies) เป็นความสามารถของกระบวนการทำงานภายในสมองของมนุษย์ ซึ่งควบคุมการเรียนรู้ การเลือกรับรู้ การแปลความ และการดึงความรู้ ความจำ ความเข้าใจ และประสบการณ์เดิมออกมาใช้ ผู้มียุทธศาสตร์ในการคิดสูง จะมีเทคนิค มีเคล็ดลับในการดึงความรู้ ความจำ ความเข้าใจ และประสบการณ์เดิมออกมใช้อย่างมีประสิทธิภาพ สามรารถแก้ปัญหาที่มีสถานการณ์ที่แตกต่างได้อย่างดี รวมทั้งสามารถแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างสร้างสรรค์
2.4 ทักษะการเคลื่อนไหว (motor skills) เป็นความสามารถ ความชำนาญในการปฏิบัติหรือการใช้อวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายในการทำกิจกรรมต่างๆ ผู้ที่มีทักษะการเคลื่อนไหวที่ดีนั้น พฤติกรรมที่แสดงออกมาจะมีลักษณะรวดเร็ว คล่องแคล่ว และถูกต้องเหมาะสม
2.5 เจตคติ(attitudes) เป็นความรู้สึกนึกคิดของบุคคลที่มีต่อสิ่งต่างๆ ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจของบุคคลนั้นในการที่จะเลือกกระทำหรือไม่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
สรุป ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย (Gegne's eclecticism) แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ ความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง บางประเภทมีความซับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง หลักการเรียนรู้ที่สำคัญของกาเย สามารถสรุปได้ดังนี้
1) ประเภทการเรียนรู้เป็นลำดับขั้นตอน ง่ายไปหายาก 8 ประเภท
- การเรียนรู้สัญญาณ (signal-learning)
- การเรียนรู้สิ่งเร้า การตอบสนอง (stimulus-response)
- การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง (chaining)
- การเชื่อมโยงทางภาษา (verbal association)
- การเรียนรู้ความแตกต่าง (discrimination learning)
- การเรียนรู้ความคิดรวบยอม (concept learning)
- การเรียนรู้กฎ (rule learning)
- การเรียนรู้การแก้ปัญหา (problem solving)
2) การเยได้แบ่งสมรรถภาพการเรียนรู้ไว้ 5 ประการ
- สมรรถภาพในการเรียนรู้ข้อเท็จจริง (verbal information)
- ทักษะเชาว์ปัญญา (intellectual skills)
- ยุทธศาสตร์ในการคิด (cognitive strategies)
- ทักษะการเคลื่อนไหว (motor skills)
- เจตคติ (attitudes)
ที่มา
1. บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง 52. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย (Gegne's eclecticism). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://dontong52.blogspot.com/ . วันที่สืบค้นข้อมูล : 8 กรกฏาคม 2555.
2. ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย (Gegne's eclecticism). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486. วันที่สืบค้นข้อมูล : 8 กรกฏาคม 2555.
3. Dr.Surin. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย (Gegne's eclecticism) . (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://surinx.blogspot.com/ . วันที่สืบค้นข้อมูล : 8 กรกฏาคม 2555.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น