โลกาภิวัตน์ : ความคงอยู่หรือเลือนหายของคุณธรรม
จริยธรรมของคนไทย
นายเชี่ยวชาญ ภาระวงค์
นักศึกษาปริญญาเอกสาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร
********************************************************************************
สถานการณ์และสภาพบ้านเมืองของประเทศในปัจจุบัน
เป็นหลักฐานที่ประจักษ์โดยทั่วกันแล้วว่าการที่ประเทศมุ่งพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจอย่างมาก
แม้จะก่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ และความเจริญทางวัตถุอย่างเห็นได้ชัด แต่ความเจริญและการพัฒนานั้นก็มิได้เป็นไปอย่างยั่งยืน
นอกจากนั้น การพัฒนาประเทศโดยมุ่งความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว
โดยขาดความสมดุลกับการพัฒนาทางด้านจิตใจ เป็นที่มาของปัญหาสังคมที่ดูเหมือนจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
เช่น ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง
ปัญหาแหล่งอบายมุข แหล่งเสื่อมโทรม โสเภณีเด็ก การใช้แรงงาน การละเมิดสิทธิเด็ก ปัญหามลภาวะ
ปัญหาการจราจรและอุบัติเหตุ รวมทั้งปัญหาสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจ การเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมในสังคมปัจจุบันลดลง
ประชาชนและเยาวชนจำนวนมากที่ไม่เห็นความสำคัญของคุณธรรมจริยธรรมเท่าที่ควร ไม่ยึดมั่นในคุณธรรม
และไม่ประพฤติปฏิบัติตามจริยธรรม ทำให้สังคมมีปัญหา มีความเจริญทางด้านวัตถุแต่มีความเสื่อมโทรมทางจิตใจ
ในปัจจุบันค่านิยมบางอย่างได้เปลี่ยนแปลงไป ก่อนนี้สังคมยกย่องคนที่มีคุณธรรม คนที่ประพฤติผิด ในศีลธรรมจะถูกประณาม ไม่มีใครอยากคบหา แต่ในปัจจุบันสังคมกลับยกย่องคนที่มีเงิน
คนที่มีตำแหน่งสูง และคนที่มีชื่อเสียง แม้ว่าคนเหล่านั้นจะประพฤติผิดศีลธรรมก็ตาม
ยุคโลกาภิวัตน์มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร
ยุคโลกไร้พรมแดน โลกข้อมูลข่าวสารจึงมีอิทธิพลต่อความคิด จิตใจ และพฤติกรรมของมนุษย์มากขึ้น
คนไทยเป็นจำนวนไม่น้อยได้ตกเป็นเหยื่อของข้อมูลข่าวสารและการโฆษณา ถูกอิทธิพลของวัฒนธรรมและค่านิยมจากต่างชาติครอบงำ
ลุ่มหลงในวัฒนธรรมและค่านิยมของต่างประเทศ ไม่สนใจในคำสอนของศาสนาและวัฒนธรรมไทย ทำให้คนมุ่งแสวงหาแต่ความสุขทางวัตถุ
มีความเห็นแก่ตัวมากยิ่งขึ้น ขาดความเอื้ออาทร ขาดความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่เห็นความสำคัญของศาสนา
และขาดคุณธรรม จริยธรรม ไม่เชื่อในเรื่องของกฎแห่งกรรม เหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาที่เป็นผลพวงของการพัฒนาทางวัตถุอย่างขาดความสมดุลกับการพัฒนาทางจิตใจ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทยเรา มีพระบรมราโชวาทแก่พสกนิกรของพระองค์ท่านในหลาย
ๆ ครั้ง ก็จะมีคำว่า “คุณธรรม”
“คนดี” “ความซื่อสัตย์” อยู่เสมอ
ดังเช่น พระบรมราโชวาทพระราชทานเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2525
เนื่องในพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์
200 ปี และพระบรม-ราโชวาทพระราชทานเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2549 ในพระราชพิธีเสด็จออกมหาสมาคม รับการถวายพระพรชัยมงคล
ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม ก็คือคุณธรรม 4 ประการ ซึ่งถือเป็นคุณธรรมประจำชาติที่คนไทยทุกคนควรจะน้อมนำไปปฏิบัติต่อตนเองและปลูกฝังให้เกิดกับบุตรหลานทุกคน
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จพระบูรพ-มหากษัตริยาธิราชเจ้า
: 5
เมษายน 2525
ประการแรก คือ การรักษาสัจ ความจริงใจต่อตัวเอง ที่จะประพฤติปฏิบัติแต่ส่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
ประการที่สอง คือ การรู้จักข่มใจตัวเอง ฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในสัจความดีนั้น
ประการที่สาม คือ การอดทน อดกลั้น
และอดออมที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจ สุจริต ไม่ว่าด้วยเหตุประการใด
ประการที่สี่ คือ การรู้จักละวางความชั่ว
ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่
ของบ้านเมือง
พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมเมื่อวันศุกร์ที่
9 มิถุนายน 2549
ประการแรก คือ การที่ทุกคนคิดพูดทำด้วยความเมตตา มุ่งดีมุ่งเจริญต่อกายต่อใจต่อกัน
ประการที่สอง คือ การที่แต่ละคนต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประสานงานประสานประโยชน์กัน ให้งานที่ทำสำเร็จผลทั้งแก่ตนและผู้อื่นและแก่ประเทศชาติ
ประการที่สาม คือ การที่ทุกคน ประพฤติปฏิบัติตนสุจริตในกฎกติกาและในระเบียบแบบแผนโดยเท่าเทียมเสมอกัน
ประการที่สี่ การที่ต่างคนต่างพยายามทำความคิดความเห็นของตนให้ถูกต้องเที่ยงตรงและมั่นคง อยู่ในเหตุผล หากความคิดจิตใจ
และการประพฤตปฏิบัติที่ลงรอยเดียวกัน ในทางที่ดีที่เจริญนี้ยังมีพร้อมมูลในกายในใจคนไทย
ก็มั่นใจว่าประเทศชาติไทยจะดำรงมั่งคงอยู่ไปได้
คุณธรรม ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน
พ.ศ. 2525 หมายถึง
“สภาพคุณงามความดี” พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ของพระธรรมปิฎก
(ประยุทธ์ ปยุตโต) หมายถึง “ธรรมที่เป็นคุณความดีงาม สภาพที่เกื้อหนุน" คุณธรรมเป็นกุศลธรรม
เป็นธรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์และความสุข เป็นธรรมอันพึงเจริญ คือทำให้เกิดมีขึ้น
จริยธรรม ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. 2525 หมายถึง
“ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม “กลุ่มอาชีพต่างๆมักจะนำจริยธรรม หรือความประพฤติที่เหมาะสมสำหรับบุคคลที่อยู่ในอาชีพนั้นมาประมวลเข้าด้วยกัน
เรียกว่า จรรยาบรรณ หรือประมวลจริยธรรม เพื่อให้บุคคลในกลุ่มอาชีพนั้นปฏิบัติตาม เป็นการรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ
ชื่อเสียงและฐานะของผู้อยู่ในกลุ่มอาชีพนั้น เช่น จรรยาบรรณของแพทย์ จรรยาบรรณของครู
จรรยาบรรณของนักสังคมสงเคราะห์ จรรยาบรรณของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม จรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน
“คุณธรรมเป็นนามธรรม” เป็นเรื่องของกุศลกรรมที่ควรปลูกฝังในจิตใจ
เป็นสิ่งที่อยู่ภายใน เกี่ยวข้องกับการคิด ส่วน “จริยธรรมเป็นรูปธรรม”
เป็นเรื่องของความประพฤติ หรือพฤติกรรมที่ดีงามที่แสดงออก ที่ควรเสริมสร้างให้เกิดขึ้น
“คุณธรรมและจริยธรรมจึงเป็นของคู่กัน” และมักใช้ประกอบกัน
คุณธรรมเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดจริยธรรม จริยธรรมจะเป็นผลของการมีคุณธรรม ผู้ใดที่มีคุณธรรม
ความซื่อสัตย์สุจริต ผู้นั้นจะมีจริยธรรม ไม่ลักทรัพย์ ไม่ทุจริตคอรัปชั่น ผู้ใดมีคุณธรรม
ความเมตตากรุณา ผู้นั้นจะมีจริยธรรม ชอบช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก มีความเอื้ออาทรต่อผู้อื่นผู้ที่ได้รับความเดือดรอน
ไม่ฆ่าสัตว์และไม่เบียดเบียนสัตว์
จิตที่ฝึกอบรมดีแล้ว
มีความยึดมั่นในคุณธรรม จนเกิดเป็นจิตสำนึกและมโนธรรม มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี รู้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ ย่อมทำให้เกิดความประพฤติ หรือพฤติกรรมที่ดีงามทั้งทางกายและทางวาจา
เป็นผู้พูดเป็นและพูดชอบ เป็นผู้ทำเป็น และทำชอบ ดังนั้นหากคนเราเป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรมแล้ว
จะเป็นคนที่สมบูรณ์ได้
พระพุทธศาสนาสอนไว้ว่า
คนเราควรอยู่ในสังคมโดยต้องมีคุณธรรม ๑๐ ประการ ดังนี้
๑. การให้ (ทาน) คือ การสละทรัพย์สิ่งของเพื่อช่วยเหลือ สมาชิกของหมู่คณะที่ด้อยและอ่อนแอกว่าผู้อื่น
๒. การตั้งอยู่ในศีล
(ศีล) คือ มีความประพฤติที่ดีงาม เป็นตัวอย่างที่ดีแก่คนทั่วไปได้
ในหมู่คณะใดสังคมใดก็ตาม ถ้าคนส่วนใหญ่ไม่ตั้งอยู่ในศีล มีแต่ทุจริตเบียดเบียนกัน สังคมนั้นจะอยู่ไม่ได้
จะต้องถึงความหายนะในที่สุด นักปกครองนั้นอยู่บนที่สูง ใคร ๆ ก็เห็นได้โดยง่าย ไม่ว่าจะเป็นด้านดีด้านชั่ว
๓. การบริจาค (ปริจาคะ) คือ การเสียสละความสุขสำราญของตน เพื่อประโยชน์สุขของหมู่คณะ
ผู้ที่เป็นหัวหน้าหรือผู้ปกครอง ย่อมมีภาระหน้าที่ความรับผิดชอบมาก
ต้องใช้เวลากับงานหน้าที่ของตน หมั่นสอบถามความทุกข์ความสุข และจะทำตัวเป็นเจ้าสำราญไม่ได้
๔. ความซื่อตรง (อาชชวะ) คือ ผู้ทรงสัตย์ ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
ไม่หลอกลวงประชาชนหรือสมาชิกของหมู่คณะ
มีความจริงใจ ปากกับใจตรงกัน ไม่ทำตนเป็นคนเจ้าเล่ห์กับประชาชน
คุณธรรมข้อนี้สำคัญมาก เพราะถ้านักปกครองไม่ซื่อตรงแล้ว สังคมและหมู่คณะนั้นจะระส่ำระสาย
และปั่นป่วนอย่างที่สุด
๕. ความอ่อนโยน (มัททวะ) คือ มีกิริยาสุภาพ มีวาจาอ่อนหวาน ไม่เย่อหยิ่ง
ไม่หยาบคาย มีความนุ่มนวล ผู้คนได้พบได้เห็นมีแต่ความสบายใจ แต่ความอ่อนโยนมิได้หมายความว่าอ่อนแอนักปกครองที่ดีต้องมีทั้งความอ่อนโยนและเข้มแข็งในเวลาเดียวกัน
แต่ไม่ใช่แข็งกระด้าง
๖. ความมีตบะ (ตปะ) คือ การเพียรพยายามขจัดความมัวเมา มิให้เข้ามาครอบงำจิตใจสามารถบังคับตนเองมิให้ลุ่มหลงหมกมุ่นกับความสุขสำราญ
จนเป็นเหตุให้เสียการงาน
๗. ความไม่โกรธ (อักโกธะ) คือ มีจิตใจมั่นคง ไม่ฉุนเฉียว มีความสุขุมเยือกเย็น
สามารถอดกลั้นความไม่พอใจไว้ได้ นักปกครองที่ดี จะต้องรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ได้อย่างใจเย็น
เมื่อคนพูดเสียดสีก็ข่มใจไว้ ไม่แสดงปฏิกิริยาโต้ตอบด้วยอารมณ์ แต่ใช้เหตุใช้ผลพูดจากัน
๘. ความไม่เบียดเบียน
(อวิหิงสา) คือ ไม่กดขี่ข่มเหงคนอื่น ไม่หลงระเริงในอำนาจ
ทำอันตรายต่อร่างกายและทรัพย์สินผู้อื่นตามอำเภอใจ นักปกครองที่ชอบเบียดเบียนผู้อื่น
จะมีแต่ความยุ่งเหยิง ระส่ำระสาย ควรใช้อำนาจด้วยความเมตตากรุณา สังคมจะสงบสุข
๙. ความอดทน (ขันติ) คือ ความสามารถทนต่องานหนักได้ สามารถเผชิญกับความยากลำบากได้อย่างเข้มแข็ง
เมื่อพบอุปสรรค ในการทำงาน ก็ยิ่งเข้มแข็งเด็ดเดี่ยวไม่ท้อแท้ ความอดทนยังหมายถึง ทนต่อคำเสียดสีถากถางได้
ไม่กล่าวรุนแรงตอบ
๑๐. ความไม่คลาดธรรม
(อวิโรธนะ) คือ ความตั้งมั่นในธรรม ไม่หวั่นไหวในเรื่องดี
เรื่องร้าย ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในความดีงาม
ไม่ประพฤติผิดในทำนองคลองธรรม
โลกาภิวัตน์ หรือ
โลกานุวัตร (อังกฤษ: globalization)
คือ ผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร
การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ
อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี
และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล
ทั่วทั้งโลก (ออนไลน์ :
2554)
ยุคโลกาภิวัฒน์ เป็นยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว
ด้วยพลังแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) (www.panyathai.or.th : 2554)
โลกาภิวัตน์ หรือ โลกานุวัตร (globalization) คือ ผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การ-คมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลก (www.baanjomyut.com : 2554)
โลกาภิวัตน์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง "การแพร่กระจายไปทั่วโลก; การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นต้น"
โลกาภิวัตน์ เป็นคำศัพท์เฉพาะที่บัญญัติขึ้นเพื่อตอบสนองปรากฏการณ์ของสังคมโลกที่เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในส่วนหนึ่งของโลก ส่งผลกระทบอันรวดเร็วและสำคัญต่อส่วนอื่นๆ ของโลก
โลกาภิวัตน์เกิดจากสี่รูปแบบพื้นฐานของการเคลื่อนย้ายทุนในเศรษฐกิจโลก โดยสี่การเคลื่อนย้ายของทุนที่สำคัญคือ :
โลกาภิวัตน์ หรือ โลกานุวัตร (globalization) คือ ผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การ-คมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลก (www.baanjomyut.com : 2554)
โลกาภิวัตน์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง "การแพร่กระจายไปทั่วโลก; การที่ประชาคมโลกไม่ว่าจะอยู่ ณ จุดใด สามารถรับรู้ สัมพันธ์ หรือรับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว้างขวาง ซึ่งเนื่องมาจากการพัฒนาระบบสารสนเทศเป็นต้น"
โลกาภิวัตน์ เป็นคำศัพท์เฉพาะที่บัญญัติขึ้นเพื่อตอบสนองปรากฏการณ์ของสังคมโลกที่เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในส่วนหนึ่งของโลก ส่งผลกระทบอันรวดเร็วและสำคัญต่อส่วนอื่นๆ ของโลก
โลกาภิวัตน์เกิดจากสี่รูปแบบพื้นฐานของการเคลื่อนย้ายทุนในเศรษฐกิจโลก โดยสี่การเคลื่อนย้ายของทุนที่สำคัญคือ :
ทุนมนุษย์ (เช่น การอพยพเข้าเมือง
การย้ายถิ่น การอพยพจากถิ่นฐาน การเนรเทศ ฯลฯ)
ทุนการเงิน (เช่น เงินช่วยเหลือ หุ้น หนี้
สินเชื่อและการกู้ยืม ฯลฯ)
ทุนทรัพยากร (เช่น พลังงาน โลหะ สินแร่ ไม้
ฯลฯ)
ทุนอำนาจ (เช่น กองกำลังความมั่นคง พันธมิตร กองกำลังติดอาวุธ
ฯลฯ)
ทั้งนี้โลกาภิวัตน์ที่มีการเจริญอย่างรวดเร็วก่อให้เกิดช่องว่างทางสังคมทำให้เกิดปัญหาต่าง
ๆ ดังนี้
1. ก่อให้เกิดการลอกเลียนแบบที่เป็นสากล แต่ทำลายคุณค่า
วิธีคิด ค่านิยม วัฒนธรรม และแบบแผนปฏิบัติที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละสังคม
2. สร้างความแตกต่างทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างประเทศ
หรือบุคคล
3. เปิดโอกาสให้เกิดการแทรกแซงและครอบงำโดยประเทศหรือสังคมที่มีความเหนือกว่า
4. ย้ำความสำคัญของลัทธิทุนนิยม วัตถุนิยม และบริโภคนิยม
แต่ลดคุณค่าทางจิตใจและวัฒนธรรมของมนุษย์
5. เปิดช่องให้มีการติดต่อธุรกรรม การกระจายสื่อหรือเนื้อหาสาระที่ไม่เหมาะสม
หรือการเดินทางเข้าออกประเทศได้อย่างเสรี ซึ่งเป็นโอกาสของอาชญากรรมข้ามชาติ
การหลั่งไหลของยาเสพติด การหลอกลวง มอมเมาเยาวชน การก่อการร้าย
และการกอบโกยผลประโยชน์ซึ่งฝ่ายที่เสียเปรียบคือประเทศที่อ่อนแอ
แนวคิดในการป้องกัน และแก้ปัญหาที่เกิดจากสภาพโลกาภิวัตน์ ต่อความคงอยู่หรือเลือนหายไปของคุณธรรม จริยธรรม
1. รัฐบาล
รัฐบาลเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่จะเกิด
โดยเกี่ยวข้องกับนโยบายที่วางไว้เพื่อการปฏิบัติของผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศ ดังนั้นรัฐบาลควรมีนโยบาย
แนวปฏิบัติที่ที่เอื้อต่อ การเสริม เพิ่ม
ความรู้ความเข้าใจต่อคุณธรรมจริยธรรมให้แก่เด็ก หรือประชาชนทั้งหมดในประเทศ
2. ครอบครัว เป็นส่วนที่อยู่ใกล้มากที่สุด
โดยมีส่วนเกี่ยวข้องกับนักเรียนตั้งแต่แรกเกิด การอบรม การบ่มนิสัย การสั่ง การสอน
ให้เด็กรู้ เข้าใจ และสามารถปฏิบัติตนตามจริยธรรมอันดีได้
ดังนั้นครอบครัวต้องคอยดูแล อบรมเด็กตลอดตั้งแต่แรกเกิด
3. โรงเรียน / การศึกษา เป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะส่งเสริม
หรือพัฒนาเด็กให้เกิดคุณธรรมจริยธรรม
4. สื่อ / เทคโนโลยี
เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญมากในโลกปัจจุบัน เพราะสื่อต่าง ๆ
เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนในปัจจุบัน โดยการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่เด็ก
หรือประชาชน ก็ทำได้โดยการแทรกคุณธรรม จริยธรรมในสื่อต่าง ๆ
เอกสารอ้างอิง
ประยุทธ์ ปยุตโต. (2546). คุณธรรม จริยธรรม ในพุทธศาสนา. เข้าถึงได้จาก : www.siamtech.ac.th/.
(18
พฤษภาคม 2554)
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊ค
พับลิเคชั่นส์
จำกัด.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น