Recent Comments

วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Student Team Achievement Division (STAD)


Student Team Achievement Division

เชี่ยวชาญ  ภาระวงค์
         วิธีสอนแบบร่วมมือโดยวิธีแบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Student Team
Achievement Division หรือ STAD
) หมายถึง การเรียนแบบร่วมมือที่กำหนดให้นักเรียนที่มีความสามารถต่างกันทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มละ 4 - 6 คน ซึ่งประกอบด้วยนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนสูง 1 คน ปานกลาง 2 คน และต่ำ 1 คน มีขั้นตอนการสอนดังนี้
           1) ขั้นเตรียม เป็นขั้นที่นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกสมาชิกที่จะทำหน้าที่ต่าง ๆ ในการ
ทำงานร่วมกัน
           2) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นขั้นที่ครูกระตุ้นความสนใจและความพร้อมของนักเรียน
หรือทบทวนความรู้ที่จำเป็น
           3) ขั้นเสนอบทเรียน เป็นขั้นที่ครูดำเนินการสอนเนื้อหาในบทเรียน โดยใช้สื่อ
การสอนประกอบ เช่น แผนภาพ บัตรจำนวน เป็นต้น
          4) ขั้นฝึกทักษะ เป็นขั้นที่นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันทำแบบฝึกหัด นักเรียนจะได้รับ
แบบฝึกหัด และบัตรเฉลย นักเรียนจะผลัดกันทำหน้าที่ มีการอภิปรายและตรวจสอบว่ากลุ่มมีข้อผิดพลาดในการทำอย่างไร แล้วแก้ไขข้อผิดพลาดลงในแบบฝึกหัด
          5) ขั้นทดสอบหลังเรียน เป็นขั้นที่นักเรียนทดสอบเป็นรายบุคคล
          6) ขั้นสรุปและประเมินผล เป็นขั้นที่ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปบทเรียน ข้อดีและ
ข้อบกพร่องที่ควรแก้ไขในการทำงานร่วมกัน ครูประเมินผลการเรียนของนักเรียนโดยนำคะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนแต่ละคนมาเปรียบเทียบกับคะแนนฐาน เพื่อหาคะแนนพัฒนาของแต่ละคน นำคะแนนพัฒนาเทียบเป็นคะแนนกลุ่มจากตาราง แล้วนำคะแนนที่ทุกคนทำในกลุ่มมาเฉลี่ย กลุ่มใดมีคะแนนกลุ่มผ่านเกณฑ์จะได้รับรางวัลทั้งกลุ่มตามที่กำหนด

การจัดการเรียนรู้รูปแบบ STAD (Student Teams Achievement Divisions)
     
การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ STAD เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ Robert Slavin และคณะจากมหาวิทยาลัย John Hopkins ได้ร่วมมือกันพัฒนาขึ้น เป็นการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบหนึ่งคล้ายกับเทคนิค TGT ที่แบ่งผู้เรียนที่มีความสามารถแตกต่างกันออกเป็นกลุ่มเพื่อทำงานร่วมกัน กลุ่มละประมาณ 4-5 คน โดยกำหนดให้สมาชิกของกลุ่มได้เรียนรู้ในเนื้อหาสาระที่ผู้สอนจัดเตรียมไว้แล้ว และให้ทำการทดสอบความรู้ที่ได้รับ คะแนนที่ได้จากการทดสอบของสมาชิกแต่ละคนนำเอามาบวกเป็นคะแนนรวมของทีม ผู้สอนจะต้องใช้วิธีเสริมแรง เช่น ให้รางวัล คำชมเชย ยกย่อง สมาชิกกลุ่มจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายร่วมกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 

วัตถุประสงค์
      1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
      2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนฝึกทักษะกระบวนการทางสังคม เช่น ทักษะกระบวนการกลุ่ม ทักษะการเป็นผู้นำ และฝึกความรับผิดชอบ 

องค์ประกอบที่สำคัญ 
     การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ
           1. การเสนอเนื้อหา (
Class Presentation) ผู้สอนทบทวนบทเรียนที่เรียนมาแล้วและนำเสนอ เนื้อหาสาระหรือความคิดรวบยอดใหม่
           2. การทำงานเป็นทีมหรือกลุ่ม (
Team Study) ผู้สอนจัดผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกัน จัดให้คละกันและชี้แจงให้ผู้เรียนทราบถึงบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่มที่จะช่วยและร่วมมือกันเรียนรู้ เพราะผลการเรียนของสมาชิกแต่ละคนส่งผลต่อผลรวมของกลุ่ม
           3. การทดสอบย่อย (
Test/Quizzes) สมาชิกหรือผู้เรียนทุกคนทำแบบทดสอบย่อยเป็นรายบุคคลหลังจากเรียนรู้หรือทำกิจกรรมแล้ว
           4. คะแนนพัฒนาการของผู้เรียน (Individual Improvement Score) เป็นคะแนนการพัฒนาหรือความก้าวหน้าของสมาชิกแต่ละคน ซึ่งผู้สอนและผู้เรียนอาจร่วมกันกำหนดคะแนนการพัฒนาเป็นเกณฑ์ขึ้นมา เช่น ดังตารางต่อไปนี้

คะแนนทดสอบย่อย คะแนนการพัฒนา
     
1. ต่ำกว่าคะแนนฐานมากกว่า 10 0
      2. ต่ำกว่าคะแนนฐานไม่เกิน 10 10
      3. เท่ากับคะแนนฐานหรือมากกว่าไม่เกิน 10 20
      4. มากกว่าคะแนนฐาน 10 คะแนนขึ้นไป 30
      5. การรับรองผลงานและเผยแพร่ชื่อเสียงของทีม (
Team Recognition) เป็นการประกาศผลงานของทีมเพื่อรับรองและยกย่องชมเชยในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ปิดประกาศ          ให้รางวัล ลงจดหมายข่าว ส่งเข้าประกวด ประกาศเสียงตามสาย เป็นต้น

ขั้นตอนการเรียนรู้
      1. ขั้นเตรียมเนื้อหา ประกอบด้วย
          
1.1 การจัดเตรียมเนื้อหาสาระ ผู้สอนต้องเตรียมเนื้อหาสาระหรือเรื่องที่จะทำการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ เป็นเนื้อหาใหม่โดยจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ศึกษา เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้สื่ออุปกรณ์หรือแหล่งเรียนรู้ ใบความรู้ ใบงาน หนังสือ เป็นต้น
            1.2 การจัดเตรียมแบบทดสอบย่อย เช่น ข้อสอบ กระดาษคำตอบ เกณฑ์การให้คะแนน
     2. ขั้นจัดทีม  
         มีกระบวนการดังต่อไปนี้คือ ให้จัดโดยนักเรียนคละกันทั้งเพศและความสามารถ ทีมละ 4-5 คน ทีมมีสมาชิก 4 ประกอบด้วยชาย 2 คน หญิง 2 คน เป็นคนเรียนเก่ง 1 คน ปานกลาง 2 คน และอ่อน 1 คน วิธีการจัดเริ่มจากเรียงลำดับนักเรียนจากเก่งที่สุดไปหาอ่อนที่สุดตามผลการเรียน อาจเป็นคะแนนการทดสอบหรือเกรด กำหนดจำนวนกลุ่ม และกำหนดนักเรียนเข้ากลุ่มโดยเรียงลำดับเริ่มจากคนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายตามลำดับก็จะได้นักเรียนที่เข้ากลุ่มคละกันตามความเก่งความอ่อน
     3. ขั้นการเรียนรู้ สิ่งที่ควรคำนึงในการศึกษากลุ่ม คือ
        
3.1 ผู้สอนแนะวิธีการเรียนรู้
         3.2 นักเรียนต้องช่วยเหลือเพื่อนในทีมโดยแบ่งภาระหน้าที่กัน เช่น ผู้อ่าน ผู้หาคำตอบ ผู้จดบันทึก ผู้ประเมิน เป็นต้น
         3.3 สมาชิกในกลุ่มต้องช่วยเหลือเพื่อในทีมให้ได้รับการเรียนรู้เนื้อหาที่เรียนพร้อมกันทุกคน
     4. ขั้นทดสอบย่อย  
         หลังจากเรียนผ่านพ้นไปแล้วนักเรียนจะต้องได้รับการทดสอบ โดยเป็นรายบุคคลไม่อนุญาตให้ช่วยเหลือกัน ทำข้อทดสอบตามความสามารถของตนเอง ที่เรียนมาแล้ว และจัดทำคะแนนการพัฒนาของสมาชิกแต่ละคน และคะแนนของกลุ่ม
      5. การรับรองผลงานและเผยแพร่ชื่อเสียงของทีม  
          นำคะแนนการพัฒนาของทีมไปเทียบเกณฑ์ เพื่อหาระดับคุณภาพ และเป็นการประกาศผลงานของทีมที่ได้คะแนนสูง เพื่อรับรองและยกย่องชมเชยในรูปแบบต่าง ๆ เช่น       ปิดประกาศ ให้รางวัล ลงจดหมายข่าว ส่งเข้าประกวด ประกาศ

เสียงตามสาย เป็นต้น
      ตัวอย่างเกณฑ์ระดับคุณภาพ
            คะแนนการพัฒนา ระดับคุณภาพ

                
15-19   ดี (Good Team)
                 20-24   ดีมาก (
Great Team)
                 25-30   ดีเยี่ยม (
Super Team

ข้อดีและข้อจำกัด
      ข้อดี
         
1. ผู้เรียนมีความเอาใจใส่รับผิดชอบตนเองและกลุ่มร่วมกับเพื่อนสมาชิก
          2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกันได้ร่วมมือกันเรียนรู้
          3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนผลัดกันเป็นผู้นำ ผู้เรียนได้ฝึกและเรียนรู้ทักษะทางสังคม
          4. ผู้เรียนมีความตื่นเต้นสนุกกับการเรียนรู้
     ข้อจำกัด
         
1. ถ้าผู้เรียนขาดความรับผิดชอบจะส่งผลให้งานกลุ่มและการเรียนรู้ไม่ประสบความสำเร็จ
          2. เป็นวิธีที่ผู้สอนจะต้องเตรียมการและดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดีจึงจะได้ผลทำให้ผู้สอนมีภาระงานเพิ่มมากขึ้น

เทคนิคการสอนแบบ Student Teams-Achievement Division (STAD)
     
ขั้นที่ 1 : ครูทบทวนบทเรียนที่เรียนมาแล้วครั้งก่อนด้วยการซักถามและอธิบายตอบข้อสงสัยของนักเรียน
      ขั้นที่ 2 : จัดกลุ่มแบบคละกัน (
Home Teams) กลุ่มละ 3-4 คน
      ขั้นที่ 3 : แต่ละทีม ศึกษาหัวข้อที่เรียนจากแบบฝึก (
Work Sheet and Answer Sheet) นักเรียนแต่ละคนทำหน้าที่และปฏิบัติตามกติกาของ Cooperative Learning เช่น เป็นผู้จดบันทึก ผู้คำนวณ ผู้สนับสนุน เป็นต้น เมื่อสมาชิกทุกคน เข้าใจและสามารถทำแบบฝึกหัดได้ถูกต้องทุกข้อ ทีมจะเริ่มทำการแข่งขันตอบปัญหา
      ขั้นที่ 4 : สำหรับ
STAD นักเรียนแต่ละคนจะทำการทดสอบแทนการแข่งขันตอบปัญหา
      ขั้นที่ 5 : ทีมที่ได้คะแนนสูงสุดจากการทดสอบจะติดประกาศไว้ในมุมจดหมายข่าวของห้อง

รูปแบบ STAD (Student Teams-Achievement Division)
       
Slavin ได้เสนอรูปแบบการเรียนแบบเป็นทีม (Student Teams Learning Method) ซึ่งมี 4 รูปแบบ คือ Student Teams-Achievement Divisions (STAD) และ Teams-Games-Tournaments (TGT) ซึ่งเป็นรูปแบบที่สามารถปรับใช้กับทุกวิชาและระดับชั้น Team Assisted Individualization (TAI) เป็นรูปแบบที่เหมาะกับการสอนวิชาคณิตศาสตร์ และ Cooperative Integrated Reading and Composition (CIRC) ซึ่งเป็นรูปแบบในการสอนอ่านและ การเขียน

หลักการพื้นฐานของรูปแบบการเรียนแบบเป็นทีม ของSlavin ประกอบด้วย
       
1)  การให้รางวัลเป็นทีม (Team Rewards) ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการวางเงื่อนไขให้นักเรียนพึ่งพากัน จัดว่าเป็น Positive Interdependence
        2)  การจัดสภาพการณ์ให้เกิดความรับผิดชอบในส่วนบุคคลที่จะเรียนรู้ (
Individual Accountability) ความสำเร็จของทีมหรือกลุ่ม อยู่ที่การเรียนรู้ของสมาชิกแต่ละคนในทีม
        3)  การจัดให้มีโอกาสเท่าเทียมกันที่จะประสบความสำเร็จ (
Equal Opportunities For Success) นักเรียนมีส่วนช่วยให้ทีมประสบความสำเร็จด้วยการพยายามทำผลงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมในรูปของคะแนนปรับปรุง ดังนั้น แม้แต่คนที่เรียนอ่อนก็สามารถมีส่วนช่วยทีมได้ ด้วยการพยายามทำคะแนนให้ดีกว่าครั้งก่อนๆ นักเรียนทั้งเก่ง ปานกลาง และอ่อนต่างได้รับการส่งเสริมให้ตั้งใจเรียนให้ดีสุด ผลงานของทุกคนในทีมมีค่าภายใต้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนแบบนี้

สำหรับรูปแบบ STAD เป็นรูปแบบหนึ่งที่ Slavin ได้เสนอไว้ เมื่อปี ค.ศ. 1980 นั้นมี 
องค์ประกอบที่สำคัญ 5 ประการ คือ
      
1.  การนำเสนอสิ่งที่ต้องเรียน (Class Presentation) ครูเป็นผู้นำเสนอสิ่งที่นักเรียนต้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นมโนทัศน์ ทักษะและ/หรือกระบวนการ การนำเสนอสิ่งที่ต้องเรียนนี้อาจใช้การบรรยาย การสาธิตประกอบการบรรยาย การใช้วิดีทัศน์หรือแม้แต่การให้นักเรียนลงมือปฏิบัติการทดลองตามหนังสือเรียน
       2.  การทำงานเป็นกลุ่ม (
Teams) ครูจะแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ แต่ละกลุ่มจะประกอบด้วยนักเรียนประมาณ 4-5 คน ที่มีความสามารถแตกต่างกัน มีทั้งเพศหญิงและเพศชาย และมีหลายเชื้อชาติ ครูต้องชี้แจงให้นักเรียนในกลุ่มได้ทราบถึงหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่มว่านักเรียนต้องช่วยเหลือกัน เรียนร่วมกัน อภิปรายปัญหาร่วมกัน ตรวจสอบคำตอบของงานที่ได้รับมอบหมายและแก้ไขคำตอบร่วมกัน สมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องทำงานให้ดีที่สุดเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ให้กำลังใจและทำงานร่วมกันได้ หลังจากครูจัดกลุ่มเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำงานร่วมกันจากใบงานที่ครูเตรียมไว้ ครูอาจจัดเตรียมใบงานที่มีคำถามสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบทเรียน เพื่อใช้เป็นบทเรียนของการเรียนแบบร่วมมือ ครูควรบอกนักเรียนว่า ใบงานนี้ออกแบบมาให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม เพื่อเตรียมตัวสำหรับการทดสอบย่อย สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะต้องช่วยกันตอบคำถาม เพื่อเตรียมตัวสำหรับการทดสอบย่อย สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะต้องช่วยกันตอบคำถามทุกคำถาม โดยแบ่งกันตอบคำถามเป็นคู่ๆ และเมื่อตอบคำถามเสร็จแล้วก็จะเอาคำตอบมาแลกเปลี่ยนกัน โดยสมาชิกแต่ละคนจะต้องมีความรับผิดชอบซึ่งกันและกันในการตอบคำถามแต่ละข้อให้ได้ ในการกระตุ้นให้สมาชิกแต่ละคนมีความรับผิดชอบซึ่งกันและกันควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
          2.1  ต้องแน่ใจว่าสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มสามารถตอบคำถามแต่ละข้อได้อย่างถูกต้อง
          2.2  ให้นักเรียนช่วยกันตอบคำถามทุกข้อให้ได้โดยไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนนอกกลุ่ม หรือขอความช่วยเหลือจากครูให้น้อยลง
          2.3  ต้องให้แน่ใจว่าสมาชิกแต่ละคนสามารถอธิบายคำตอบแต่ละข้อได้ ถ้าคำถามแต่ละข้อเป็นแบบเลือกตอบ
      3.   การทดสอบย่อย (
Quizzes) หลังจากที่นักเรียนแต่ละกลุ่มทำงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ครูก็ทำการทดสอบย่อยนักเรียน โดยนักเรียนต่างคนต่างทำ เพื่อเป็นการประเมินความรู้ที่ นักเรียนได้เรียนมา สิ่งนี้จะเป็นตัวกระตุ้นความรับผิดชอบของนักเรียน
      4.  คะแนนพัฒนาการของนักเรียนแต่ละคน (
Individual Improvement Score) คะแนนพัฒนาการของนักเรียนจะเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนทำงานหนักขึ้น ในการทดสอบแต่ละครั้งครูจะมีคะแนนพื้นฐาน (Base Score) ซึ่งเป็นคะแนนต่ำสุดของนักเรียนในการทดสอบย่อยแต่ละครั้ง ซึ่งคะแนนพัฒนาการของนักเรียนแต่ละคนได้จากความแตกต่างระหว่างคะแนนพื้นฐาน (คะแนนต่ำสุดในการทดสอบ) กับคะแนนที่นักเรียนสอบได้ในการทดสอบย่อยนั้นๆ ส่วนคะแนนของกลุ่ม (Team Score) ได้จากการรวมคะแนนพัฒนาการของนักเรียนทุกคนในกลุ่มเข้าด้วยกัน
      5.   การรับรองผลงานของกลุ่ม (
Team Recognition) โดยการประกาศคะแนนของกลุ่มแต่ละกลุ่มให้ทราบ พร้อมกับให้คำชมเชย หรือให้ประกาศนียบัตรหรือให้รางวัลกับกลุ่มที่มีคะแนนพัฒนาการของกลุ่มสูงสุด โปรดจำไว้ว่า คะแนนพัฒนาการของนักเรียนแต่ละคนมีความสำคัญเท่าเทียมกับคะแนนที่นักเรียนแต่ละคนได้รับจากการทดสอบ

สำหรับขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นดังนี้
ขั้นที่ 1
        ขั้นสอน ครูดำเนินการสอนเนื้อหา ทักษะหรือวิธีการเกี่ยวกับบทเรียนนั้นๆ อาจเป็นกิจกรรมที่ครูบรรยาย สาธิต ใช้สื่อประกอบการสอน หรือให้นักเรียนทำกิจกรรมการทดลอง
ขั้นที่ 2
        ขั้นทบทวนความรู้เป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิก 4-5 คน ที่มีความสามารถทางการเรียนต่างกัน สมาชิกในกลุ่มต้องมีความเข้าใจว่า สมาชิกทุกคนจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อช่วยเหลือกันและกันในการศึกษาเอกสารและทบทวนความรู้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการสอบย่อย 

ครูเน้นให้นักเรียนทำดังนี้
       ก. ต้องให้แน่ใจว่า สมาชิกทุกคนในกลุ่มสามารถตอบคำถามได้ถูกต้องทุกข้อ
       ข. เมื่อมีข้อสงสัยหรือปัญหา ให้นักเรียนช่วยเหลือกันภายในกลุ่มก่อนที่จะถามครูหรือถามเพื่อนกลุ่มอื่น
       ค. ให้สมาชิกอธิบายเหตุผลของคำตอบของแต่ละคำถามให้ได้ โดยเฉพาะแบบฝึกหัดที่เป็นคำถามปรนัยแบบให้เลือกตอบ
ขั้นที่ 3 
     ขั้นทดสอบย่อย ครูจัดให้นักเรียนทำแบบทดสอบย่อย หลังจากนักเรียนเรียนและทบทวนเป็นกลุ่มเกี่ยวกับเรื่องที่กำหนด นักเรียนทำแบบทดสอบคนเดียวไม่มีการช่วยเหลือกัน
ขั้นที่ 4 
      ขั้นหาคะแนนพัฒนาการ คะแนนพัฒนาการเป็นคะแนนที่ได้จากการพิจารณาความแตกต่างระหว่างคะแนนที่ต่ำสุดการทดสอบครั้งก่อนๆ กับคะแนนที่ได้จากการทดสอบครั้งปัจจุบัน
เมื่อได้คะแนนพัฒนาการของนักเรียนแต่ละคนแล้ว จึงหาคะแนนพัฒนาการของกลุ่ม ซึ่งได้จากการนำคะแนนพัฒนาการของสมาชิกแต่ละคนมารวมกัน หรือหาค่าเฉลี่ยของคะแนนพัฒนาการของสมาชิกทุกคน
ขั้นที่ 5 
       ขั้นให้รางวัลกลุ่ม กลุ่มที่ได้คะแนนปรับปรุงตามเกณฑ์ที่กำหนดจะได้รับคำชมเชยหรือติดประกาศที่บอร์ดในห้องเรียน
 
ตัวอย่างเกณฑ์การได้รับรางวัลมีดังนี้
       คะแนนพัฒนาการเฉลี่ยของกลุ่ม ระดับรางวัล
            15 ดี
            20 ดีมาก
            25 ดีเยี่ยม

*****การจัดกิจกรรมรูปแบบ
STAD อาจนำไปใช้กับบทเรียนใดๆ ก็ได้ เนื่องจากขั้นแรกเป็นการสอนที่ครูดำเนินการตามปกติ แล้วจึงจัดให้มีการทบทวนเป็นกลุ่ม




วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ

การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ

        แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการภาษาอังกฤษในปัจจุบันมีหลายแนวคิด มีทั้งแนวคิดเกี่ยวกับการจัดหลักสูตร แนวคิดเกี่ยวกับแนวการสอน และแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ แนวคิดทั้ง 3 นี้ มีส่วนช่วยครูผู้สอนในการตัดสินใจวางแผนจัดการเรียนการสอน การคัดเลือกกิจกรรมประกอบการเรียนการสอน ตลอดจนเลือกสื่อการเรียนรู้ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับครูผู้สอนที่จะต้องศึกษาทำความเข้าใจเพื่อช่วยให้การสอนของตนเองมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แนวคิดสำคัญที่ครูควรศึกษาทำความเข้าใจมีดังต่อไปนี้ คือ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2548 ก : 101 – 128)
          1. หลักสูตรภาษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Lerner – Centered Language Curriculum)
          2. แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communicative Language Teaching)
          3. การสอนภาษาเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (Language for Specific Purposes)
          4. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning)
          5. การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
          6. การจัดการเรียนการสอนแบบภาษาที่เน้นเนื้อหา (Content-Based Instruction)
          7. การสอนภาษาแบบองค์รวม (Whole Language Approach)
          8. การเรียนรู้จากการทำโครงงาน (Project-Based Learning)
          9. การเรียนรู้ที่เน้นภาระงาน (Task-Based Language)
          10. การสร้างองค์ความรู้ (Constructivism)
         11. วิธีการสอนด้วยการตอบสนองด้วยท่าทาง (Total Physical Response)
         12. การเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบไฟร์แม็ทซิสเต็ม (4 MATS Language System)

กระบวนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ    การที่ครูจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ กระบวนการ มีความสามารถ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่กำหนดเป็นมาตรฐานการเรียนรู้นั้น ครูต้องมีเทคนิค วิธีการ ในการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สรุปว่า ปัญหาที่ครูผู้สอนภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ประสบในการจัดห้องเรียนมี 3 ประการ คือ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2548 ข : 1 – 3)
        1. การสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนอยากเรียน อยากใช้ภาษาอังกฤษในห้อง
        2. การไม่สามารถจัดบรรยากาศในห้องเรียนได้ตามที่คาดหวัง เพราะวัสดุอุปกรณ์ไม่เหมาะ    ไม่เพียงพอ ผู้เรียนมีระดับความรู้ต่างกัน
        3. การแสดงบทบาทของครูในการสอนห้องเรียนเพื่อให้สามารถจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน เพราะมีการเน้นการสอนเนื้อหามากเกินไป
เทคนิควิธีการที่สำคัญที่ครูผู้สอนภาษาอังกฤษควรรู้และนำไปใช้มีดังนี้

การสอนทักษะการฟัง (Listening)    คนมักเข้าใจว่าการฟังเกิดขึ้นเองเมื่อผู้เรียนต้องเผชิญกับภาษานั้นโดยไม่ต้องมีการเรียนการสอน แต่ความจริงแล้วการฟังเพื่อความเข้าใจในการเรียนการสอนภาษาที่สองเป็นทักษะอันดับแรกที่ต้องได้รับการฝึกฝน การสอนฟังอาจใช้การสอนแบบ Bottom up คือ สอนเป็นลำดับขั้นตอน ค่อยเรียนรู้ทีละน้อย จนเกิดความเข้าใจในที่สุด หรืออาจสอนแบบ Top down คือ การให้ผู้เรียนเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ต่อเนื่องจากพื้นฐานหรือประสบการณ์ของตน
    การสอนฟังผู้สอนจะต้องฝึกให้ผู้ฟังสามารถแยกเสียงที่ได้รับฟัง รับรู้ และเข้าใจความหมายเรื่องที่ฟัง วิธีสอนที่ใช้กันทั่วไปในการสอนฟังมีกิจกรรม 3 ขั้นตอน คือ กิจกรรมก่อนฟัง กิจกรรมขณะฟัง และกิจกรรมหลังฟัง (สำนักงานคณะกรรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2548 ข : 12 – 13)


การสอนออกเสียง (Pronunciation)       ครูผู้สอนภาษาอังกฤษส่วนใหญ่จะสอนคำศัพท์ (Vocabulary) ไวยากรณ์ (Grammy) และฝึกผู้เรียนเรื่องการสนทนา ให้ทำกิจกรรมฝึกต่าง ๆ เพื่อให้มีความสามารถในการฟังและอ่านได้ แต่จะสอนเรื่องการออกเสียงอย่างจริงจังน้อย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะรู้สึกอึดอัดที่จะสอนเรื่องการออกเสียง หรืออาจรู้สึกว่าการสอนออกเสียงเป็นการสร้างปัญหาระหว่างการเรียนการสอน จึงมักปล่อยให้นักเรียนฝึกออกเสียงกันเอง ในขณะที่เรียนเรื่องอื่น ๆ แต่แท้จริงแล้วการเน้นสอนออกเสียงไม่เพียงแต่ทำให้ผู้เรียนตระหนักในเรื่องความแตกต่างของเสียง ลักษณะของเสียง และความหมายของเสียงเท่านั้น แต่ยังสามารถพัฒนาทักษะการพูดได้อย่างมาก การให้ความสนใจในเรื่องเสียงที่เปล่งออกมาจากส่วนต่าง ๆ ภายในปาก ทำให้ผู้เรียนรู้ว่าควรลงเสียงหนักเบาในตำแหน่งใดของคำ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจภาษาพูด (Spoken – English) และพัฒนาทักษะความสามารถทางภาษาได้ (สำนักงานคณะกรรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2548 ข : 14)
การสอนออกเสียงมักพบปัญหาที่ครูผู้สอนต้องแก้ไข 3 เรื่อง (สำนักงานคณะกรรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2548 ข : 15 – 16)
          1. สิ่งที่ผู้เรียนได้ยิน เพราะผู้เรียนบางคนไม่สามารถแยกความแตกต่างของเสียง ซึ่งอาจเป็นเพราะเสียงนั้นไม่มีในภาษาเดิมของเขา ทำให้ฟังเสียงที่แตกต่างเป็นเสียงเดียวกัน ผู้สอนต้องพยายามให้เขารับรู้ความแตกต่างของเสียง ซึ่งอาจทำโดยการแสดงแผนภาพ แผนภูมิ การสาธิตและการอธิบาย เพื่อฝึกหูของผู้ฟังทีละน้อย จนกระทั่งเขาสามารถแยกเสียงที่แตกต่างกันได้
          2. การออกเสียงสูง – ต่ำ ผู้สอนต้องให้ผู้เรียนรู้จักการจำแนกอารมณ์ (Moods) และความตั้งใจ (Intention) โดยใช้แถบเสียง (Tape) หรือพูดให้ฟัง เพื่อให้ผู้เรียนสังเกตว่าคนพูดภาษาอังกฤษกันอย่างไรในอารมณ์ ความรู้สึก และสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
           3. ตัวอักษรแทนเสียง (The Phonetics Alphabet) ผู้เรียนภาษาอังกฤษจำนวนมากมีปัญหาในการออกเสียงตัวสะกด จึงจำเป็นต้องรู้จักหน่วยเสียงที่แตกต่างกัน ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการส่งเสริมการรับรู้เหล่านี้คือ การนำเสนอด้วยสัญลักษณ์ (Phonetics Symbol) ซึ่งเมื่อผู้เรียนสามารถอ่านสัญลักษณ์ได้ก็จะสามารถรับรู้ว่าคำถามเหล่านั้นออกเสียงอย่างไร การสอนออกเสียงอาจทำได้หลายลักษณะ เช่น
                   Whole Lessons คือ การที่ครูสอนเน้นเรื่อง Stress และ Intonation ขณะดำเนินกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนฝึกจำรูปแบบการออกเสียงสูง – ต่ำ ออกเสียงวลีที่จำเป็น แล้วพัฒนาต่อไปจนสามารถแสดงละครสั้น ๆ ได้
                  Discrete Slots คือ การแทรกกิจกรรมการออกเสียงสั้น ๆ ไม่ต่อเนื่องกันลงในบทเรียน ทั้งในรูปแบบฝึกเสียงเดี่ยว และฝึกเสียงคู่ที่แตกต่างกัน ในช่วงสั้น ๆ ขณะสอนภาษาอังกฤษ
                  Integrated Phases คือ การที่กำหนดให้การออกเสียงเป็นส่วนหนึ่งของบทเรียน โดยให้ฟังเทปแล้วฝึกออกเสียงตามให้ถูกต้อง
                  Opportunistic Phases เป็นการสอนออกเสียงคำบางคำที่น่าสนใจขณะสอนไวยากรณ์ หรือคำศัพท์ โดยไม่ต้องใช้เวลามาก

การสอนไวยากรณ์ (Grammar)
          ไวยากรณ์ (Grammar) เป็นกระบวนการทางภาษาที่จะควบคุม และรวบรวมคำเพื่อก่อให้เกิดหน่วยของความหมายที่ยาวขึ้น ไวยากรณ์จึงเป็นตัวกำหนดเกณฑ์พื้นฐานของกิจกรรมในห้องเรียนที่มีจุดประสงค์ของการเรียนรู้ชั่วคราว เพื่อให้มองเห็นผลได้ในระยะยาว เพราะการใช้ภาษาได้อย่างคล่องแคล่วควรเกิดขึ้นเมื่อบุคคลได้เรียนรู้ด้วยวิธีการหลากหลายในระยะยาว (สำนักงานคณะกรรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2548 ข : 19 – 20)
การสอนไวยากรณ์ผู้สอนต้องนำเทคนิคการสอนที่หลากหลายมาใช้ในขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอน คือ
                 1. การนำเสนอ (Presentation) การนำเสนอโครงสร้างไวยากรณ์ในบทเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจรูปแบบและความหมาย (Form and Meaning) ทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียน และ
สามารถจำได้ในระยะเวลาสั้น (Take it into Short – term Memory) ครูหรือผู้เรียนอ่านออกเสียงเนื้อเรื่องหรือบทสนทนาสั้น ๆ จากบทเรียนก่อนและให้ผู้เรียนที่เหลือออกเสียง พูดตามสร้างประโยคใหม่จากความจำหรือคัดลอก ตัวอย่างของการใช้ไวยากรณ์จากบทเรียน ในกรณีที่สอนไวยากรณ์ที่ง่าย การนำเสนออาจจะยก ตัวอย่างเพียงแค่หนึ่งหรือสองประโยคเท่านั้น
                   2. สอนเป็นตอน ๆ และการอธิบาย (Isolation and Explanation) ขั้นตอนการ
แยกสอนเป็นเรื่อง ๆ และการอธิบาย ครูจะเน้นในเรื่องส่วนประกอบของไวยากรณ์ในด้านการออกเสียงรูปแบบ ความหมาย และหน้าที่ หรือกฎเกณฑ์ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจประเด็นต่าง ๆ ของโครงสร้างไวยากรณ์ ในบางชั้นเรียนครูอาจจะต้องอธิบาย แปล หรือทำให้เห็นภาพรวมโดยการใช้ภาษาแม่ของผู้เรียน (Native Language) ขั้นตอนนี้อาจจะใช้เวลามากในชั้นเรียน ที่เน้นวิชาการหรือโครงสร้างไวยากรณ์ที่ยาก แต่ครูอาจะใช้เวลาไม่นาน ถ้าเน้นโครงสร้างที่ง่าย หรือสามารถเทียบเคียงกับโครงสร้างไวยากรณ์ของภาษาแม่ของผู้เรียน
                   3. การฝึกฝน (Practice) ขั้นตอนของการฝึก ประกอบด้วยแบบฝึกหัดที่นักเรียนทำ
ทั้งในชั้นเรียนและเป็นการบ้านเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจโครงสร้างได้อย่างลึกซึ้ง หรือเปลี่ยนความรู้ที่จำได้ในช่วงสั้นเป็นความจาระยะยาว (Transfer What They Know from Short-term to Long-term
Memory) ดังนั้นผู้สอนจำเป็น ต้องใช้แบบฝึกหัดที่หลากหลายเพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหา ในกรณีที่
โครงสร้างไวยากรณ์มีกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างยาก ครูจะต้องใช้เวลาในการสอนรูปแบบภาษาเขียนและภาษาพูดโดยไม่เน้นในเรื่องของความหมาย แบบฝึกหัดที่นำมาใช้ควรเป็นแบบเติมคำลงไปในช่องว่างการเขียนประโยคใหม่ตามคำสั่ง และการอภิปราย
                   4. การทดสอบ (Test) การทดสอบเป็นการแสดงให้เห็นถึงระดับความเข้าใจของ
ผู้เรียนว่า ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ภาษาเพียงใด จุดประสงค์หลักของการสอบ คือ การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) แก่ผู้เรียนในสิ่งที่เรียนไปหรือสอนไปแล้ว และขณะเดียวกันการทดสอบทำให้ครูเข้าใจว่าจะสอนอะไรต่อไปหรือจะปรับปรุงแก้ไขอะไร

การสอนเกมทางภาษา (Language games)           เกมทางภาษา หมายถึง กิจกรรมทางภาษาที่จัดขึ้นเพื่อทดสอบ และเสริมสมรรถภาพในการเรียนภาษา โดยเน้นหนักในการผ่อนคลาย เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน และเกิดการเรียนรู้ทั้งในรายบุคคลและสมาชิกในกลุ่ม ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด เรื่องศักดิ์ อำไพพันธ์ (2535 : 1 – 12) กล่าวถึงประโยชน์ และประเภทของเกมทางภาษาว่า เกมทางภาษามีประโยชน์ในการเรียนการสอนมาก เพราะ
                 1. ทำให้เนื้อหากระจ่าง ง่ายต่อการเข้าใจ
                 2. ช่วยเสริมสมรรถภาพในการสอนของครู
                 3. ใช้ทดสอบความรู้ความเข้าใจเนื้อหา
                 4. ช่วยเร้าให้ผู้เรียนสนใจบทเรียน
                 5. ช่วยให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม คนเก่งได้ช่วยเหลือคนอ่อน
                 6. ปรับใช้ได้กับทุกเพศ ทุกวัย
                 7. ใช้ได้ทั้งรายบุคคล เป็นกลุ่ม หรือทั้งชั้นเรียน
                 8. ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนาน กล้าแสดงออก อยากร่วมกิจกรม
                 9. ช่วยเสริมทักษะทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน และสามารถใช้ในทุกลำดับขั้นของการสอน
                 10. ใช้ได้หลายสถานการณ์ ทั้งในห้องเรียน กิจกรรมชมรม งานสร้างสรรค์ การทัศนาจร

เกมทางภาษาแบ่งได้เป็น              1. Number Games เกมที่เสริมความรู้ ฝึกความจำ ตลอดจนปฏิภาณและความเร็วในการคิดเกี่ยวกับตัวเลข
              2. Vocabulary Games เกมที่ใช้ทดสอบความจำและความรู้เดิมด้านภาษา ทั้งการออกเสียง การสะกดคำ ความหมาย และ part of speech
              3. Structure Games เกมที่ฝึกเกี่ยวกับเนื้อหาและโครงสร้างของภาษา
              4. Spelling Games เกมที่ช่วยเสริมความสามารถในการจำคำศัพท์และเขียนคำศัพท์ได้ ถูกต้อง
              5. Conversation Games เกมที่ช่วยสรุปเนื้อหาระหว่างผู้พูดและผู้ฟังให้สามารถเก็บใจความและสื่อความหมาย
              6. Writing Games เกมที่ช่วยเสริมทักษะในการเขียนMiscellaneous Games เกมที่แยกออกมาเป็นกลุ่มพิเศษ ผู้สอนสามารถประยุกต์ใช้เป็นกิจกรรมพิเศษนอกห้องเรียน เช่น การแสดงบทบาทสมมติ การเล่นละคร การโต้วาที กิจกรรมในงานสังสรรค์ เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2557

โปรแกรม เปลี่ยนสีโฟลเดอร์

โปรแกรม เปลี่ยนสีโฟลเดอร์ 
หากคุณต้องการเปลี่ยนสีโฟลเดอร์ โหลดได้ตามลิงค์

http://downloads.ziddu.com/download/23662031/changecoloroffolder.exe.html

วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

คุณธรรม-จริยธรรมสำหรับนักบริหารที่ดี

คุณธรรม-จริยธรรมสำหรับนักบริหาร
เชี่ยวชาญ  ภาระวงค์

คุณธรรมคืออะไร

คุณธรรม เป็นคำ สมาส มีลักษณะเป็นคำนาม มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน ปี พ.. 2542 หน้า 253 หมายถึง สภาพคุณงามความดี เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ที่ถือครองอยู่เมื่อนำ คำว่าคุณธรรมไปประกอบกับลักษณะนามที่เป็นบุคคล เช่น ครู นักเรียน ข้าราชการ นักธุรกิจคุณธรรม หมายถึง คุณงามความดีที่บุคคลนั้น ๆ มีอยู่ เป็นความดีที่ทำให้ผู้ที่ถือครองอยู่ มีความสงบ มีความสุข และมากด้วยกัลยาณมิตร เนื่องคุณงามความดีที่บุคคลนั้นมีอยู่เป็นสิ่งที่ไม่เกิดโทษ ไม่เป็นผลเสียแก่ผู้ที่ถือครอง ในทางตรงกันข้ามกลับเป็นสภาวะที่ทำให้บุคคลไม่เบียดเบียนตนเอง เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นคุณธรรมจึงเป็นสิ่งที่มีค่า มีประโยชน์ยิ่งสำหรับผู้ที่ถือครอง คำว่าคุณธรรมโดยความหมายแล้วจะมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่าจริยธรรมซึ่งหมายถึงธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม ที่เป็นความดีความงาม เป็นสิ่งที่ควรกระทำ โดยปกติเรามักจะคิดอย่างคนทั่ว ๆ ไป ว่าจริยธรรมและคุณธรรมเป็นสิ่งเดียวกัน คือ เป็นความดีความงามเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ คำสองคำนี้จึงใช้ทดแทนกันในบางครั้ง อย่างไรก็ตามเมื่อนำคำ 2 คำนี้ ไปเทียบเคียงกับภาษาอังกฤษ จะพบว่า คำว่า คุณธรรม จะตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “Merit” ส่วนคำว่า จริยธรรม จะตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “Ethics” เมื่อพิจารณาจากความหมายตามคำ “Merit” เป็นคุณสมบัติภายในของบุคคลแต่ละคน ในทางสังคมวิทยาและจิตวิทยาคุณธรรมเป็นสภาวะที่บุคคลมีอยู่ในตนโดยกำเนิดและโดยการขัดเกลาทางสังคม ที่เป็นสภาวะโดยกำเนิด หมายถึง คุณสมบัติทางจิต ที่บุคคลมีอยู่ตามพื้นฐานของจิต ในทางพุทธศาสนา พื้นฐานของจิตมนุษย์ 2 ลักษณะมักจะถูกกล่าวอ้างบ่อยครั้ง คือ จิตที่ใฝ่ดี กับจิตที่ใฝ่ต่ำคุณธรรมเป็นสภาวะใฝ่ดีของจิตสำหรับ จริยธรรม นักสังคมวิทยาจะมองเป็นบรรทัดฐานประเภทหนึ่ง ที่ถูกสร้างขึ้นมาแล้วนำไปใช้กับบุคคลเป็นแนวทางที่คนในสังคมเห็นพ้องต้องกันว่าเป็นความดี ความงามเป็นสิ่งที่กระทำแล้วคนอื่นเกิดประโยชน์ มีความสุขสงบเกิดขึ้นแก่คนที่อยู่รวมกันเป็นหมู่คณะ โดยนัยนี้ จริยธรรมจึงเป็นสิ่งที่อยู่ภายนอกเป็นเครื่องมือที่ใช้เป็นแนวทางในการสร้างความมีคุณธรรมให้กับบุคคล 

นักบริหาร คือ ใคร

นักบริหาร คือผู้นำองค์การที่มีความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์การ นักบริหารจึงจำเป็นจะต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลปแห่งการบริหารที่จะสามารถจูงใจให้ผู้ร่วมงานร่วมดำเนินการอย่างมุ่งมั่นจนบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์การ ดังนั้น การสร้างหรือพัฒนานักบริหารให้ทำหน้าที่เป็นผู้นำหรือผู้บริหารองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นกระบวนการที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาองค์การและประเทศให้รุดหน้าไปได้โดยรวดเร็วและประหยัดในยุคแรก ๆ ที่มีการพัฒนาศาสตร์เกี่ยวกับการจัดการนักบริหารในทัศนะของนักสังคมศาสตร์สาขาการจัดการ หมายถึงผู้ที่วางแผนเกี่ยวกับงาน เงิน เทคโนโลยี และคน เป็นผู้ที่กำหนดโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในองค์การ เป็นผู้ที่ประสานงานให้เกิดความร่วมมือระหว่างสมาชิกในองค์การนักบริหารในยุคแรกไม่จำเป็นต้องปรับตนเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะการแข่งขันมีน้อย เนื่องจากมีผู้ผลิตไม่มาก ทรัพยากรธรรมชาติมีอย่างเหลือเฟือ มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมขององค์การค่อนข้างช้านักบริหารจึงหมายถึง นักจัดการ (Manager) ซึ่งมีหน้าที่จัดการทรัพยากรที่มี (คน เงิน วัตถุดิบ ที่ดิน และ ฯลฯ) ให้สามารถผลิตสินค้าและบริการด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด เป็นบุคคลที่พยายามทำสิ่งต่าง ๆ ให้ถูกต้อง (Managers do thing right) เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุดในยุคโลกาภิวัตน์ที่มีสภาพแวดล้อมทางธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปมาก อันเนื่องมาจากการเทคโนโลยีการสื่อสารและการจัดระเบียบของประชาคมโลก ส่งผลให้มีการแข่งขันอย่างไร้พรหมแดนสูงมาก องค์การจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ การให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงบทบาทของนักบริหารในฐานะผู้ควบคุมสั่งการ (Director) มาเป็นผู้ให้การสนับสนุน (Facilitator) เปลี่ยนจากการแข่งขันมาเป็นการร่วมมือ (Collaboration) ลดการให้ความสำคัญกับวัตถุมาให้ความสำคัญกับคน และท้ายที่สุดเปลี่ยนแปลงจากความเหมือนมาเป็นความหลากหลายในองค์การการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้องค์การต้องการนักบริหารที่เป็นผู้นำ” (Leader) มากกว่าผู้จัดการ” (Manager) นักบริหารที่เป็นผู้นำ หมายถึง บุคคลที่ทำหน้าที่ทำสิ่งที่ดีที่ถูกต้อง (Leaders do the right thing) ให้กับองค์การ การเป็นผู้บริหารในยุคโลกาภิวัตน์จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีคุณธรรมทั้งนี้เพราะองค์การในยุคสมัยใหม่ (New society) ซึ่งเป็นองค์การที่ใช้ความรู้เป็นพื้นฐาน (Knowledge based organization) มีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา (Learning organization) มุ่งแสวงหาความเป็นเลิศ (In search for excellent) มีความโปร่งใส (Transparent) และมีความเป็นมาตรฐาน (Standardization) การที่ผู้บริหารจะทำให้องค์การประสบความสำเร็จในสังคมสมัยใหม่ได้ จึงจำเป็นที่ต้องใช้คุณธรรมและจริยธรรมพื้นฐานสำคัญ และเป็นสิ่งที่ผู้บริหารจะต้องทำให้เกิดขึ้นเป็นวัฒนธรรมขององค์การตามหลักวิชาการบริหารสมัยใหม่ นักบริหารผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จต้องมีคุณลักษณะที่ดีหลายประการ เช่น มีสุขภาพที่ดี มีประสบการณ์ในงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีความกล้าในการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล มีความอดทน มีความสามารถในการสื่อสารกับผู้ร่วมงานในทุกระดับได้ดี มีมนุษยสัมพันธ์ดีมีบุคลิกภาพดี อ่อนน้อมถ่อมตน มีความจงรักภักดีต่อองค์การ และ ฯลฯ
คุณลักษณะที่ดีหลากหลายประการดังกล่าวนี้ โดยหลักพุทธศาสนา ผู้บริหารหรือนายที่ดีต้องมี ศีล สมาธิ และปัญญา กล่าวคือ เป็นคนที่มีศีลกำกับตัวกำกับใจ เพื่อให้มีความรู้จักผิด ชอบ ชั่ว ดี ทำให้รู้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ การมีสมาธิที่ดี จะทำให้ผู้บริหารมุ่งมั่นในการทำงานได้สำเร็จอย่างมีสติด้วยดีและรวดเร็ว การใช้ปัญญาหรือความรอบรู้ที่ชอบด้วยเหตุและผลอันกว้างไกล ทำให้สามารถแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้ดีกว่าคู่แข่ง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อความอยู่รอด ความมั่นคง และการพัฒนาองค์การอย่างมีประสิทธิภาพในท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็วและรุนแรง นอกจากนี้หลักการของศาสนาอื่น ๆ ก็สมควรจะนำมาใช้ได้ในบริบทของแต่ละศาสนา เช่นเดียวกับพุทธศาสนา
หลักพื้นฐานในส่วนหน้าที่เฉพาะของผู้บริหาร 5 ประการตามที่ศาสตราจารย์ ปีเตอร์ ดรักเกอร์ ได้วางไว้ประกอบด้วย
    1. เป็นผู้กำหนดเป้าหมาย
    2. จัดตั้งองค์การและวางระเบียบปฏิบัติให้เหมาะสม
    3. กระตุ้นให้พนักงานทำงานด้วยการสื่อสารภายในระหว่างผู้บริหารกับพนักงาน
    4. ติดตามวัดผลในสิ่งที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายหรือต้องแก้ไข
    5. พัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้บริหารเองด้วย
และเมื่อผู้บริหารท่านนั้นเป็นผู้บริหารที่เป็น CEO หรือผู้บริหารระดับสูง จะมีหน้าที่เฉพาะเพิ่มขึ้นอีก 6 ประการ คือ
    1. เป็นผู้กำหนดพันธกิจขององค์การให้ชัดเจน
    2. วางมาตรฐานในการปฏิบัติงาน
    3. ดูแลการจัดระเบียบทรัพยากรณ์มนุษย์
    4. พัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานภายนอก
    5. รับใช้สังคมหรือมีบทบาททางสังคมอื่น ๆ
    6. เลือกจับงานสำคัญในจังหวะเวลาที่เหมาะสม

การสร้างจริยธรรมเป็นวัฒนธรรมขององค์การ

ศัพท์ที่เรามักจะได้ยินบ่อยในวงของกลุ่มนักบริหาร คงไม่เกิน คำว่า ธรรมาภิบาลหรือ Good Governance ซึ่งหมายถึง การบริหารองค์การหรือประเทศโดยตั้งมั่นอยู่ในความดีงาม ความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ ประเมินคุณภาพได้ หลักการ ธรรมาภิบาลจึงเป็นหลักการของการสร้างจริยธรรมในองค์การ โดยการใช้ธรรมาธิปไตยในการบริหาร ซึ่งหมายถึง การยึดถือธรรมและความสำเร็จของงานเป็นที่ตั้ง ผู้บริหารลักษณะนี้จะยินดีรับฟัง คำแนะนำจากทุกฝ่าย ใช้คนทั้งที่เป็นมิตรและศัตรู ยอมรับความผิดพลาดของตนเอง ใช้ทั้งพระเดชและพระคุณในการบริหารคนเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายผู้บริหารแบบนี้จะแสดงบทบาทของผู้ให้บริการ (Stewardship) แก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา โดยสนับสนุนแนวคิดที่ว่า ผู้บริหารที่ดีต้องรับผิดและชอบ (Accountability) ต่อผู้อื่นและองค์การ ไม่ปรารถนาจะควบคุมผู้อื่นในลักษณะของเผด็จการ รู้จักกำหนดบทบาทและเป้าหมายที่ชัดเจน และดูแลผู้อื่นด้วยความใส่ใจ สิ่งสำคัญที่สุดของผู้บริหารประเภทนี้คือ ต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติ (Double Standard) คือคิดอย่าง พูดอย่างแล้วทำอีกอย่าง ดั่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเตือนหมู่ข้าราชการ นักธุรกิจ และประชาชนชาวไทยทั่วประเทศ เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนม์พรรษา วันที่ 4 ธันวาคม 2544 ผู้บริหารที่เป็นผู้นำที่ดีจึงเป็นต้นแบบสำคัญในการสร้างจริยธรรมคุณธรรมให้กับสมาชิกในองค์การ องค์การจะมีวัฒนธรรมที่มีจริยธรรมหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการมีจริยธรรมคุณธรรมของผู้บริหาร

คุณธรรมอะไรบ้างที่ผู้บริหารควรมี
คุณธรรมของบุคคลในสังคม

               ตามความเป็นจริงของสังคม ผู้บริหารต้องเป็นบุคคลที่มีความสามารถในหลายด้านที่เหนือกว่าคนทั่วไปดังนั้นผู้บริหารจึงต้องเป็นคนดีของสังคม และเกือบทุกสังคมจะยึดหลักการของศาสนามาเป็นพื้นฐานของความดีความงามในการอยู่ร่วมกัน แต่ในหลายกรณีก็อาจมีการปลูกฝังคติธรรมของสังคมโดยไม่ยึดโยงกับศาสนาโดยตรง เช่น ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นชนชาติที่มีจริยธรรมสูงมากประเทศหนึ่ง ปลูกฝังคติธรรม ตั้งแต่เด็กอย่างน้อยที่สุด 7 ประการ เพื่อให้เกิด การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรมซึ่งเป็นคุณธรรมที่สูงกว่าความซื่อสัตย์สุจริต คือ
                   • การมีสัจจะ ต้องพูดความจริง (Truth)
                   • มีความซื่อสัตย์สุจริต (Honesty)
                   • มีความรับผิดชอบในหน้าที่ (Sense of Duty)
                   • มีความอดกลั้น (Patience)
                   • มีความเป็นธรรม (Fair Play)
                   • มีการเข้าใจผู้อื่น รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Consideration for Others)
                   • มีความเมตตา (Kindness)
           คุณธรรมจริยธรรมส่วนใหญ่สำหรับคนไทยจะเกิดจากการประยุกต์เอาคำสอนในพระพุทธศาสนาเป็นหลัก ผู้บริหารเป็นบุคคลธรรมดาที่มีครอบครัว จึงเป็นฆราวาสที่มีภาระหน้าที่รับผิดชอบต่อครอบครัวและสังคมให้มีความเป็นปกติสุข ดังนั้นจึงสมควรอย่างยิ่งที่นักบริหารต้องสนใจศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมของฆราวาสเป็นเบื้องต้น เพื่อบริหารครอบครัวและบริหารองค์การให้บรรลุเป้าหมายทั้งที่เป็นส่วนตัว องค์การ และสังคมโดยรวม

           ฆราวาสธรรม 4 (Virtues for a good Household life ; Virtues for Lay people) เป็นธรรมสำหรับผู้ครองเรือน ประกอบด้วย
               สัจจะ (Truth and Honesty) คือ ความจริง ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริงทำจริง - เน้นการมีศีล
               ทมะ (Taming and Traing Oneself ; Adjustment) คือ การฝึกฝน การข่มใจ ฝึกหัดดัดนิสัยปรับตัว แก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงตนให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา - เน้นการมีใช้ปัญญา
               ขันติ (Tolerance ; Forbearance) คือ ความอดทน ตั้งหน้าทำการงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง ไม่หวั่นไหว มั่นในจุดหมายไม่ท้อถอย - เน้นความเพียร
               จาคะ (Liberality ; Generosity) คือ ความเสียสละ สละความสุขสบายและผลประโยชน์ส่วนตัวได้ ใจกว้าง พร้อมที่จะรับฟัง ความทุกข์ ความคิดเห็น และความต้องการของผู้อื่นพร้อมที่จะร่วมมือช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่คับแคบเห็นแก่ตน หรือเอาแต่ใจตัว - เน้นการเสียสละ
           ธรรมทั้ง 4 ประการนี้ ผู้ครองเรือนทุกคนจำเป็นต้องฝึกปฏิบัติให้เป็นนิสัย เพื่อป้องกันตนเองจากการทุจริตคิดมิชอบ โดยมีจิตใจที่มั่นคงไม่หวั่นไหวไปตามกิเลสตัณหา และมีหิริโอตัปปะ ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป การจะประพฤติปฏิบัติให้ได้ผล บุคคลจะต้องรักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์ และมีการเตือนสติด้วยการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ จึงจะมีปัญญาความรู้ในการพัฒนาจิตใจของตนเองสู่การเป็นฆราวาสโดยสมบูรณ์สำหรับผู้บริหารควรต้องมีธรรมะที่สูงกว่าฆราวาสธรรม อันนำไปสู่ความสำเร็จในการควบคุมตนเองคือ สัปปุริสธรรม (Qualities of a good man ; Virtues of a Gentleman) ซึ่งก็คือธรรมะสำหรับสัตบุรุษ หรือผู้สงบระงับ หรือธรรมะของผู้ดี ประกอบด้วย
               ธัมมัญญุตา (Knowing the law ; Knowing the cause) แปลว่า รู้จักธรรมชาติและรู้จักเหตุ หมายความว่า รู้หลักตามจริงของธรรมชาติ รู้หลักการ กฎเกณฑ์ แบบแผน หน้าที่ ซึ่งจะเป็นเหตุให้กระทำการได้สำเร็จผลตามความมุ่งหมาย
               อัตถัญญุตา (Knowing the meaning ; Knowing the purpose ; Knowing the Consequence) แปลว่า รู้ความมุ่งหมายและรู้จักผล หมายความว่า รู้ความหมายและความมุ่งหมาย และ รู้ผลที่ประสงค์ของกิจที่กระทำ
               อัตตัญญุตา (Knowing oneself) แปลว่า รู้จักตน หมายความว่า รู้ฐานะ ภาวะ เพศ กำลังความรู้ ความถนัด ความสามารถและคุณธรรม ของตนตามจริง เพื่อประพฤติปฏิบัติได้เหมาะสมและให้เกิดผลดี
               มัตตัญญุตา (Moderation ; Knowing how to be temperate) แปลว่า รู้จักประมาณ หมายความว่า รู้จักความพอเหมาะพอดี
               กาลัญญุตา (Knowing the proper time ; Knowing how to choose and keep time) แปลว่า รู้จักกาล หมายความว่า รู้ว่าเวลาไหน ควรทำอะไร
               ปริสัญญุตา (Knowing the assembly ; Knowing the society) แปลว่า รู้จักชุมชน หมายความว่า รู้จักถิ่น รู้จักมารยาท ระเบียบวินัย ขนบธรรมเนียม ประเพณี และข้อควร
ปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม
               ปุคคลัญญุตา (Knowing the individual ; Knowing the different individuals) แปลว่า รู้จักบุคคล หมายความว่า รู้จักความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยอัธยาศัย ความสามารถและคุณธรรม เพื่อปฏิบัติต่อผู้นั้นโดยถูกต้อง
           ธรรมะชุดนี้สามารถท่องจำได้ง่าย ๆ ว่า รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักกาล รู้จักบริษัทรู้จักบุคคล ซึ่งเมื่อมีความรู้ถูกต้องในสิ่งเหล่านี้แล้ว ไม่มีทางที่จะทำอะไรผิดหรือล้มเหลว มีแต่ตจะสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่ตนเองและผู้อื่น
           ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุเคยบรรยายธรรมที่น่าสนใจว่า ธรรมชีวี คือ การมีความประพฤติการกระทำที่เป็นธรรมะอยู่กับเนื้อกับตัว เป็นชีวิตจิตใจนั่นแหละมีธรรมเป็นชีวิต จะมีความถูกต้องอยู่ตลอดกาล ดังนั้นการดำเนินชีวิตอย่างฆราวาสด้วยระบบธรรมชีวีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งที่สามารถป้องกันการเป็นฆราวาสประเภทจมปลักอยู่ใน อบายมุข 6 ซึ่งเป็นปากทางแห่งความทุกข์ อันได้แก่
               ดื่มน้ำเมา ที่นำสู่การขาดสติรับผิดชอบ บทบาทหน้าที่ในครอบครัวการงานและสังคม
               เที่ยวกลางคืน ที่จะกระตุ้นความรู้สึกของอายตนะ 6 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ให้หลงไปสู่ความเสื่อมทั้งการงานและสุขภาพ
               ดูการเล่น เพลิดเพลินในการแสดง จนเป็นเหตุให้สูญเสียทั้งเวลาและเงินทอง
               เล่นการพนัน ซึ่งมีลักษณะที่ท่านกล่าวว่า เหมือนผีสิง คือทำให้หลงเพลิดเพลินเล่นการพนันเสียจนทำให้ยากจนยิ่งกว่า หมดเนื้อหมดตัว
               คบเพื่อนชั่ว ที่จะชักนำให้ประกอบกิจกรรมของความชั่ว ความไม่ดีตามกลุ่มดังคติ คบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล
               เกียจคร้านการงาน เป็นเรื่องตรงกันข้ามกับการทำงานคือ การปฏิบัติธรรม ที่มีแต่จะนำไปสู่ความอ่อนด้วยทั้งสติ ปัญญา และประสบการณ์
              อบายมุขทั้ง 6 ข้อ ดังกล่าวจะนำไปสู่ความยากจน ขัดสน การเบียดเบียนตนเองและผู้ที่อยู่รอบข้างตลอดจนความเสื่อมทางสุขภาพอนามัย อันเป็นต้นเหตุของความทุกข์ในครอบครัว และหากเป็นผู้บริหารที่ติดอยู่ในอบายมุขดังกล่าว ย่อมง่ายต่อการที่จะก้าวไปสู่การกระทำทุจริตคิดมิชอบเพื่อให้ตัวเองคงอยู่ได้
           หลักธรรมของพุทธศาสนายังมีความละเอียดลึกซึ้ง เพื่อนำไปสู่การประพฤติดี ประพฤติชอบ
กล่าวคือ หน้าที่รับผิดชอบของมนุษย์โดยตรงต่อ ทิศทั้ง 6” ซึ่งพระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่า เป็นทิศที่จะต้องดูแล อย่าให้มีอะไรบกพร่อง เพื่อปิดกั้นทุกข์ที่จะเกิดขึ้น ได้แก่
               ทิศเบื้องหน้า คือ บิดา มารดา ที่กุลบุตรกุลธิดา ต้องสงเคราะห์เพื่อตอบแทนพระคุณอย่างสูงสุด
               ทิศเบื้องหลัง คือ บุตร ภรรยา ที่จะต้องดูแล ส่งเสริมให้มีความสุขและความเจริญในสังคม
               ทิศเบื้องซ้าย คือ มิตรสหาย ที่จะต้องเกื้อกูลและพัฒนาไปสู่การเป็นกัลยาณมิตร
               ทิศเบื้องขวา คือ ครูบาอาจารย์ ที่จะต้องตอบแทนท่านด้วยความเคารพ เชื่อฟังและกตัญญู
               ทิศเบื้องบน คือ สมณะ ที่ต้องปฏิบัติต่อท่านให้เหมาะสม เพื่อที่จะได้เผยแพร่ ธรรมะ ให้ฆราวาสได้มีปัญญา ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามหลักพุทธศาสนา
               ทิศเบื้องล่าง คือ ผู้ที่มีฐานะต่ำกว่า คือ ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ที่ผู้บริหารจะต้องรับผิดชอบ ดูแลให้ได้ทั้งใจและงาน
           ดังนั้น จะเห็นได้ว่าผู้ที่ไม่บกพร่องหรือปฏิบัติอย่างดีในการดูแล ทิศทั้ง 6 ดังกล่าว ย่อมจะห่างไกลจากปัญหาแห่งความทุกข์ ความเสื่อมเสียทั้งในที่แจ้งหรือที่ลับ ในการป้องกันนักบริหารจาก อบายมุข 6 และบำรุงทิศทั้ง 6 ได้อย่างสมบูรณ์นั้น ต้องประกอบด้วยหลักธรรมหรือแนวปฏิบัติอื่น ๆ อีก